เมื่ออาทิตย์ก่อน บ้านเพื่อนใน กทม.ทรุด (เป็นวิศวกรเครื่องกล-หย่า) เพราะไม่ตอกเสาเข็มให้ ฐานราก ทั้งๆที่ อยู่ใน กทม. บอกว่า ผู้รับเหมาอ้าง ถมดินแข็งแรงแล้วไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม และบ้านแค่ 2 ชั้น ไม่หนักอะไรมาก จากฝนตกหลายวัน เมื่ออาทิตย์ก่อน ช่วงมาทำงานที่ระยอง ท่อแอร์รั่ว น้ำยาแอร์ฟุ้งกระจาย คนข้างบ้านนึกว่าไฟใหม้ / ท่อน้ำประปาแตก มาตามผม (วิศวกรโยธา-โสด) ไปช่วยดูให้ ปรากฎว่า ช่วงต่อครัวหลังบ้าน ที่ไม่ได้ตอกเสาเข็ม มันทรุดเทลงไป จนดึงท่อแอร์ชั้น 2 รั่ว ท่อน้ำประปาชั้นล่างแตก น้ำรัวไป เกือบ 100 คิว
ผมแนะนำว่า - ควรจะหาภรรยาใหม่ ก่อนซ่อมบ้าน แล้วก้อนั่งบ่นวิชา Soil Mechanic ให้ฟัง เพื่อนวิศวกรเครื่องกล บอกงง กับปัญหาของดิน เพราะตอนนั้น เห็นผู้รับเหมา เอาลูกรังมาลงบดอัดแน่นแล้ว หนาเกือบเมตร แต่ไม่รู้ว่า บริเวณนั้น ดินมันชุ่มน้ำตลอด และยิ่งมีปัญหาฝนตกลงมาอีก ดินจึงเสียกำลัง จนทรุด แม้ทรุดไม่มากแต่มันทำให้กำแพงมันแยกออก จนทำให้ท่อน้ำแตก ท่อแอร์รั่ว - สรุปค่าซ่อมแพงกว่ารื้อทำใหม่ (ที่ไม่ยอมรื้อเพราะเก็บไว้ระลึกถึงภรรยาคนเก่า-เฮ้อ!!! อยู่ไกลกัน 5 วัน เจอกันแค่ เสาร์-อาทิตย์ สุดท้ายต่างคนต่างเบื่อ)
อ่านข้างล่าง เรื่องการเลือกใช้ฐานราก ดินแถวระยอง มาบตาพุด ดินใกล้ภูเขา รับน้ำหนักเฉลี่ย10-12 ตัน/ตารางเมตร แต่ถ้า จ้างเขามาเจาะ มากดทดสอบ อาจจะรับได้สูงถึง 90 ตัน/ตารางเมตร ก้อได้นะ
วิธีการเลือกใช้ฐานราก แบบฐานรากแผ่หรือแบบเสาเข็ม
เขียนโดย สุระพงศ์ วันเสาร์, มีนาคม 21, 2009
สมมุติว่าเราจะก่อสร้างอาคารสักหลังหนึ่ง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับถ้าไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าเขาทำฐานรากอย่างไร ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร ทีนี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นอย่างไร ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และต้องเป็นฐานแผ่แน่ ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า "ผู้รับเหมาจะต้องเจาะสำรวจดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง"
การตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Boring Log และการทำ plate baring Test
(รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการทดสอบการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ) แล้วก็ออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร
คร่าว ๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็มลบกับการรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1x2 เมตร (ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8x1x2=16) ทีนี้พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ตรงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไรส่วนมากอย่างน้อย ๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่พอ วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้น ๆ มีสีต่าง ๆ กันและมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือ ดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้น ๆ อีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่
เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราะอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมัน รับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มาก ๆ วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้ง ๆ ที่ตอกยาก
ฝากนิดนึงครับ สำหรับท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการออกแบบอาคารที่มี span ยาว ๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ครับ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่าง ๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็โวย แต่ก็อย่างว่า ถือไปมันก็น่าเกลียดใช่ป่าว
ที่มา : my-construction-knowledge.blogspot.com
กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบนให้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ขณะที่กรุงเทพมหานครอาจจะมีฝนตกหนัก ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ออกประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มบริเวณเชียงราย-พะเยา เนื่องจากมีฝนตกหนัก ขณะที่ก่อนหน้านี้มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ จ.พังงา ส่วนที่ จ.สุราษฎร์ธานี ประสบเหตุน้ำป่าจากน้ำตก 11 ชั้น ป่าต้นน้ำคลองศกไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านเรือนได้รับผลกระทบกว่า 1,000 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 10,000 ไร่ ช่วงเวลาเดียวกันที่ต่างประเทศ พายุเฮอร์ริเคน "ดีน" พัดเข้าถล่มบริเวณทะเลแคริบเบียน มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน ขณะที่แถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกาถูกพายุฝนกระหน่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอุทกภัยรุนแรงในหลายพื้นที่ กระทั่งผู้ว่าการรัฐโอไฮโอตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินใน 9 เขตของรัฐในพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือและตอนกลาง เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงรุนแรงที่สุด ในรอบ 100 ปี ส่วนรายงานจากรัฐวิสคอนซินและมินนิโซตาระบุว่า มีบ้านเรือนประชาชนหลายพันหลังได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย เบื้องต้นระบุว่า มีบ้านเรือนประชาชนในรัฐมินนิโซตา 4,200 หลังคาเรือน ได้รับความเดือดร้อน 256 หลัง เสียหายทั้งหมด ส่วนที่ วิสคอนซิน นายจิม ดอยล์ ผู้ว่าการรัฐ ประกาศภาวะฉุกเฉินใน 5 เขต ประมาณความเสียหายจากอุทกภัยเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,300 ล้านบาท นายเทอเจ สคาฟดัล ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวเอเชียและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยทั้งในเอเชียใต้และเอเชียกลาง, เหตุแผ่นดินไหวทั้งในเปรูและหมูเกาะโซโลมอน แล้วไหนจะพายุเฮอร์ริเคน "ดีน" ที่กำลังทรงพลังอยู่ โดยลำพังเพียงแค่สึนามิในปี 2004 ที่โจมตี 14 ประเทศชายฝั่ง ก็ทำสถิติผู้เสียชีวิตเข้าไปแล้ว 37 เปอร์เซ็นต์ของเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 กลับมาที่ประเทศไทย นายทศพร นุชอนงค์ ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนได้กัดเซาะชายฝั่งทะเลทั่วประเทศไทยแล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ จากภาวะน้ำทะเลที่เพิ่มสูง ลมแรง และการกระทำของมนุษย์ ในส่วนดินถล่มก็เกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น นี่คือเหตุการณ์บางส่วนจากเหตุภัยพิบัติจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประสบความรุนแรงอย่างหนัก จากสถิติพบว่า หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวจนเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและภัยพิบัติอื่นๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฤาใกล้ถึงวันสิ้นโลก ?! "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "นายสมิทธ ธรรมสโรช" ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยภัยพิบัติแห่งชาติ เจ้าของคำเตือนภัยพิบัติจาก สึนามิ เจ้าเดียวและเจ้าแรกในประเทศไทย - ระยะหลังมานี้ภัยพิบัติก่อตัวถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้น หลังจากเกิดสึนามิ (26 ธันวาคม 2547) มันทำให้มีรอยแยกของเปลือกโลกในทะเลอันดามันมีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร พื้นเปลือกโลกก็ยกตัวสูงขึ้นถึง 40 เมตร ตลอดแนว การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คราวนั้นทำให้รอยเลื่อนหรือรอยแยกของเปลือกโลกที่อยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีผลกระทบกระเทือนหมด ในส่วนประเทศไทย ผมเคยยกตัวอย่างว่า เหมือนเรามีแก้วอยู่ใบหนึ่ง แล้วก็มีรอยร้าวอยู่ 13-14 รอย วันดีคืนดีก็มีคนเอาค้อนมาทุบแก้วเราซึ่งมีรอยร้าวอยู่แล้ว ซึ่งรอยร้าวบางรอยมันก็ต้องมีปฏิกิริยาเพราะได้รับการกระทบ กระเทือนอย่างรุนแรง ก็อาจจะร้าวมากขึ้น แตกมากขึ้น ผมทำสถิติไว้หลังเกิดสึนามิ พบว่านับตั้งแต่เกิดสึนามิ เราเกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นในทุกจังหวัด ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต รอยเลื่อนที่เรามีอยู่มันก็มีพลังอยู่ แต่จะไม่ไหวต่อเนื่องติดต่อกันมากมายขนาดนี้ - หมายความว่าแก้วประเทศไทยพร้อมที่จะ แตกเสมอ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย (นะ) แต่เป็นทั่วโลกเลย มีแผ่นดินไหวในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นในพม่า ในจีน แม้แต่ประเทศลาวซึ่งไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว ก็เกิดถึง 6.1 ริกเตอร์ มีผลกระทบถึงเชียงแสนทำให้ยอดเจดีย์เราหักลงมา ในพม่าเองก็เกิดบ่อย เมื่อเร็วๆ นี้ก็เกิดขึ้นที่ทะเลอันดามัน จริงๆ มันมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ เป็นพันๆ ครั้งหลังจากเกิดสึนามิ แต่แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มีเป็นร้อยๆ ครั้ง - ในส่วนประเทศไทยที่มีถึง 13 รอยเลื่อน จุดไหนอันตรายที่สุด ที่อันตรายที่สุดก็มี 2 จุดที่น่าเป็นห่วง ที่แรกคือตรงรอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์ กับอีกที่คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เพราะทั้งสองจุดนี้ยังมีพลังอยู่และอยู่ใกล้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเราเป็นห่วง แต่ปัญหาคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ออกมาประกาศว่า เขื่อนศรีนครินทร์แข็งแรงมาก สามารถทนแรงแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ แต่ผมชี้แจงว่าการยืนยันเช่นนั้นมันแสดงให้เห็นว่า การก่อสร้างไม่ได้ทำเผื่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากกว่านี้ เพราะอย่าประมาทว่าเมืองไทยจะแผ่นดินไหวแค่ 7 ริกเตอร์ หากมันเกิดรุนแรงกว่านั้น เขื่อนก็อาจจะแตก เพราะระหว่าง 8 ริกเตอร์กับ 7 ริกเตอร์ ความรุนแรงมันมากกว่ากันถึง 33 เท่า ฉะนั้นถ้าการไฟฟ้าออกมาบอกโดยไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มันไม่ได้ เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์กับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์เป็นแขนงหนึ่งของรอยเลื่อนสแกงซึ่งอยู่ในพม่า แล้วรอยเลื่อนสแกงเคยเกิดแผ่นดินไหวถึง 8 ริกเตอร์ เมื่อ 74 ปีที่แล้ว - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯบอกว่า ท่านทำให้คนตื่นตระหนก มีอะไรที่ดีกว่าคำเตือนที่ทำให้คนนอนไม่หลับไหม มันเตือนอะไรไม่ได้แล้ว ตอนนี้ต้องมีระบบ เตือนภัยเท่านั้น เพราะจะไปรื้อเขื่อนสร้างใหม่ก็ไม่ได้ แล้วไม่มีสิ่งก่อสร้างในแผ่นดินใดที่สามารถทนทานแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ ที่ปากีสถานหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิแผ่นดินไหว 7.3 ริกเตอร์ คนตายตั้ง 7 หมื่นกว่าคน เมืองโกเบในญี่ปุ่น เมื่อหลายปีก่อนเมืองทั้งเมืองก็พังไปเลย ฉะนั้นอย่ามาคุย (เลย) แล้วก่อนสร้างเขื่อน ผมเคยบอกการไฟฟ้าฯว่า ถ้าสร้างเขื่อนตรงนั้นก็อาจจะแตกได้เพราะสร้างใกล้รอยแยกแผ่นดิน - แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้างไหม ผมก็บอกว่าต้องคืนกำไรของการไฟฟ้าฯให้ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำ ทำระบบเตือนให้ประชาชนถ้าเขื่อนแตกก็จะได้มีสัญญาณเตือนออกมา บอกเขาให้ชัดว่าตรงจุดที่ประชาชนอยู่ในแต่ละแห่ง น้ำจะมาถึงเขาอีกกี่ชั่วโมงกี่นาที แล้วบอกเขาว่าน้ำจะสูงเท่าไหร่ เพราะถ้าเผื่อมันแตกขึ้นมา คนที่อยู่ราชบุรี เพชรบุรี อาจจะเจอพรวดเลย - การลงทุนระบบเตือนภัยต้องใช้งบประมาณ เท่าไหร่ ปัดโธ่...! ไม่กี่แสนบาท ก็มีป้ายบอก มีสัญญาณบอก เพื่อเวลาเกิดแผ่นดินไหวทางเขื่อน ก็จะรู้ทันทีว่ามีรอยร้าวรอยแยกมั้ย แล้วก็ส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า เขื่อนกำลังจะร้าวจะแตกก็ให้อพยพคน ซึ่งจริงๆ ไม่กี่ตังค์หรอก แต่เขาไม่ทำ เขาบอกว่าทนได้ถึง 7 ริกเตอร์ แต่ผมบอกว่ามันไม่ได้ เท่าที่ผมศึกษามา 10-20 ปี - การไฟฟ้าฯก็ต่อว่าท่านเยอะว่าทำให้เกิดความตื่นตระหนก กฟผ.บอกว่า ผมมาทำลายเศรษฐกิจของเมืองกาญจน์ ทำให้คนไม่มาท่องเที่ยว ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต่อว่าผม คนที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ชอบ แต่ผมก็บอกว่าภัยธรรมชาติ (เนี่ย) ถ้าคุณทำระบบดี นักท่องเที่ยวเขาไม่กลัวหรอก ดูอย่างญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวทุกชั่วโมง ทำไมคนยังเต็มเมือง หรือลอสแองเจลิส ก็เพราะเขามีระบบเตือนภัยที่ดี ซึ่งประเทศเราต้องแก้ไข ต้องอยู่กับภัยธรรมชาติให้ได้ มนุษย์ต้องเรียนรู้ว่าพื้นที่ที่อยู่อาศัยนั้นจะมีภัยธรรมชาติอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งเมื่อเรารู้ เราก็ต้องบอกเขา ในแง่ของระบบเตือนภัย สมมุติถ้าเกิดมีแผ่นดินไหวตอนนี้จะทำอะไรได้บ้าง ผมก็ได้แต่เตือนประชาชนเท่านั้น (ล่ะ) - แผ่นดินไหว เรารู้ล่วงหน้าได้มากน้อยแค่ไหน แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติชนิดเดียวที่คุณไม่สามารถทำนายได้ ถ้าผมทำนายได้ผมรวยไปแล้ว (หัวเราะ) ขนาดทำนายไม่ได้ยังมีฝรั่งมาหาผมทุกวันเพื่อมาขอข้อมูลผม คือ ผมทำมาจนโดนด่า โดนว่าสารพัด ผู้ว่าฯภูเก็ต (จเด็จ อินสว่าง) ไม่ให้ผมเข้าจังหวัด หาว่าผมจะทำให้เกิดอันตราย ประมาณว่าถ้าเกิดอันตรายขึ้นกับผมก็จะไม่รับรองความเสียหาย แต่แล้วเป็นไง สิ่งที่ผมทำนายไว้ แต่รู้มั้ยทำไมชาวมอร์แกนถึงรอดมาได้ ก็เพราะเขาได้รับการสอนมา ทั้งๆ ไม่มีภาษาเขียน แต่เขาสอนลูกหลานเขามาเป็นบทเพลง โดยในเนื้อเพลงจะบอกว่า ถ้ายืนอยู่บนพื้นดิน แล้วรู้สึกถึงความสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง แล้วน้ำก็ลดลงไป ก็ให้วิ่งขึ้นเขาหมด - ท่านเคยบอกว่าสึนามิคงไม่เกิดอีกครั้งในรุ่นท่าน แต่รุ่นต่อไปไม่แน่ ใช่...ไม่แน่ เพราะหลังจากนี้ก็อาจเกิดอีก ผมคิดว่าภัยธรรมชาติเราประมาทเขาไม่ได้ เราต้องเรียนรู้อยู่กับเขา ไดโนเสาร์ที่ตายก็เพราะมันประมาท ไม่รู้จักอยู่กับภัยธรรมชาติ - ถ้าหากมีแผ่นดินไหวใกล้กรุงเทพฯจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ตรงไหนจะได้รับอันตรายมากที่สุด แล้วเราจะรับมือยังไง กรุงเทพฯ (เนี่ย) พบรอยเลื่อนพัดผ่านเข้ามาใต้กรุงเทพฯเลย มันมาจากรอยเลื่อนสแกง แต่ผมตั้งชื่อว่ารอยเลื่อนกรุงเทพฯ มีอยู่ 2-3 รอย เป็นรอยเลื่อนแผ่นเดียวกับที่เกิดสึนามิ แล้วกรุงเทพฯก็ตั้งอยู่บนผิวดินบนเลน การที่มีแผ่นดินตั้งอยู่บนเลน เวลามีแผ่นดินไหวมันจะขยายอัตราเร่งของแผ่นดินไหวซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สามารถทำให้ตึกอาคารบ้านเรือนพังได้ ในทางป้องกัน เราสามารถสร้างอาคารสร้างตึกเพื่อรองรับแผ่นดินไหวก็สามารถทำได้ แต่ต้องสร้างให้แข็งแรงมาก อาคารที่สร้างช่วงหลังๆ ทนทานได้ เพราะวิศวกรส่วนใหญ่เขาสร้างไว้เผื่อแรงลม การสร้างอาคารเผื่อแรงลมจะสามารถปลดปล่อยพลังงานออกไปได้ อาคารก็จะสามารถสั่นตัวได้และไม่พัง เพราะสามารถปลดปล่อยพลังงานที่ได้รับจากแผ่นดินไหวได้ แต่อาคารที่ไม่ได้สร้างไว้เพื่อรับแรงลมก็จะไป ก็เคยบอกแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ มัวแต่ทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญ ไม่รู้จะทะเลาะกันไปถึงไหน - ท่านกำลังบอกว่าภัยพิบัติมันมาโดยไม่รู้ตัว แต่เราต้องรู้เท่าทันมัน ผมยกตัวอย่างว่า ที่โตเกียวเขาอยู่ได้เพราะเขาจะไม่เอาตึกไปต่อกับยอดเข็ม เขาจะตอกเสาเข็มเป็นแผ่น แล้วสร้างให้ตึกเหมือนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม แผ่นดินไหวก็เคลื่อนตัวไปแต่ตึกไม่พัง แต่อาจจะสั่นตามสมควร แต่ถ้าตึกอยู่บนยอดเข็มเหมือนบ้านเรา เวลาแผ่นดินไหวรุนแรง เข็มมันจะหลุดจากหัวเสา ทำให้ทรุดและพังลงมาได้ - มีหน่วยงานอื่นอีกมั้ยที่ทำหน้าที่เตือนภัยธรรมชาติ นอกจากศูนย์เตือนภัย มีเยอะแยะไป แต่ต่างคนต่างทำ คนไทยชอบทำอะไรแข่งกัน ที่ผมทำก็เตือนมา 10-20 ปี สมัยก่อนผมเคยเตือนรัฐบาลให้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติขึ้นมา แต่ก็ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะทุกคนอยากจะทำของตัวเอง พยายามจะทำเครือข่ายของตัวเอง ผมก็เลยบอกว่าการสร้างเครือข่ายของตัวเองมันต้องสร้างระบบเตือนภัย ซึ่งระบบเตือนภัยมันแพงมาก แล้วก็เป็นการเสียทรัพยากร ธรรมชาติ เสียงบประมาณให้ต่างประเทศ เพราะเราต้องไปซื้อเครื่องมือเขามา - ถ้าทำทั้งระบบต้องใช้เงินเท่าไหร่ ผมทำแล้ว ซื้อแล้ว ผมได้เงินจากรัฐบาลที่แล้ว แต่รัฐบาลนี้ให้หยุดไว้ก่อน 6 เดือน ผมลาออกเลย จน พล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์) เรียกไปพบว่าให้ทำต่อเถอะ คุณสนธิ (บุญยรัตกลิน) เรียกไปพบบอกว่า อาจารย์ช่วยทำต่อหน่อย ผมก็เลยมาทำต่อ คือเราไม่แตะต้องเงินเลย แต่บอกเพียงว่าให้จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือมาให้ผมเท่านั้นเอง - สิ่งที่ท่านทำไว้แล้วสามารถรองรับภัยพิบัติทุกประเภท ทุกประเภทครับ ไม่ใช่เฉพาะสึนามิ แต่ยังมีน้ำท่วม น้ำป่า ไฟป่า มลพิษทางอากาศเราก็เตือนได้ - ตอนนี้ก็บรรลุสิ่งที่ต้องการทำหมดแล้ว ยังไม่หมดสิ ผมถึงยังต้องทำอยู่เดี๋ยวนี้ วันเสาร์-อาทิตย์ยังมาทำงานอยู่เลย ไม่ได้เงินสักบาท ผมก็มาทำให้ ตอนนี้ (เนี่ย) นะ ยังไม่มีคนมาบรรจุเลย คนที่ทำงานกับผม ผมยืมตัวมาทั้งนั้น ตอนที่ผมมาทำ ผมมาตัวคนเดียว แต่ต่อมารัฐบาลก็ให้ผมมีอำนาจขอยืมตัวเจ้าหน้าที่ นักวิชาการจาก 6 กระทรวง ผมก็ระบุเลยว่าเอากระทรวงไหนบ้าง แม้แต่ทหารในกองบัญชาการทหารสูงสุด ผมก็เอามาหมด ทั้งทัพเรือ ทัพบก อากาศ แต่มาทำสักพัก อยู่ๆ เขาก็ต้องกลับแล้ว - ดูเหมือนรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสำคัญ เมื่อเร็วๆ นี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็เพิ่งมาหาผม แต่ผมก็ด่ากลับไป ผมบอกว่าถ้าจะมายุบก็ทำๆ ไปเลย อย่ามาถามมากเรื่องให้วุ่นวาย เพราะเขามาดูว่า ผมใช้งบประมาณคุ้มค่าหรือเปล่า แต่คุณไปดูผลงานสิ ผมไปติดตั้งระบบเตือนภัยให้ฝรั่งเห็น แล้วศูนย์ที่นี่ผมสามารถออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้เลย แล้วผมก็เอาสิ่งที่ผมทำมาให้เขาดูว่าผมทำอะไรบ้าง หลังเกิดสึนามิใหม่ๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวมาเลย ผมก็เอาหอเตือนภัยไปติดให้เขาดู นักท่องเที่ยวก็เห็นแล้วก็มีความเชื่อมั่น แล้วประเทศที่โดนสึนามิทั้งหมดในแถบอันดามัน มีประเทศไทยประเทศเดียวที่ทำระบบนี้ออกมา นักท่องเที่ยวก็กลับมา บริษัทเอเย่นต์ประกันชีวิตในยุโรปแถบสแกนดิเนเวียมาหาผมถามว่า สิ่งที่คุณทำสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้กี่นาที มีประสิทธิภาพแค่ไหน ผมก็เล่าให้เขาฟัง เขาก็เชื่อ พอกลับไปบ้านเขาก็ออกระเบียบเลยว่า นักท่องเที่ยวในประเทศเขา โดยเฉพาะในประเทศสวีเดน นอร์เวย์ จะมาเที่ยวประเทศไทย เขารับประกันชีวิตให้ แล้วเขาก็ให้ความมั่นใจว่า ถ้ามาเที่ยวประเทศไทยยินดีให้มา - แต่เราก็เคยมีปัญหาเรื่องการส่งสัญญาณแต่เกิดขัดข้อง นั่นเพราะเมืองไทยก็คือเมืองไทย รัฐบาลก็รู้อยู่แล้วว่า ศูนย์เราทำหน้าที่นี้อยู่ แล้วระบบการเตือนภัยมันอ่อนไหวมาก แต่ไปให้เอกชนทำ คุณไปให้เอกชนทำได้ยังไง เพราะบางทีก็ไปกดเอง ทำให้นักท่องเที่ยวกลับบ้านไปตั้งหลายคณะ เสียหายตั้ง 2-3 ล้านบาท ผมกำลังทำเรื่องฟ้องอยู่ (เนี่ย) - เป็นไปได้มั้ยว่าในอนาคต หน่วยงานแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะสามารถรวมกันทำงานได้ ก็ควรจะทำอย่างนั้นนะ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เขาก็กำลังจะทำอยู่ แต่ผมว่าไม่สำเร็จหรอก เพราะทุกคนอยากใหญ่ ถ้าคุณไปยุบรวม ตำแหน่งหน้าที่ก็น้อยลง คนที่มันมีอำนาจน้อยลงก็ไม่ยอม นอกจากให้พวกที่มีอำนาจตายไปเสียก่อน (หัวเราะ) เพราะคนเรามันอยากได้อำนาจ อยากเป็นใหญ่ - ตลอดชีวิตการทำงาน นิยามตัวเองว่าอย่างไร ที่ผมมาทำอย่างนี้ แฟนผมก็ถาม (นะ) ว่า มาทำให้เขาทำไม เกษียณมาแล้วตั้ง 10 กว่าปี แทนที่จะไปตีกอล์ฟ ไปเที่ยวต่างประเทศ ผมก็บอกแฟนว่า ผมเป็นหนี้ประชาชน 8-9 พันคนที่ตายไป แล้วประชาชนที่อินเดีย ที่ศรีลังกา ที่เราควรจะเตือนเขาได้ล่วงหน้า เพราะเขาโดนทีหลังเรา เพราะเรามีระบบที่ดี เราเตือนเขาได้ล่วงหน้า เขาจะได้ไม่ตายเป็นหมื่น แต่ก็มีท้อแท้ (นะ) กับการด่าการว่าของหนังสือพิมพ์ว่า ผมทำให้เศรษฐกิจปั่นป่วนเสียหาย ผมตัดเก็บไว้หมดนะ มันก็แปลกดีเหมือนกัน มีจิตสำนึกอะไรไม่รู้เก็บพวกนี้ไว้ เผื่อวันหนึ่งจะด่าตอบกลับไป (หัวเราะ) แม้กระทั่งลูกน้องเก่าก็ยังด่าผม ที่หนักๆ หน่อยก็ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้คนเชื่อโดยไม่มีเหตุผล ผมก็ด่ากลับไปเหมือนกันว่า ความประมาทคือความตาย - ชีวิตอยู่กับการเตือนภัยพิบัติตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เครียดแย่หรือ โอ้ย... เมื่อ 2-3 วันก่อนมันไหวที่ 7.4 ตรงแถวๆ จาการ์ตา ผมขับรถมาที่ทำงานตอนตี 2 อายุ 73 ขับรถ 140 กิโลเมตรมาบนทางด่วน เมียผมบอกว่า ไม่ตายก็ดีแล้ว (หัวเราะ) ประกันชีวิตก็ไม่ประกัน ตายไปแล้วเขาก็ไม่รวยขึ้น (หัวเราะ) - ท่านมั่นใจว่าวิธีการของท่านแม่นกว่าหมอดู คือผมเชื่อ (นะ) หมอดู เพราะผมเป็นคนเชื่อดาราศาสตร์ ผมเป็นสมาชิกสมาคมดารา ศาสตร์ แล้วผมเชื่อเรื่องการโคจรของดวงดาว บางทีผมถึงได้ทายว่าภัยธรรมชาติเกิดจากการแยกสลายตัวของดวงดาว ดวงอาทิตย์ (คอลัมน์:ภูมิภาค) ประชาชาติธุรกิจ 27 ส.ค. 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น