ผังเมือง - ผังโรงงาน มาบตาพุด ระยะที่คนนอกพื้นที่...ไม่รู้สึกหวั่นไหว!
http://www.tei.or.th/Event/uep/081126-01.pdf
เร่งรัฐคุมผังเมือง‘มาบตาพุด’ปล่อยโรงงานรุกพื้นที่ชุมชน
(ข่าวเก่า - ด้านสุขภาพ ปี2549)
น.พ.วิวัฒน์ วิริยกิจจา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวถึงปัญหามลพิษจังหวัดระยอง ว่า หากนำเอาข้อมูลการวางแผน เพื่อก่อสร้างโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดมากางดูจะพบว่ามีการวางแผนเอาไว้ดีมาก หากสามารถปฏิบัติได้ตามที่วางแผนเอาไว้ จังหวัดระยองจะเป็นพื้นที่ดีที่สุด เพราะทั้งหมดจะมีการจัดการพื้นที่อย่างชัดเจน ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเองก็จัดแบ่งพื้นที่กันชน ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนชาวบ้านเอาไว้ มีระยะทางที่ไกลพอที่จะไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป แผนที่จัดตั้งเอาไว้ กลับไม่ได้ทำตามนั้นเลย "ทุกคนไม่เคารพแผนที่วางเอาไว้ ไม่ปฏิบัติตามแผนเดิมวางเอาไว้ว่า พื้นที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะต้องเป็นพื้นที่ปลอดคน ไม่มีการตั้งที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรมเองก็ต้องไม่รุกเข้ามาในเขตกันชน แต่ไม่มีใครเคารพแผน ชาวบ้านรุกเข้าไปตั้งบ้านเรือนอาศัย โรงงานรุกตั้งโรงงาน ทำให้ปัญหาเกิดขึ้น"
น.พ.วิวัฒน์ กล่าวย้ำอีกว่า แผนการในสร้างอีสเทิร์นซีบอร์ด มีแต่ไม่มีใครจัดตามแผนโรงงานอุตสาหกรรมกระจายออกไปโดยที่ผังเมืองไม่สามารถคุมเอาไว้ได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่รู้ว่าจะโทษใคร เพราะเดิมพื้นที่บริเวณนิคมมาบตาพุดมีชาวบ้านอาศัยอยู่น้อยมาก แต่เมื่อมีโรงงานก็มีการตั้งบ้านเรือน ตั้งตลาดขึ้นมาติดกับโรงงาน จะโทษใครก็ไม่ได้
น.พ.วิวัฒน์ บอกอีกว่า ต้องให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพราะหากจะว่าไปแล้ว นิคมอุตสาหกรรมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นปัญหาทุกอย่างจะไม่เกิดขึ้นเลย จังหวัดระยองก็จะเป็นเมืองที่ดีมากหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่ต้น แต่ทุกคนเห็นประโยชน์ของตัวเองมาก่อน ทำให้ตอนนี้กลายเป็นโรงงานล้อมชุมชนอยู่
ขณะที่ นางสาว เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ได้จัดวิจัยการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เรื่องการเปลี่ยนแปลงผังเมืองนิคมมาบตาพุดพบเช่นกันว่า จากการสำรวจความเห็นของชาวบ้าน ระบุว่า ปัญหาผังเมืองที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้
เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสวัดมาบชลูด ก็เห็นว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มลพิษจากโรงงานมากระทบกับชาวบ้านโดยตรงและรุนแรง โดยเฉพาะในเรื่องของเขตกันชน เช่นกรณีโรงกลั่นน้ำมันเออาร์ซีโรงเหนือ ซึ่งเกิดการกว้านซื้อที่ดินของนายทุนและนักการเมืองในพื้นที่เขตกันชนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมกับชุมชนเพื่อสร้างโรงงาน แล้วจึงผนวกเข้ากับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในภายหลัง แล้วมาขอเปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วงทำให้ปัญหาเกิดขึ้น
เพ็ญโฉมบอกว่า กรณีการก่อสร้างศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมของบริษัทเจนโก้ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ชัดเจนถึงปัญหาความไม่แน่นอนของผังเมืองในพื้นที่ เพราะเมื่อชาวบ้านที่อำเภอปลวกแดงคัดค้านไม่ให้ทางเจนโก้ก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะพิษที่นั่น สุดท้ายรัฐบาลก็แก้ปัญหาอย่างง่ายๆ บริษัทเจนโก้ย้ายที่ตั้งศูนย์กำจัดกากเข้ามาตั้งในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่มีอยู่ประมาณ
"พื้นที่ก่อสร้างเจนโก้ เป็นพื้นที่ที่เตรียมไว้เพื่อการสันทนาการของชุมชน และอยู่ใกล้ชุมชนมาบชลูดและโรงพยาบาลมาบตาพุด โดยเฉพาะตัวโรงพยาบาลที่อยู่ห่างกันไม่ถึง 100 เมตรดี ทำให้ชาวบ้านที่มาบชลูดและผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลเดือดร้อนจากปัญหากลิ่นเหม็น ชาวบ้านเล่าว่าไม่มีใครคิดว่าจู่ๆ จะมีหลุมฝังกลบขยะพิษลูกใหญ่เท่าภูเขามาอยู่ใกล้บ้านทั้งที่พื้นที่นี้กำหนดไว้เป็นพื้นที่สีเขียว ทางราชการก็มีแผนการสร้างโรงพยาบาลกำหนดไว้ก่อนล่วงหน้าหลายปี"
ชาวบ้านชุมชนมาบชลูดรายหนึ่งบอกว่า การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมออกมาเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่อาจจะไปอยู่ที่อื่นได้ เนื่องจากยากจนไม่มีเงินไปซื้อที่ดินที่อื่น จึงจำต้องทนอยู่ หรือบ้างก็รอขายที่ดินก่อน อีกทั้งชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องผังเมือง ว่าผังเมืองสีอะไร หมายถึงอะไร ไม่รู้ว่าที่ไหนจะเปลี่ยนเป็นอะไรต่อไป ชาวบ้านจะขัดแย้งกับราชการก็ไม่ได้ เพราะเขามักจะอ้างว่าการลงทุนของที่นี่สูงมาก
นอกจากนี้ เจ้าอาวาสวัดมาบชลูดแสดงความเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ก็คือรัฐไม่มีการวางแผนการขยายเมืองที่ดี มีการทำลายผังการใช้ที่ดิน เขตกันชนหายไป และที่สำคัญที่สุดคือความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐ โดยไม่มีการควบคุมผังเมือง นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวใหญ่ขึ้น ชุมชนและที่อยู่อาศัยก็ขยายตัวเช่นกัน เมื่อก่อนทั้งชุมชนและนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ใหญ่เท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันกลายเป็นว่าทั้งชุมชนและอุตสาหกรรมอยู่ในที่เดียวกัน จึงเกิดผลกระทบขึ้น โดยเฉพาะเรื่องกลิ่นเหม็นและส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาด้วย
เพ็ญโฉม บอกว่า การขยายตัวของโครงการต่างๆ ควรมีขีดจำกัด ควรต้องมีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนลงไปและมีกติกาที่แน่นอน การขยายตัวของโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดทุกระยะเกิดขึ้นอย่างไม่มีขอบเขตเลย แผนการถมทะเลที่สร้างปัญหามากก็เกิดขึ้นจากการวางแผนผังไม่ดี พอมีปัญหาที่ดินแพงก็ใช้วิธีการเพิ่มพื้นที่ด้วยการถมทะเล มีการดูดทรายตามมา ซึ่งไปทำให้กระแสน้ำเปลี่ยน ไปสร้างปัญหาต่อระบบนิเวศน์และปัญหาอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ ชายทะเลของระยองเสียหายหมด ถนนขาด ท่อประปาขาด กลุ่มชาวประมงก็ได้รับความเดือดร้อน จับปลาไม่ได้ ไม่มีที่จอดเรือเพราะไม่มีหน้าหาดเหลือให้ใช้
แหล่งข่าวจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยอง กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดระยองมีการวางผังเมือง โดยประกาศเป็นกฎกระทรวงแล้วทั้งสิ้น 5 ฉบับ ได้แก่ ผังเมืองรวมเมืองระยอง ผังเมืองรวมชุมชนบ้านเพ ผังเมืองรวมเมืองแกลง ผังเมืองรวมชุมชนตะพง และผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการดำเนินการไม่เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้ โดยมีการขอปรับแก้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขอแก้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย รวมทั้งที่ประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้เปลี่ยนเป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
"ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งไม่ก่อตั้งกิจการ ในบริเวณที่วางไว้ให้เป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมและคลังสินค้า หรือพื้นที่สีม่วง เนื่องจากเป็นที่ดินมีราคาสูง จึงมักเข้าไปกว้านซื้อที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หรือที่ดินเกษตรกรรม ซึ่งมีราคาถูกกว่า แล้วค่อยมาขอเปลี่ยนประเภทการใช้ที่ดิน" อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อขอแก้ไขประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน แม้จะมีกฎหมายกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจน แต่ที่ผ่านมา ปรากฏว่า การแก้ไขกลับเป็นไปตามความต้องการของนักการเมือง และการคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ผู้ที่เข้ามีส่วนในกระบวนการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริง บางครั้งมีผลประโยชน์แอบแฝง ขณะที่เสียงของประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความสนใจ และส่งผลให้เกิดปัญหาผลกระทบจากมลพิษและสิ่งแวดล้อมติดตามมา "ระยองเป็นกรณีตัวอย่างของการวางผังเมืองที่ซับซ้อน มีผลประโยชน์สูง ในระหว่างกฎกระทรวงบังคับใช้ กลับมีการขอแก้ไขอย่างต่อเนื่อง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายภาครัฐไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และนักการเมืองเข้ามีบทบาทผลักดัน ทำให้เกิดการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เกิดพื้นที่สีม่วงในที่ซึ่งไม่น่าจะเกิด การขยายตัวของอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ จ.ระยอง ประสบปัญหามลพิษเพิ่มมากขึ้นดังนั้นจึงถึงเวลาที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันควบคุมผังเมืองจัดโซนนิ่ง และหยุดการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่
พื้นที่ 25 ชุมชน โอบล้อมนิคมอุตฯห่างเพียง 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น