วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลเลือดเย็น!!! รู้ทั้งรู้ คนมาบตาพุดเสี่ยงตาย







รัฐบาลใช้ มาตรฐานสากลของโลก หรือของนรกขุมไหน พิจารณาโครงการส่งผลกระทบรุนแรง
คนมาบตาพุด เตรียม ... ขอความชัดเจนจากรัฐ เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงทรุดพัง
กรณีไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ปตท.ชี้แจงว่าปลอดภัย คำพูดดีๆ-ตัวหนังสือดีๆ
ไม่ลดความเสี่ยง ช่วงนี้ ฤดูฝน ฝนตกหนัก พายุลมแรง โครงสร้างไม่แข็งแรง ทรุดพัง อาจระเบิด
สร้างหายนะภัยใหญ่หลวงต่อชีวิต-ชุมชน-สภาวะแวดล้อม และโรงงานอันตรายต่างๆจำนวนมาก

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสวล.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณา ร่างกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากระธรรมชาติและสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด ได้เสนอมาจำนวน 18 กิจการ โดยเห็นชอบให้ 11 กิจการ เป็นกิจการรุนแรง ปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กน้อย ไม่ประกาศเป็นกิจการรุนแรง 5 กิจการ แต่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) 3 กิจการ และอีก 2 โครงการส่งให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ไปพิจารณาใหม่และอาจนำมาประกาศภายหลังได้


"ที่ประชุมได้มอบหมายให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปออกประกาศในนามบอร์ดสิ่งแวดล้อมให้เร็วที่สุด"นายชัยวุฒิกล่าว


นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอมติบอร์ดอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นำไปยื่นต่อศาลปกครองกลางให้ทันในวันที่ 26 ส.ค. 2553 ที่ศาลจะนัดไต่สวนคดีหลัก ที่ 8 หน่วยงานรัฐ ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่าใน 76 โครงการ จะมีโครงการที่เข้าข่ายกิจการรุนแรงจำนวน 2 โครงการ ส่วนที่ไม่อยู่ใน 76 โครงการ น่าจะเข้าข่ายประมาณ 20 โครงการ รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องประกาศยกเลิกประกาศกิจการรุนแรง 8 กิจการของกระทรวงฯก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน


สำหรับโครงการที่เข้าข่ายประเภทกิจการรุนแรงจำนวน 11 กิจการได้แก่

1.การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกเขตชายฝั่งเดิม ขนาด 300 ไร่ขึ้นไป ไม่รวมการฟื้นฟูสภาพชายหาด

2.เหมืองแร่ต่างๆ ทุกขนาด

3. นิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการจัดสรรคที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และนิคมฯ ที่มีส่วนขยายเพิ่มเติม

4. โรงงานปิโตรเคมีต้นน้ำและกลางน้ำ ทุกขนาดหรือขยายการผลิตตั้งแต่ 35% ขึ้นไป

5. โรงงานถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ที่กำลังการผลิตตั้งแต่ 5,000 ตัน/วัน ขึ้นไป หรือโรงงานที่ขยายกำลังการผลิตจนครบ 1,000 ตัน

6. การผลิต หรือกำจัด หรือปรับแต่ง สารกัมมันตรังสีในส่วนของโรงพยาบาล โรงพยาบาลสัตว์ การวิจัยและพัฒนา ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย

7. โรงงานฝังกลบหรือเผาขยะของเสียอันตราย

8. สนามบินที่มีการขยายทางวิ่ง 3,000 เมตรขึ้นไป

9. ท่าเทียบเรือ ยกเว้นท่าเทียบเรือที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน

10. เขื่อนกักเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาตรเก็บน้ำ 100 ล้าน ลูกบาศก์เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่เก็ยน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป

11. โรงไฟฟ้า ยกเว้นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ส่วนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขยายกำลังการผลิตเป็น 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป

ขณะที่โครงการที่ถูกถอดออกจากประเภทกิจการรุนแรงมี 5 โครงการ ได้แก่ 1.การชลประทาน 2.การสูบน้ำเกลือใต้ดิน 3.เตาเผาขยะติดเชื้อ 4.การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำหลัก หรือการผันน้ำระหว่างประเทศ และ 5.ประตูระบายน้ำ โดย 3 กิจการหลังไม่เป็นกิจการรุนแรงแต่ต้องทำอีไอเอ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ให้คชก. นำกลับไปพิจารณาใหม่ 2 กิจการ ได้แก่ 1.โครงการที่ต้องทำอีไอเอและอยู่ในพื้นที่หรืออาจส่งผลกนระทบต่อพื้นที่ เช่น แหล่งมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นต้น 2.การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างถาวรนอกชายฝั่งทะเลเดิมเพื่กันคลื่น หรือกระแสน้ำในทะเล ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติควรอนุรักษณ์ แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผุ้ช่วย รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากนี้จะเชิญผู้ประกอบการทั้ง 76 โครงการ เข้าหารือในวันที่ 25 ส.ค. นี้ เพื่อมาร่วมกันพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หลังจากมีประกาศกิจการรุนแรงออกมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น