วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาบตาพุด คงหลบไม่พ้น ที่จะเผชิญกับหายนะภัย ... แล้ววันนี้!!!

จากการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมดของ โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงทรุดพัง จนอาจการระเบิดลุกลามรุนแรง ของคลังก๊าซ แอลพีจีขนาดใหญ่

ได้มีความพยายาม สื่อไปยังหลายกลุ่มหลายส่วนของประเทศนี้แล้ว ทั้งภาครัฐบาล ขบวนการศาลปกครอง กรรมาธิการต่างๆ ทั้งสภาผู้แทน และวุฒิสภา สส.ระยอง สว.รสนา สื่อมวลชนไทยเกือบทั้งหมด องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมผู้ฟ้องคดีมาบตาพุด (เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และสมาคมต่อต้านโลกร้อน) หอการค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทเงินทุนที่เกี่ยวข้องการการลงทุน ทั้งหมดรับรู้เรื่องความเสี่ยงต่อมหันตภัย ของคนมาบตาพุดแล้ว ... ทุกฝ่ายเย็นชาเฉยชา ซึ่งถึงวันนี้ ไม่เห็นความกระตือรืนร้น จากฝ่ายใด นอกจากการตอบจดหมายของ เจโทร(กรุงเทพ) แม้จะมีนัยสำคัญที่บอกว่า เขามีความสำเหนียก เรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงต่อหายนะภัยในระดับที่ดี ปัญหาความเสี่ยงต่อหายนะภัย ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ แต่มาจากความมักง่าย ของภาคอุตสาหกรรม ที่ทุกภาคส่วนของประเทศนี้ เฉยเมยที่จะใส่ใจ รวมทั้งส่วนของผู้นำองค์กรและชุมชนต่างๆในมาบตาพุดฯ

ถึงวันนี้ ... คนมาบตาพุด คงหลีกหนีความเสี่ยงของหายนะภัยที่อาจจะเกิดไม่ได้แล้ว ไม่ได้ทวงถามความรับผิดชอบหรือใส่ใจจากใคร รอเกิดเหตุสลดเพราะการรั้งรอ ของผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารแล้ว บาปคงติดค้างอยู่ในใจ พวกท่านตลอดไป


วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มักง่าย ... แต่จะดันทุรังเสี่ยง ทรุดพังระเบิด ใครจะรับผิดชอบ








นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจง

การดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทนนั้น ปตท. ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอน โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ชนิดและลักษณะของดินในพื้นที่ตั้งโครงการตามหลัก วิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์ พบว่าดินส่วนใหญ่โดยทั่วไป เป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมาก และดินแข็งถึงแข็งมาก

คุณล่ะ ... เชื่อหรือไม่ ตามที่ ปตท. แถลง




อย่างไรก็ดี ปตท. ยังได้ปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดเพิ่มเติม ตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง ส่วนการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ได้มีการตรวจสอบและลงนามรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีอำนาจตามกฎหมาย และทั้งสองโครงการได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง

ถมดิน เสร็จ มกราคม 2551 ก่อสร้างฐานราก มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551 - คุณล่ะ กล้าซื้อหรือ ถ้าเป็นบ้านจัดสรร










นอกจากนั้น ปตท. ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการทรุดตัวของฐานรากอย่างเป็นระบบ โดยผลจากการตรวจสอบค่าระดับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มงานติดตั้งโครงสร้างฐานราก จนกระทั่งก่อสร้างแล้วเสร็จและยังคงทำการตรวจสอบอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น ปรากฏว่า ไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติแต่อย่างใด

อยากให้ลองดู ข้อมูลต่อไปนี้ คุณจะเชื่อ แบบ ปตท. บอก หรือไม่





ทั้งนี้ ปตท. จะจัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน เรื่องความปลอดภัยในการดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโครงการโรงแยกก๊าซอีเทนของ ปตท. อีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ได้มีการชี้แจงกับชุมชน สื่อมวลชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

การชี้แจง ช่วยลดความเสี่ยงได้หรือ ถ้าไม่ได้ควรทำอย่างไร เพราะถ้าดำเนินการได้ โดยไม่มีใครใส่ใจ ต้องอยู่กับความเสี่ยง ตลอดอายุการใช้งาน โรงแยกก๊าซเสี่ยง

บอร์ดสิ่งแวดล้อมประกาศ 11 ประเภทกิจกรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงแล้ว ขณะที่โรงแยกก๊าซที่ 6 ของปตท.ฉลุยตามคาด

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติวันนี้เห็นชอบให้จัดทำประกาศ 11 ประเภทกิจการที่มีผลกระทบร้ายแรง จาก 18 ประเภทกิจการที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเสนอมา - อย่างไรก็ตาม โครงการโรงแยกก๊าซหน่วยที่6 ของบมจ.ปตท.(PTT)ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการที่มีผลกระทบร้ายแรงตามประกาศ





วันนี้ ... ที่รัฐบาลพร้อมจะเสี่ยง !!! เพราะไม่มีลูกเมียญาติ พี่น้องอยู่แถวมาบตาพุด


มักง่าย ... แต่จะดันทุรังเสี่ยง
Download ทั้งหมด ตรงนี้ - http://www.4shared.com/document/FbmxcHel/_online.html


วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลเลือดเย็น!!! รู้ทั้งรู้ คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย







รัฐบาลใช้ มาตรฐานสากลของโลก หรือของนรกขุมไหน พิจารณาโครงการส่งผลกระทบรุนแรง
คนมาบตาพุด เตรียม ... ขอความชัดเจนจากรัฐ เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงทรุดพัง
กรณีไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ปตท.ชี้แจงว่าปลอดภัย คำพูดดีๆ-ตัวหนังสือดีๆ
ไม่ลดความเสี่ยง ช่วงนี้ ฤดูฝน ฝนตกหนัก พายุลมแรง โครงสร้างไม่แข็งแรง ทรุดพัง อาจระเบิด
สร้างหายนะภัยใหญ่หลวงต่อชีวิต-ชุมชน-สภาวะแวดล้อม และโรงงานอันตรายต่างๆจำนวนมาก

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสวล.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณา ร่างกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากระธรรมชาติและสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด ได้เสนอมาจำนวน 18 กิจการ โดยเห็นชอบให้ 11 กิจการ เป็นกิจการรุนแรง ปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ประกาศเป็นกิจการรุนแรง 5 กิจการ แต่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) 3 กิจการ และอีก 2 โครงการส่งให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ไปพิจารณาใหม่และอาจนำมาประกาศภายหลังได้


"ที่ประชุมได้มอบหมายให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปออกประกาศในนามบอร์ดสิ่งแวดล้อมให้เร็วที่สุด"นายชัยวุฒิกล่าว


นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอมติบอร์ดอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นำไปยื่นต่อศาลปกครองกลางให้ทันในวันที่ 26 ส.ค. 2553 ที่ศาลจะนัดไต่สวนคดีหลัก ที่ 8 หน่วยงานรัฐ ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าใน 76 โครงการ จะมีโครงการที่เข้าข่ายกิจการรุนแรงจำนวน 2 โครงการ ส่วนที่ไม่อยู่ใน 76 โครงการ น่าจะเข้าข่ายประมาณ 20 โครงการ รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องประกาศยกเลิกประกาศกิจการรุนแรง 8 กิจการของกระทรวงฯก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน


สำหรับโครงการที่เข้าข่ายประเภทกิจการรุนแรงจำนวน 11 กิจการได้แก่

1.การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกเขตชายฝั่งเดิม ขนาด 300 ไร่ขึ้นไป ไม่รวมการฟื้นฟูสภาพชายหาด

2.เหมืองแร่ต่างๆ ทุกขนาด

3. นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการจัดสรรคที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และนิคมฯ ที่มีส่วนขยายเพิ่มเติม

4. โรงงานปิโตรเคมีต้นน้ำและกลางน้ำ ทุกขนาดหรือขยายการผลิตตั้งแต่ 35% ขึ้นไป

5. โรงงานถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ที่กำลังการผลิตตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือโรงงานที่ขยายกำลังการผลิตจนครบ 1,000 ตัน

6. การผลิต หรือกำจัด หรือปรับแต่ง สารกัมมันตรังสีในส่วนของโรงพยาบาล โรงพยาบาลสัตว์ การวิจัยและพัฒนา ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย

7. โรงงานฝังกลบหรือเผาขยะของเสียอันตราย

8. สนามบินที่มีการขยายทางวิ่ง 3,000 เมตรขึ้นไป

9. ท่าเทียบเรือ ยกเว้นท่าเทียบเรือที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน

10. เขื่อนกักเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาตรเก็บน้ำ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่เก็ยน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

11. โรงไฟฟ้า ยกเว้นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ส่วนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขยายกำลังการผลิตเป็น 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป

ขณะที่โครงการที่ถูกถอดออกจากประเภทกิจการรุนแรงมี 5 โครงการ ได้แก่ 1.การชลประทาน 2.การสูบน้ำเกลือใต้ดิน 3.เตาเผาขยะติดเชื้อ 4.การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำหลัก หรือการผันน้ำระหว่างประเทศ และ 5.ประตูระบายน้ำ โดย 3 กิจการหลังไม่เป็นกิจการรุนแรงแต่ต้องทำอีไอเอ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ให้คชก. นำกลับไปพิจารณาใหม่ 2 กิจการ ได้แก่ 1.โครงการที่ต้องทำอีไอเอและอยู่ในพื้นที่หรืออาจส่งผลกนระทบต่อพื้นที่ เช่น แหล่งมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นต้น 2.การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างถาวรนอกชายฝั่งทะเลเดิมเพื่กันคลื่น หรือกระแสน้ำในทะเล ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติควรอนุรักษณ์ แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผุ้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากนี้จะเชิญผู้ประกอบการทั้ง 76 โครงการ เข้าหารือในวันที่ 25 ส.ค. นี้ เพื่อมาร่วมกันพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หลังจากมีประกาศกิจการรุนแรงออกมาแล้ว