วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปตท. แจง โรงแยกก๊าซ แอ่งน้ำท่วม ดินแข็งมาก ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม มีมาตรฐานสูง มีฝรั่งคุมงานก่อสร้าง

ดินแข็งถึงแข็งมาก ควบคุมงานโดยวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลก
สามารถสร้างถังน้ำสูงเท่าตึก 8 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม

ภายหลังจากนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและคณะ เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียนแสดงความกังวลต่อการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 6 การจัดทำรายงาน HIA และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมต่างๆ นั้น


ปตท. ชี้แจงแบบ เดิมๆ ว่าควบคุมการก่อสร้างโดยฝรั่งตาน้ำข้าว ดินแข็งแรง ขนาดหอความดัน สูงกว่าตึก 10 ชั้น ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม ขณะที่พื้นที่โรงแยกก๊าซเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ น้ำท่วม เมื่อฝนตกหนัก อ้างว่าตรวจสอบมาตลอด ทั้งๆที่ ยังไม่เคยทำ เพราะโรงแยกก๊าซอีเทน ทดสอบระบบมาตั้งแต่ เดือน มกราคม 2553 โรงแยกก๊าซ ที่ 6 พื้นที่หลายส่วนเข้าไม่ได้ เพราะทดสอบระบบท่อ ...

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บมจ.ปตท.(PTT) ชี้แจงว่า การดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทนนั้น ปตท.ได้ออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ชนิดและลักษณะของดินในพื้นที่ตั้งโครงการตามหลักวิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์ พบว่าดินส่วนใหญ่โดยทั่วไปเป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมาก และดินแข็งถึงแข็งมาก อย่างไรก็ดี ปตท.ยังได้ปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดเพิ่มเติมตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง - มีการทดสอบด้วยวิธีง่ายๆ หลังจากการปรับถม เสร็จในเดือน ม.ค.51 ทดสอบดินเสร็จ เดือน ก.พ.51 ถมดินใหม่+งานฐานรากทั้งหมด เสร็จภายใน 5-6 เดือน ช่วงฤดูฝน เดือน มิ.ย.-พ.ย. 51 เพื่อเร่งรัดติดตั้งเครื่องจักร เดือน พ.ค.52 พบว่า มีฐานรากจำนวนมากทรุด จนผู้รับเหมางานฐานราก ไม่ขอรับผิดชอบอีก

ส่วนการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ได้มีการตรวจสอบและลงนามรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีอำนาจตามกฎหมาย และทั้งสองโครงการได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง - ที่ถูกฟ้องเพราะการใช้ค่ารับน้ำหนักของดินสูงมากถึง 3 เท่าของโรงงานอื่นๆในมาบตาพุด ทั้งที่โรงงานข้างเคียงใช้เสาเข็มเจาะ ลึก 8-12 ม.

วิธีการทดสอบดิน ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมาก

แต่รถบรรทุกที่ขนเครื่องจักรเข้าไปติดตั้งยังต้องใช้แผ่นเหล็กรองจำนวนมาก

งานก่อสร้างฐานราก และงานตอกเสาเข็มแข็งแรงมาก
ในการก่อสร้างโรงงานก๊าซ ในเกาหลีใต้
แต่ทำไม เวลามาก่อสร้างในประเทศไทยทำกันแบบง่ายๆ ไม่กลัวจะทรุดจะพัง
GAS PLANT CONSTRUCTION IN SOUTH KOREA
Foundation and Piling Works, It concerned to high and performed safety.
Korea Contractor in Main-Contractor for PTT Gas Separation Plant

นอกจากนี้ ปตท.ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการทรุดตัวของฐานรากอย่างเป็นระบบ โดยผลจากการตรวจสอบค่าระดับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มงานติดตั้งโครงสร้างฐานราก จนกระทั่งก่อสร้างแล้วเสร็จและยังคงทำการตรวจสอบอยู่จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่าไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติแต่อย่างใด - พบว่า มีการทรุดพังระหว่างและหลังการก่อสร้างจำนวนมาก ไม่มีการตรวจสอบกว่า 6 เดือน และห้วงเวลาที่ผ่านมา อยู่ระหว่างการทดสอบโรงแยกก๊าซอีเทน อ้างว่า มีข้อมูลตรวจสอบแล้ว ไม่มีค่าทรุดตัวเลยจำนวนมาก (0.00 มิลลิเมตร) มีการก่อสร้างที่เสี่ยงทรุดพัง แต่อ้างว่าตรวจสอบเองแล้ว พบว่าไม่มีปัญหาเลย!!! (ค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้เพียง 10-15 ม.ม. ในแต่ละฐานราก ตามข้อกำหนดก่อสร้าง)

ปตท.จะจัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน เรื่องความปลอดภัยในการดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโครงการโรงแยกก๊าซอีเทนของ ปตท.อีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ได้มีการชี้แจงกับชุมชน สื่อมวลชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา - จัดชี้แจง วันที่ 13 ก.ค. 53 แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำท่วม วันที่ 12 ก.ค.53 อ้างแบบเดิมๆว่า จ้างเกาหลีก่อสร้าง จ้างฝรั่งควบคุมงาน ทุกอย่างทำอย่างดี เชื่อถือได้ (น้ำมันรั่วอ่าวเม็กซิโก ก้อเกาหลีก่อสร้าง ฝรั่งคุมงาน แต่พอมีปัญหา ฝรั่งก้อส่ายหัวกัน อยู่หลายเดือน และเหมือนที่ ปตท. ปล่อยให้ไฟไหม้ระเบิดกลางทะเลติมอร์ ตรงนั้นก็มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก)

นายอรรถพล ยังกล่าวถึงการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(HIA) ของโครงการกลุ่ม ปตท.ตามบัญชีรายชื่อ 76 โครงการว่า ทุกโครงการต่างมีเจตนาที่จะจัดทำรายงาน HIA ไม่ว่าโครงการดังกล่าวจะเข้าข่ายอยู่ในประเภทกิจการที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงหรือไม่ก็ตาม โดยความคืบหน้าในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดทำรายงาน HIA และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชนรอบพื้นที่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ - จ้างชาวบ้านไปร่วมในเวทีรับฟัง ทุกโครงการ ชุมชนละ 10-15 คน แล้วอ้างว่าไม่มีชาวบ้านติดขัด-เห็นแย้งอะไร

7 ความเสี่ยง ทรุดพังของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. จากเดิมแค่ 5 ทำไมเพิ่มมาอีก 2 เสี่ยง

จากความเสี่ยงเดิมที่ทำรายละเอียดไว้ ตั้งแต่ทำกรณีศึกษา ครั้งแรก เมื่อเดือน ธันวาคม 2552 ขณะนี้ หลังจากมีข้อมูลเพิ่มเติม และมีเหตุการณ์ น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ทั้งที่ฝนตกไม่หนักมาก แต่คงเป็นเพราะดินชุ่มน้ำมาก เนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน น้ำหลากลงมาอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่ฝนไม่ตกหนักมากนัก แต่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง ซึ่ง 5 ความเสี่ยงเดิม ที่เคยชี้แจงไว้มีดังนี้

  1. การเลือกใช้ ฐานรากตื้น ซึ่งข้อเสียคือ มีโอกาสที่จะทรุดตัวสูง
  2. การก่อสร้างบนพื้นที่ปรับถมใหม่ โดยไม่ตอกเสาเข็ม ฐานรากมีโอกาสทรุดตัวสูง จากดินยุบตัว
  3. การใช้ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของดินสูงมาก ถึง 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆในมาบตาพุด แม้จะอ้างว่ามีการสุ่มทดสอบแล้ว เพราะดินมีความเสี่ยงในตัวเองในสภาวะ-การณ์ต่างๆ รวมทั้ง ชั้นดินที่หาความแน่นอนอะไรไม่ได้
  4. การก่อสร้างที่เร่งรัดมากและทำในช่วงฤดูฝน ควบคุมคุณภาพงานดิน ได้จริงหรือ
  5. ความเชื่อมั่นสูงว่า งานกระดาษมีมาตรฐานสูง การจ้างชาวต่างชาติมาควบคุมงานมาก่อสร้าง จนละเลยที่จะตรวจสอบติดตาม

และ 2 ความเสี่ยงใหม่ ที่เพิ่มขึ้นคือ

  1. การปกปิด หรือไม่เปิดเผยข้อมูล ความสามารถรับน้ำหนักของดินสูงมาก (30 ตัน/2) ที่ใช้ในการออกแบบฐานราก ซึ่งการควบคุมงานดิน จำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้ตามสมมุติฐานในการออกแบบ รวมทั้งการก่อสร้าง ฐานรากส่วนบนดินถมของโครงสร้างที่ลึกกว่า จำเป็นต้องใช้วัสดุพิเศษหรือวัสดุที่มีการออกแบบ ชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีต และเหล็กเสริมถูกระบุไว้ในแบบ ซึ่งกรณีมีเสาเข็ม จะต้องระบุ ความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็ม กรณีไม่มีเสาเข็ม ต้องระบุความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน
  2. กรณีน้ำท่วม บอกลักษณะทางภูมิศาสตร์-ธรณีวิทยาของดินและชั้นดิน ที่อยู่ในร่องน้ำหลาก หรือท่วมขัง ซึ่งไม่น่าจะแข็งแรงมาก และมีโอกาสที่จะเผชิญเหตุน้ำท่วมอีกในอนาคต

ความเสี่ยงหลายประการนี้ ที่เป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมจึงมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะมีมากถึง 7 เสี่ยง ทั้งนี้ไม่รวมการหมกเม็ดต่างๆ ในการออกแบบ หรือการก่อสร้าง เพราะขณะนี้ ยังไม่ปักใจเชื่อว่า การออกแบบทำด้วย วิธีUltimate Design คือการเลือกใช้สถานะของการพังของวัสดุ เพื่อมาใช้ออกแบบ ซึ่งถ้าเลือกออกแบบวิธีนี้ จะใช้ค่ารับน้ำหนักประลัยของดิน มาใช้ออกแบบ คือที่ 90 ตัน/2 ซึ่งกรณีกดน้ำหนักดินจะทรุดตัวลง 1 นิ้ว หรือเป็นจุดที่บอกว่าพัง กรณีนี้ ถ้าเราสร้างถังเก็บน้ำจะสร้างได้สูง ประมาณตึก 25 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็มเลย แต่เดี๋ยวก่อน เพราะต้องมีค่าความปลอดภัย เท่ากับ 3 ซึ่งบอกว่า จะสร้างถังน้ำได้สูงแค่ ตึก 8 ชั้น โดยไม่ตอกเสาเข็มแล้ว จะไม่ทรุดตัวเลย แม้แค่ 1 เซนติเมตร ว๊าววววว ถึงตอนนี้ ต้องเอาไปลงหนังสือแปลกแต่จริง มั้ยครับ จริงๆแล้วตรงนี้ อยู่ใน เสี่ยงที่ 3 ถ้ามองกันแบบหยาบๆ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องรายละเอียดของวิธีการออกแบบแตกต่างกัน เพราะแรงตามแนวราบ แรงลม แรงสั่นไหว ไดนามิค ไซคลิก แล้วก้อสารพัดแรง ที่จะต้องเอามาร่วมในการคำนวณด้วย แล้วถ้าให้ละเอียดจริงๆ ต้องคำนวณเมื่อดินมีสภาพอ่อนตัวมากที่สุดด้วย หรือดินที่ชุ่มน้ำ

รายละเอียดเดิม เรื่อง 5 ความเสี่ยง

5 ความเสี่ยง-ปัจจัยเรื่องการทรุดของฐานรากตื้น กับการตัดสินใจเลือกใช้ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม

เรื่องราวความกังวลห่วงใย ของวิศวกรที่เข้าไปก่อสร้าง - ไม่ใช่ของคนที่เข้าไปขายอาหารในหน่วยงานก่อสร้าง ซะหน่อย ที่จะไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ที่ทำกันนั้นมันเสี่ยงอย่างไร ถ้าเป็นอาคารสำนักงาน ทำกันแบบเสี่ยงๆ คงไม่มีใครว่าอย่างไร แต่นี่มัน โรงงานก๊าซ โรงงานสารเคมี ถ้าทรุดแล้วดึงกัน มันจะพังเหมือนเสาไฟฟ้าล้ม เสาไฟฟ้าล้มแค่ตัดไฟ ทุกอย่างก้อจบ (เสาไฟฟ้า เค้ายังต้องตอกเสาเข็ม) และถ้าก๊าซ-สารเคมีรั่ว มันจะรั่วแบบควบคุมไม่ได้ มันมีอันตรายอะไร กับคนแถวกรุงเทพฯ หรือคนแถวประจวบ แต่ ... สำหรับ คนมาบตาพุด ที่ต้องนอนผวา!!! ล่ะ เห็นกันอย่างไร

" อยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย มีผลรุนแรงต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงอีก "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น