วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาบตาพุด ที่นักการเงิน-นักลงทุนมองกันผิดหรือไม่

ข่าวเก่าเรื่องมาบตาพุด ที่นักการเงิน-นักลงทุนมองกันผิดหรือไม่

ทุกวันนี้ เสียงรถเปิดหวอดังลั่น ทั้งวัน ไม่รู้สาเหตุจากอะไร อุบัติเหตุ ก๊าซรั่ว หรืออะไร เมื่อก่อน สัก 8-9 เดือนก่อน ก๊าซมันก้อรั่วของมันแบบที่เคยที่เป็น ปิดข่าวบ้าง ไม่มีผู้คนสนใจบ้าง คนเจ็บคนตายก้อแค่คนงาน-ชาวบ้าน ไม่มีผู้คนใส่ใจ แต่วันนี้ มีก๊าซไข่เน่าโชยลม ก้อเป็นข่าวแล้ว ไอ้เครื่องมือวัดก๊าซ นั่นมันไม่ได้ช่วยอะไร มันแค่วัดว่ามีอะไรอยู่ในอากาศ เกิดเรื่องเกิดกลิ่น ขนาดคนระดับ รองผู้ว่าการนิคมฯ ยังเข้าไปในโรงงานไม่ได้ ส่วนตำรวจ คงรู้กันนะ ว่าแบบไหน

การรายงานที่เขียนขึ้นจากผลประกอบแจ้งลวงตลาดหลักทรัพย์ มันไม่ช่วยอะไร ความจริงก้อคือความจริง ว่าการรับงานแถวมาบตาพุด ของผู้รับเหมาก่อสร้าง งานขาดทุน แต่ไปได้กำไรในส่วนต่างหุ้นที่เด้งไป ตอนได้รับงานใหม่ๆ

เช่น ITD รับงาน ปตท. โรงแยกก๊าซ เงินลงทุน 2 หมื่นล้าน แต่รับจริง แค่ 420 ล้าน โดนเกาหลีตัดงาน ลดงาน เบี้ยว รับจริงๆ แค่ 270 ล้าน ขาดทุน เกือบ ร้อยล้าน ยังไม่รวมค่าโดนเบี้ยว ค่าปรับงานเสียหาย ต่างๆ ค่าชดเชย วัสดุจัดหาให้ หาย-ใช้เกิน เงินร้อยล้านกับงานที่ทำขาดทุนไป จิ๊บจ๊อยมาก ถ้าเทียบกับผลต่าง ที่โกยกำไร ไปตอนหุ้นขยับตัว

เพราะฉนั้น บทความต่างๆ ที่เขียนกันขึ้น บนโต๊ะกับรายงาน 4-5 แผ่น แค่ข่าวโคมลอย ผู้รับเหมาเจ๊งกัน แบบไม่มีหูรูด เพราะงาน SAFETY CONTROL / QA-QC ที่เคร่งครัด เข้างานออกงานก้อยาก ค่าเก็บงานแต่ละโครงการ 7-10% ของมูลค่างาน ดังนั้นการมาทำงานที่มาบตาพุด ต้องมี 45% ขึ้นสำหรับ INDIRECT+OVERHEAD กำไร ได้แค่ 1.5% ก้อบุญท่วมหัวแล้ว ลองไปถาม คนหางาน ของ STEC / CN / ITD / SIEMEN ดูงานที่ผ่านมาขาดทุนกันอ่วมอรทัยขนาดไหน

งงดี มาก่อสร้างโรงงาน แล้วขาดทุน หลายร้อยล้าน ทำไม! ยังมาสร้างกันอยู่ได้ เอาเงินร้อยล้านที่ขาดทุน ไปบริจาค สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ยังดีเสียกว่า หรือใครได้ยินว่า ผรม.เจ้าไหน มารับก่อสร้างโรงงานก่อเกิดมลพิษ ในมาบตาพุด มาแล้วกำไร ช่วยบอกด้วย ...

งานทีมาบตาพุด หลายแสนล้าน ผู้รับเหมาไทยขาดทุนมหาศาล แต่ทำไมยังทำกันอยู่

จาก http://www.kobsak.com/?p=1671 ดร.กอบศักดิ์

ติดตามข่าวมาบตาพุด มีหลายภาคส่วนออกมาประสานเสียง โหวกเหวก โวยวาย โดยเฉพาะนักอุตสาหกรรม หอการค้า นักการท่องเที่ยว นักเศรษฐศาสตร์ นายแบงค์ต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล แต่ที่เงียบเป็นเป่าสาก ตอนนี้ คือ บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างใหญ่ๆ ของไทย เงียบเหมือนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในมาบตาพุด อะไรเกิดขึ้นกับงานรับเหมาก่อสร้างโรงงาน

เชื่อหรือไม่ว่า …. ผู้รับเหมาก่อสร้างคนไทย ขาดทุนสูง ในทุกโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ จะทำงานเป็น Subcontractor ให้บริษัทข้ามชาติ (Main Contractor) ที่รับงาน จาก เจ้าของงาน ซึ่งส่วนใหญ่ มี ปตท.(PTT) กับกลุ่มปูนใหญ่ (SCG) เป็นกลุ่มทุนหลัก จะมีกลุ่มทุนข้ามชาติบ้าง แต่เป็นในลักษณะร่วมทุน การขาดทุนของ ผรม.ไทย อ่วมอรทัย แบบว่า ขาดทุน หลักร้อยล้านขึ้น ว่ากันได้แบบนั้น ในแต่ละโครงการ เคยรับรู้ว่า การเป็นผู้รับเหมาคือการโกงอิฐหินดินทรายแบบนั้น แต่ไม่ใช่ สำหรับแถวมาบตาพุด มีแต่โดนต่างชาติโกง การทิ้งงานเพราะทนการโดนเอารัดเอาเปรียบไม่ไหว เจ้าของงานที่เป็นคนไทยก้อไม่ได้เคยยื่นมือมาช่วยเหลืออะไร ลองนึกถึงภาพ ผู้รับเหมาใหญ่ๆ แบบอิตาเลี่ยนไทย ชิโนไทย คริสเตรนี่ แบบนี้ล่ะ ที่ขาดทุนเป็นหลายร้อยล้าน คนที่อยู่ในวงการรับเหมาด้วยกันนั่นแหละถึงจะรู้ แบบโรงไฟฟ้า BLCP ที่เสร็จไปเมื่อ 2549 ITD ได้งานแค่ 600 ล้าน ขาดทุน มากกว่า 200 ล้าน PTT-Phenol นี่ ITD รับงานมาแค่ 700 ล้าน ขาดทุนเกือบ 300 ล้าน PTT-PE Cracker รับงานไม่ถึง 500 ล้าน ขาดทุน มากกว่า 150 ล้าน โรงแยกก๊าซที่ 6 ของ ปตท. ITD ได้งานประมาณ 250 ล้าน ขาดทุน เกือบ 100 ล้าน เวลา แค่ 4-5 ปี ลำพังโครงการที่กล่าวถึง ITD ขาดทุน รวมกันมากกว่า 750 ล้าน ตรงนี้ล่ะ ทำไม ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยถึงเงียบกันหมด

เงียบเพราะอะไร เช่น ITD เข้าร่วมดำเนินการก่อสร้าง โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP มูลค่างาน 3-4 หมื่นล้าน แต่จริงๆ รับงานมาแค่ 650 ล้าน ใช้แรงงานเฉลี่ย 700 คน 16 เดือน โดนตัดโดนลดงาน เหลือไม่ถึง 600 ล้าน ขาดทุน มากกว่า 200 ล้าน หุ้น ITD ขึ้น ไป 3-4 รอบ กับข่าวเดียวกัน รับส่วนต่างกำไรไป แล้วเท่าไหร่ ย่อมมากกว่า 200 ล้าน ถึงตรงนี้จะได้เข้าใจกันเสียทีว่า การลงทุน 4 แสนล้านมาบตาพุด คืออะไร แล้วคนตกงาน เรือนแสน นั่นก้อด้วย 76 โครงการ มีอยู่ประมาณ ไม่ถึง 50 โรงงาน โรงงานต้องการคนงานประจำ ประมาณ 100 คนเฉลี่ย ทางสูง ก้อประมาณ 5000 คน และที่แน่ๆ คือเกือบเสร็จทั้งหมดแล้ว 30 โครงการ รอเปิดใช้ ถ้าไม่มีการเบี้ยวกันหรือทิ้งงานกันซะก่อน ซึ่งการก่อสร้างก้อยังดำเนินการอยู่ คนงานก้อยังทำงานก่อสร้างกันอยู่ เพียงแต่โครงการที่จะต้องเปิดประมูลใหม่ล่าช้า ประมาณไม่ถึง 20 โครงการ และอยู่ระหว่างการศึกษา และ พื้นที่อื่นๆ อีก 20 กว่าโครงการ ชัดๆ ตรงนี้ บอกว่า ที่ศาลท่านสั่งว่า ทำให้ถูก นั่นแหละ คือสิ่งที่ต้องทำในขณะนี้ และสำหรับโครงการใหม่ๆ นั่นก้อด้วย ไม่ใช่เฉพาะมาบตาพุด แต่หมายถึงทุกๆพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย สำหรับโครงการที่มีผลกระทบกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าใครหน้าไหนจะมาทำ แต่ถ้ามีการฉีกรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ไม่รู้นะ ว่าที่เขียนกันขึ้นใหม่ถ้าไม่มี มาตรา 67 วรรค 2 ผู้คนในบ้านเมือง จะรับกันได้มั้ย

รับเหมาฯก็ไม่รอดมาบตาพุดตามหลอน

* STECเดี้ยงสุดรับงานสร้างโรงงานกว่า800ลบ.

รับเหมาฯ อ่วมอรทัยไม่แพ้ใคร กูรู ประเมินรับพิษมาบตาพุดเต็มๆ โดยเฉพาะ STEC เหตุมีงานก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมี มูลค่ารวม 800 ล้านบาท หรือ 4.4% ของ Backlog ปัจจุบันที่ 1.8 หมื่นล้านบาท ระบุ กรณีเลวร้ายสุด หากเรียบเก็บเงินไม่ได้สะเทือนกำไรปีหน้า 25% ขณะที่ ITD ไม่น้อยหน้ามีงานมาบตาพุดเช่นกัน ประมาณ 1.6% ของ Backlog ด้าน SCRI มองแง่ดี กำไรปี53 ยังโตได้ 17% มูลค่างานจากมาบตาพุดมีไม่มาก แถมยังได้งานรัฐฯรออีกเพียบ

บทวิเคระาห์หลักทรัพย์จาก บล. ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า การที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้ระงับ 65 โครงการจากทั้งหมด 76 โครงการในมาบตาพุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้การก่อสร้างโรงงานต่างๆ ต้องหยุดเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งของศาล และยังไม่มีความชัดเจน กลุ่มรับเหมาย่อมได้รับผลกระทบด้วยโดยเฉพาะ STEC และ ITD

* STEC หนาว มูลค่าสร้างโรงงานในมาบตาพุด800ลบ.

STEC ได้รับผลกระทบมากกว่า ITD เพราะ STEC มีงานก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีมูลค่ารวมประมาณ 800 ล้านบาท คิดเป็น 4.4% ของ Backlog ปัจจุบันที่ 1.8 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ ITD มีงานในมาบตาพุดประมาณ 1.6% ของ Backlog นอกจากนี้ STEC ยังมีงานก่อสร้างระบบประปาที่นครราชสีมาที่ก่อสร้างไปแล้วประมาณ 70% ถูกศาลปกครองนครราชสีมาสั่งหยุดก่อสร้างชั่วคราว มูลค่างานนี้เท่ากับ 2,184 ล้านบาท เมื่อรวมกับงานในมาบตาพุด จะคิดเป็นมูลค่า 17% ของ Backlog ของ STEC

* มองเลวร้ายสุดกำไรปี53 กระทบ25%

ประเมินกรณีเลวร้ายสุดว่า STEC ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากโครงการดังกล่าวทั้งหมดได้ จะกระทบกับกำไรสุทธิปีหน้า 25% (ตั้งสมมติฐาน Net margin 3.5%) EPS จะลดลงเหลือ 0.26 บาท/หุ้น จากปัจจุบันที่คาด 0.35 บาท/หุ้น และทำให้อัตราการเติบโตของกำไรในปี 2010 ลดลงเหลือ 40.5% จากปัจจุบันที่เราคาดว่าจะเติบโตก้าวกระโดด 87.2% และทำให้ราคาเป้าหมายที่ประเมินจาก PBV 2.0 เท่า ลดลง 0.16 บาท/หุ้น จากปัจจุบัน 8.00 บาท เหลือ 7.84 บาท รวมทั้งจะทำให้ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE ปีหน้าที่ 22.7 เท่า ก็ยังถูกกว่าในอดีตที่ซื้อขายที่ 25 – 30 เท่า

* ยังแนะซื้อ มองราคาหุ้นถูกสุดใน 5 ปี '

แม้ว่าจะประเมินในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ราคาเป้าหมายของ STEC ก็ลดลงเพียง 0.16 บาท ซึ่งเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดกรณีเช่นนี้มีน้อยเพราะโครงการก่อสร้างหลายแห่งได้ดำเนินไปแล้ว บางโครงการ ก่อสร้างเกือบเสร็จแล้ว และบริษัทได้รับชำระค่างวดมาเป็นระยะตามงานที่เสร็จ ในขณะที่ STEC ก็ยังเข้าร่วมงานประมูลโครงการต่างๆ อยู่เรื่อยๆ เราจึงยังคงประมาณการและราคาเป้าหมายที่ 8.00 บาทเช่นเดิม ราคาหุ้นที่ปรับลงประมาณ 17% นับตั้งแต่มีประเด็นมาบตาพุดในตลาด เป็นการพักฐานที่รุนแรงเกินไป ทำให้ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PE ปีหน้า 16.9 เท่า ถูกที่สุดในรอบ 5 ปี ถูกกว่า CK ที่มี PE 31.2 เท่า และ ITD ที่ 56.4 เท่า เราจึงยังคงแนะนำซื้อ

* ITD โดนด้วยก่อสร้าง 4 โรงงานในมาบตาพุด

ITD มีโครงการที่เปิดเผย ณ สิ้น 3Q09 ที่ดำเนินการอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอยู่ 4 โครงการ คือ 1) โครงการโรงแยกก๊าซฯ แห่งที่ 6 (PTT) มูลค่าโครงการ 420 ล้านบาท รับรู้รายได้ 100% แล้ว 2)โครงการ PTTPE Ethane Cracker (PTTCH) มูลค่าโครงการ 610 ล้านบาท รับรู้รายได้แล้ว 95.36% เหลือยอดรอรับรู้ 28 ล้านบาท 3)โครงการ Ethane Separation Plant (PTT) มูลค่าโครงการ 277 ล้านบาท รับรู้รายได้ 99.09% เหลือยอดรอรับรู้เพียง 2.5 ล้านบาท 4) งานโครงสร้างโรงไฟฟ้า GHECO-ONE 660 MW (GLOW-HEMRAJ) มูลค่าโครงการ 830 ล้านบาท รับรู้รายได้ 28.55% เหลือยอดรายได้ที่ยังไม่รับรู้อีก 593 ล้านบาท

งานทั้ง 4 โครงการมียอดรอรับรู้รายได้ 623.5 ล้านบาท โดยที่ 3 โครงการแรกของ ITD มีความเสี่ยงน้อยมากเพราะการก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการ GHECO-ONE ไม่อยู่ในรายชื่อ 76 โครงการ ยังก่อสร้างไปได้ไม่มาก ซึ่งตามแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2011 คาดว่าการก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จได้ตามแผนงานได้ จึงไม่น่ามีความเสี่ยงจากโครงการนี้เช่นกัน แต่หากประเมินกรณีแย่สุดว่า ITD ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากทั้ง 4 โครงการมูลค่ารวม 2.2 พันล้านบาท ก็จะกระทบเพียง 1.6% ของมูลค่าโครงการในมือปัจจุบัน 134,265 ล้านบาท เท่านั้น และหากใช้สมมติฐาน Net margin 1% ใกล้เคียงกับผลงานในอดีตที่ผ่านมา จะคิดเป็นกำไรที่จะหายไปประมาณ 22 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2010 (SAA Consensus) เฉลี่ยที่ 250 ล้านบาท ลดลงไป 8.8% หรือ EPS ลดไป 0.01 บาท/หุ้น เหลือ 0.05 บาท/หุ้น (ประเมินจากค่าเฉลี่ยของ Consensus) ราคาปัจจุบันก็ยังคิดเป็น PE ที่สูงถึง 56.4 เท่า และ PBV 1.3 เท่า สูงกว่ากลุ่มรับเหมาที่ซื้อขายที่ PE เฉลี่ย 25.5 เท่า และ PBV 1.2 เท่า

* SCRI ยังเชื่อปี53 กำไรโต17% งานอื่นยังมีรองรับเพียบ

นักวิเคราะห์สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า หากพิจารณถึงผลกระทบจากกรณีปัญหาที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองกลาง ให้ระงับโครงการหรือกิจกรรม 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้เป็นการชั่วคราวต่อบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC) ประเมินว่าในขณะนี้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตต่อผลกำไรในปี53 ของ STEC ที่คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานในปี53 จะเติบโตจากปีนี้ 17% ที่ประเมินว่าจะมีกำไร 250 ล้านบาท เนื่องจากแม้ STEC จะมีการรับงานที่เกี่ยวเนื่องในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ประสบปัญหาอยู่แต่ก็มีมูลค่าไม่มากนัก

อีกทั้งในปี53 ประเมินในปีหน้าจะยังมีโครงการลงทุนก่อสร้างในโครงการต่างๆจากงบประมาณการลงทุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อจากปีนี้ รวมถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งมีโอกาสที่ได้งานใหม่เพิ่มทดแทนรายได้จากการรับงานในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดหากเกิดปัญหาไม่สามารถดำเนินโครงการได้

นอกจากนี้งานที่คาดว่าจะได้รับใหม่ในปีหน้ายังมีโอกาสที่รับก่อสร้างในโครงการอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นซึ่งประกอบด้วยงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก งานก่อสร้างรถไฟฟ้าและงานก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมี จึงส่งผลให้รอัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมสูงขึ้นในปีหน้าสูงเป็น 4.3% จากปีนี้ที่ 4% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 3.5% หลังจากงานก่อสร้างในโครงการที่มีอัตรากำไรขั้นต้นระดับต่ำได้แก่ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการได้มีการ และแอร์พอร์ตลิงค์ได้มีการส่งมอบเกือบทั้งหมดแล้วในช่วงไตรมาส 2/52 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีจากประเด็นปัญหาดังกล่าวยังคงต้องรอความชัดเจนและความคืบหน้าต่อไป หลังจากที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างพยายามหาแนวทางในการแก้ปัญหา

กลยุทธ์การลงทุนแนะนำขาย ราคาเหมาะสมปี 53 ที่ 5 บาท ทั้งนี้แม้คาดผลการดำเนินงานของบริษัทจะมีการเติบโตของกำไรในปีหน้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ แต่หากพิจารณาราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาเหมาะสมที่ได้ประเมินไว้

* บิ๊ก SEAFCO ยันไร้ผลกระทบเชื่อทั้งปีกำไรแน่

นายณรงค์ ทัศนนิพันธ์ รองประธานกรรมการ บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SEAFCO กล่าวกับ eFinanceThai.com ว่าจากการที่บริษัทฯ เป็นผู้รับงานเหมาช่วงงานให้กับ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC) ที่มีการรับงานรับเหมาก่อสร้างอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรมมาบตาพุดที่ศาลปกครองกลางสูงสุดให้มีคำสั่งระงับการดำเนินจำนวน 65 โครงการนั้น ขอยืนยันว่าบริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบในกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากงานที่ได้มีการรับช่วงงานต่อจาก STEC มีเฉพาะงานรับช่วงเหมาช่วงงานต่อในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพียงเท่านั้น รวมทั้งมีงานรับเหมาช่วงงานต่อจากบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) ในโครงการเดียวกัน

สำหรับผลประกอบการในส่วนของรายได้ในปี 2552 มั่นใจว่าจะทะลุเป้าที่วางมาอยู่ที่ 1,800 ล้านบาท จากเป้าเดิมที่ตั้งไวที่ 1,600 ล้านบาท หลังจากผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีรายได้ประมาณ 1,300 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 40 ล้านบาท พร้อมทั้งคาดว่าทั้งปีจะมีผลงานที่มีกำไรได้

ส่วนปี 2553 บริษัทตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงปีนี้ ที่คาดว่าจะมีรายได้ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้า โดยส่วนหนึ่งจะรับรู้จาก Backlog ในสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะจบที่ 1,300 ล้านบาท โดยจะมีการทยอยรับรู้ได้บางส่วนในปีหน้า

อย่างไรก็ดีบริษัทตั้งงบลงทุนในปีหน้าไว้ที่ 40-50 ล้านบาท สำหรับใช้ซื้อเครื่องมือสำหรับรองรับการทำธุรกิจเสาเข็มเพื่อรองรับงานใหม่ๆทั้งงานภาครัฐและภาคเอกชน ขณะที่การประมูลก่อสร้างจากภาคเอกชนมีสัดส่วนลดลงจากระดับปกติที่ 70-80% เหลือเพียง 40% ซึ่งมาจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยประเมินว่างานก่อสร้างภาครัฐในปีหน้ายังมีโอกาสที่ออกมาในสัดส่วนสูงจากงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งที่จะออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น