วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

5 ความเสี่ยง บนมาตรฐานสูง ถูกกฎหมาย หรือหลบกฎหมาย

5 ความเสี่ยง-ปัจจัยเรื่องการทรุดของฐานรากตื้น กับการตัดสินใจเลือกใช้ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม

เรื่องราวความกังวลห่วงใย ของวิศวกรที่เข้าไปก่อสร้าง - ไม่ใช่ของคนที่เข้าไปขายอาหารในหน่วยงานก่อสร้าง ซะหน่อย ที่จะไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ที่ทำกันนั้นมันเสี่ยงอย่างไร ถ้าเป็นอาคารสำนักงาน ทำกันแบบเสี่ยงๆ คงไม่มีใครว่าอย่างไร แต่นี่มัน โรงงานก๊าซ โรงงานสารเคมี ถ้าทรุดแล้วดึงกัน มันจะพังเหมือนเสาไฟฟ้าล้ม เสาไฟฟ้าล้มแค่ตัดไฟ ทุกอย่างก้อจบ (เสาไฟฟ้า เค้ายังต้องตอกเสาเข็ม) และถ้าก๊าซ-สารเคมีรั่ว มันจะรั่วแบบควบคุมไม่ได้ มันมีอันตรายอะไร กับคนแถวกรุงเทพฯ หรือคนแถวประจวบ แต่ ... สำหรับ คนมาบตาพุด ที่ต้องนอนผวา!!! ล่ะ เห็นกันอย่างไร

" อยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย มีผลรุนแรงต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงอีก "

เช่นกรณีที่ไฟใหม้กลางทะเล จนควบคุมไม่ได้ ก้อปล่อยให้มันใหม้ไป จนเป็นอันตรายต่อสัตว์ต่างๆในทะเล-นก และทำลายสภาวะแวดล้อม เป็นวงกว้าง นั่นมันอยู่กลางทะเล ... นะ



ฐานรากตื้น หมายถึง ฐานรากที่ไม่มีเสาเข็ม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการทรุดตัว ทั้งนี้โครงสร้างที่ใช้รองรับระบบท่อ, ถังเก็บและเครื่องจักร ที่เกี่ยวข้องกับ ก๊าซ-สารเคมีอันตราย ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่แล้วว่าอาจจะเกิดการรั่วหรือการระเบิด การเสี่ยงในการทรุดตัวนั้นจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นจากความเสี่ยงเดิม และการก่อสร้างบนพื้นที่ปรับ-ถมใหม่ โดยไม่ใช้เสาเข็มนั้น เป็นการเสี่ยงมากขึ้นอีก ซึ่งอาจจะอธิบายทางวิศวกรรมโยธา ได้ดังนี้ คือ

ข้อเสียประการแรก ของการเลือกใช้ฐานรากตื้น คือ เสี่ยงต่อการทรุดตัว ของโครงสร้าง ความเสี่ยงที่ 1

ข้อเสียประการแรก ของการก่อสร้างบนที่ถมใหม่ คือ เสี่ยงต่อการทรุดตัว ของโครงสร้าง ความเสี่ยงที่ 2

ดังนั้นการใช้ฐานรากตื้น บนพื้นที่ปรับถมใหม่ จึงมีเพิ่มเป็น 2 ความเสี่ยง

ลักษณะการทรุดตัวของโครงสร้าง มีดังนี้ การทรุดตัว = การทรุดตัวในทันที + การทรุดตัวต่อเนื่อง

การทรุดตัวในทันที คือ การที่โครงสร้างรับแรงใดๆ แล้วเกิดการทรุดตัว เนื่องจากการรับน้ำหนักของดิน

การทรุดตัวต่อเนื่อง คือ การทรุดอันเนื่องจากลักษณะคุณสมบัติของดินแต่ละชั้น แต่ละชนิด สภาวะน้ำใต้ดิน สภาวะอากาศ การเรียงตัวใหม่-ซึ่งมาจากหลายๆสาเหตุ แต่จะมากขึ้นสำหรับส่วนที่รับแรงสั่น การสูญเสียเนื้อดิน-ความชื้น หรือการอิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้การทรุดตัวตามปกตินั้นเกิดเร็วขึ้น เช่นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน

การรับแรงใดๆ คือ การรับแรงตามแนวดิ่ง แนวราบ แรงจากการสั่น ทั้งไดนามิกและไซคลิก ที่สูงสุดในแต่ละคาบ

ดิน ความหมายหนึ่งคือ วัสดุที่ไม่มีลักษณะความเป็นเนื้อเดียวกัน (non-homogeneous material)การรับแรงในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อาจจะต่างกันโดยสิ้นเชิง การสุ่มสำรวจเป็นการดำเนินการเพียงให้เกิดความมั่นใจ แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเหมือนกันทั้งหมดในเรื่องความแข็งแรงในการรับน้ำหนักที่ 90 ตัน/ม2 การนำมาใช้เป็นกรอบหลักในการออกแบบ จึงเท่ากับ ใช้ข้อมูลที่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงที่ 3

จึงเป็นที่มาว่า ทำไม วิศวกรโยธา ที่ก่อสร้างโรงงานต่างๆ ต่างคิดเหมือนกันว่า เป็นโครงการก่อสร้างที่มีความเสี่ยงในการทรุดตัวสูงมาก สำหรับการเลือกใช้ฐานรากตื้น รับโครงสร้างระบบท่อ-ถังเก็บ-เครื่องจักร ขนาดใหญ่ เพราะมีมากกว่า 3 ความเสี่ยง กับเรื่องการทรุด-วิบัติในทางวิศวกรรมโยธา ซึ่งความเสี่ยงที่ 4 คือ แผนงานที่มีความเร่งรัดสูง และทำในช่วงฤดูฝน การควบคุมดูแลเป็นระบบเปิด ทำได้ไม่ทั่วถึงทุกจุดของงาน ซึ่งรายงานกับข้อเท็จจริงอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ความเสี่ยงที่ 5 คือ ความมั่นใจสูง ว่าการจ้าง บริษัทข้ามชาติ มาก่อสร้างโรงงานให้ มี ฝรั่งเป็นที่ปรึกษา จนคิดว่า ไม่น่าจะผิดพลาด และคิดว่าความห่วงใยกังวล เป็นเรื่องไร้สาระ ทำแบบผ่านๆขอไปที ความจริงแล้ว ปัญหาการทรุดตัวของดิน อาจใช้เวลายาวนานที่จะติดตาม ดินแช่น้ำนานแค่ไหนจึงเสียกำลัง ดินทรุดเพราะการสั่น สั่นนานแค่ไหนมันจะทรุด และทรุดแค่ไหน จะพังหรือวิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น