ที่มาและการดำเนินการของ
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง
Airfresh Society Maptaphut Rayong
(จัดตั้งเมื่อ 5 พฤษภาคม 2544)
เริ่มต้นขึ้นจากปัญหาขยะชุมชน ที่อยู่ข้างที่พักอาศัย ร้านคอมโฮม คอมพิวเตอร์ ถนนโสภณ ซอย 8 มาบตาพุด ระยอง ทำหนังสือร้องเรียนถึง นายกเทศมนตรีมาบตาพุด ให้ช่วยแก้ปัญหาขยะและกลิ่นขยะดังกล่าว ความเป็นชาวบ้านธรรมดามักถูกไถ่ถามถึงที่มาที่ไป ในเมื่อคนอื่นทนได้ แต่ทำไมเราทนไม่ได้ ปัญหาของชุมชนในเขตมาบตาพุดนอกจากเรื่องขยะและน้ำประปาแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่เรื่องมลภาวะที่มาจากการมีซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมเคมี-ก๊าซและท่าเรือขนถ่าย และนอกจากปัญหากลิ่นรุนแรงจากมลภาวะทางอากาศ-กลิ่นขยะ-น้ำเสียปนเปรื้อนสารพิษ-ขยะอุตสาหกรรม-น้ำทะเลเสีย-ชายหาดถูกกัดเซาะ แล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นมลภาวะทางสังคม คือการซื้อมวลชน-ชุมชน-ตัวแทนชุมชน โดยกองทุนต่างๆของโรงงาน คนที่จะออกมาเรียกร้องให้ผู้คนมาสนใจปัญหาต่างๆ จึงถูกทำให้มองเป็นการเรียกร้องหาผลประโยชน์เกือบทั้งหมด การประท้วงของผู้คนในมาบตาพุด ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากเหตุผลเรื่องที่ดิน-การเวนคืนเป็นตัวชี้นำหลัก รวมทั้งการเรียกรับผลประโยชน์ จนปัญหาที่แท้จริงกับถูกหลงลืมไปหมด การย้ายโรงเรียนออกจากพื้นที่เดิม เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุด ว่าที่นี่มีปัญหา-ที่แก้ไขไม่ได้ การก่อตัวขึ้นของกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น จึงเริ่มขึ้นจากปัญหาของกลิ่นมลภาวะอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้นขณะนั้น
10 พฤษภาคม 2544 – ยื่นหนังสือ ร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพอากาศพิษที่มากเกินกว่าที่จะยอมรับได้บริเวณตำบลมาบตาพุดและเขตใกล้เคียง ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง สำเนา รมต.วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รมต.อุตสาหกรรม ท่านผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผลที่ได้รับ – พื้นที่นี้มีกฎหมายเฉพาะซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด แต่จะประสานการนิคมแห่งประเทศไทย ที่กำกับดูแลต่อไป
9 กันยายน 2544 - ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ระยอง 43 ได้จัดส่งเอกสารโครงการเพื่อนำเสนอ 25 ชุมชนของมาบตาพุด ในการพิจารณาให้การสนับสนุนและร่วมต่อสู้กับแหล่งกำเนิดมลพิษ อย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนและเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน
ผลที่ได้รับ – ไม่ได้รับการใส่ใจ มีผู้มาร่วมน้อยมากจนกำหนดแนวทางอะไรร่วมกันไม่ได้ ขบวนการต่อสู้แบบโดดเดี่ยวจึงเริ่มขึ้น โดย ... คนกลุ่มเล็กๆ 7-8 คน
การรณรงค์ คัดค้านการมาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน บีแอลซีพี ขนาด 1400 เมกะวัตต์ ที่มาบตาพุด ระยอง
- การติดป้ายคัตเอ้าท์รณรงค์ให้ความรู้ เรื่องมลพิษถ่านหิน บริเวณ ชุมชนต่างๆ
- การติดป้ายรณรงค์คัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหิน
- การแจกใบปลิว เรื่องมลภาวะแวดล้อม, ขยะสารเคมี-ขยะอุตสาหกรรม, ปัญหาน้ำเสีย-กลิ่นและมลภาวะ และรณรงค์คัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหิน
ผลที่ได้รับ – มีการมาของรัฐมนตรีอุตสาหกรรม 2 ครั้ง และมีการประชุมรับปัญหาชาวบ้านที่การนิคมฯ โดยอธิบดีกรมโรงงาน และสุดท้าย สภาพอากาศที่กลิ่นรุนแรงหายไป แต่ได้โรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้นิคมเอเชีย เพิ่มขึ้นมา
15 มิถุนายน 2545 รณรงค์ เรื่องขอให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0037
ผลที่ได้รับ – เพิ่งมีผลในปี 2552 ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ
21 มิถุนายน 2545 ยื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขณะมา ครม.สัญจร เปิดคลินิกชุมชน ของ ปตท.มาบตาพุด เพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี
ผลที่ได้รับ – มีงบประมาณ ลงมายัง พื้นที่ และการจะสร้าง มหาวิทยาลัย บริเวณ โรงเรียน มาบตาพุดพัน-เดิม แต่ให้สร้างโรงไฟฟ้าฯ ต่อไป
13 มีนาคม 2548 รณรงค์ เรื่องทรัพยากรน้ำ และการปันส่วนน้ำในภาคตะวันออก
http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0267
ผลที่ได้รับ- ทางโรงไฟฟ้า บีแอลซีพี สร้างแหล่งเก็บน้ำใน พื้นที่ข้างเคียง ซึ่งเดิมถูกกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนต่อขยาย
โครงการที่อยู่ระหว่างการติดตาม
11 กรกฎาคม 2552 นำเสนอ โครงการกองทุนขยะชุมชน กับ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลมาบตาพุด ระยอง
24 พฤศจิกายน 2552 ร้องเรียนเรื่อง ขยะชุมชนและกลิ่นขยะรุนแรงในหมู่บ้านเบญจพร กับ นายกเทศมนตรี เทศบาลมาบตาพุด ระยอง สำเนา ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, รมต.ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลที่ได้รับ – มีหนังสือจากผู้ว่าฯถึงนายกฯ ให้ช่วยเร่งรัด นานกว่า 2 สัปดาห์ยังไม่มีอะไรคืบหน้า จนต้องเกณฑ์คนไปช่วยกันทำเอง
2/2
15 ธันวาคม 2552 นำเสนอกับ ปตท. เรื่องกรณีศึกษาการทรุดตัวของโครงสร้าง ที่ตั้งบนฐานรากตื้นที่ไม่มีการตอกเสาเข็ม ของโรงงานต่างๆของ ปตท. โรงแยกก๊าซที่ 6, โรงแยกก๊าซอีเทน, โรงงาน ปตท.ฟีนอล และโรงงานอื่นๆ ในมาบตาพุด ระยอง ซึ่งฐานรากเกือบทั้งหมดไม่ตอกเสาเข็ม ด้วยความกังวลถึงปัญหาการวิบัติของโครงสร้างระบบท่อและเครื่องจักร การรั่วจำนวนมากหรือจนมีการเกิดระเบิดจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาวะแวดล้อมและชุมชน ในวงกว้าง ถ้ากรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่นเดียวกันกับ ไฟไหม้แท่นเจาะ ของ ปตท.สผ ในทะเลของประเทศออสเตรเลีย หรือ ไฟไหม้โรงงานก๊าซของเอสโซ่ ในลองฟอร์ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีปัญหามาจากการออกแบบ หรือ ไฟไหม้โรงงานปิโตรเคมี ในประเทศจีน ที่เพิ่งเกิดขึ้น นำเสนอเพื่อให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ แก้ไขความแข็งแรงโครงสร้างฯ
ปตท. อ้างว่า ออกแบบถูกต้องโดยบริษัทมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงานภาครัฐ – มีการทดสอบการรับน้ำหนักของดิน ซึ่งเป็นดินปรับถมใหม่ ว่าสามารถใช้ฐานรากตื้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอกเสาเข็ม ความสูงเฉลี่ยโครงสร้างระบบท่อและเครื่องจักร ประมาณ 15-18 เมตร เทียบกับตึกสูง 5-6 ชั้น (ขณะที่โรงงานใกล้เคียงมีการใช้เสาเข็มเจาะหรือเสาเข็มตอกจำนวนมาก กับโครงสร้างต่างๆที่มีขนาดเล็กกว่า)
ความห่วงใยกังวลนี้ มาจากวิศวกรโยธาหลายท่านที่ก่อสร้างโรงงานให้กับ ปตท. ที่พบว่า หลายโครงการนั้นไม่มีการตอกเสาเข็มและมีการทรุดจำนวนมาก ขณะติดตั้งโครงเหล็ก-ท่อ-เครื่องจักร ต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบ และกังวลว่าถ้าเปิดใช้โรงงานแล้ว จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาอีกเพราะเป็นโรงงานก๊าซและสารเคมีอันตราย บางโครงการของ ปตท. ที่สามารถแนะนำทัดทานได้ มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบจนมีการใช้เสาเข็มจำนวนมาก และ วิศวกรโยธา 3-4 ท่าน ซึ่งเดิมจะมาร่วมเป็น คณะตรวจสอบ-ติดตาม เพื่อแก้ไข เพิ่มความแข็งแรงด้วย ซึ่งขณะนี้ยังคงทำงานอยู่ใน พื้นที่ มาบตาพุด
ความร่วมมือกับองค์กรประชาสังคมอื่น และการร่วมสัมมนา รวมทั้งการส่งข้อมูลข่าวสาร
· เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก – คุณสุทธิ อัชฌาสัย
· สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ – คุณสมบุญ สีคำดอกแคม
· กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - คุณธารา บัวคำศรี
· งานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม – คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง
· กลุ่มรักท้องถิ่นปลวกแดง
· กลุ่มถังตรวจอากาศ
· การร่วมสัมมนา กับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมและกลุ่มศึกษาฯ ต่างๆ
เวบไซด์-เวบบล็อก ของกลุ่มพิทักษ์อากาศ
www.airfresh-society.co.cc เวบไซด์ ปี 2552 ประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ
http://www.boonchoo.org/airfresh/indexo.htm เวบไซด์ ปี 2548 คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
www.oknation.net/blog/airfresh-society เวบบล็อก เครือข่ายเนชั่น
http://airfresh-society.blogspot.com/ เวบบล็อก เครือข่ายกูเกิ้ล
http://khonmaptaphut.blogspot.com/ เวบบล็อก คนมาบตาพุด
การจดทะเบียน - ส่วนสนับสนุน
· เป็นกลุ่มผู้ที่รัก-สนใจสิ่งแวดล้อม ท้วงติง นำเสนอ เพื่อให้มีการแก้ไข ไม่ได้จดทะเบียนกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
· ไม่ได้เป็นนิติบุคคลเพื่อทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน ซึ่งไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะดังกล่าว และใช้จ่ายเท่าที่สามารถแบ่งจากที่มีใช้ แล้วทำแบบประหยัด
· ไม่ได้เข้าเป็น กรรมการสิ่งแวดล้อม หรือ กรรมการอื่นใดๆ ในโครงการก่อสร้างของโรงงานต่างๆ และการนิคมฯต่างๆ
· ไม่มีธุรกิจ ที่ทำร่วมกับโรงงานใดๆ ยกเว้นการทำงาน ในฐานะพนักงานบริษัทฯ (วิศวกรโยธา)
ประวัติและงานกิจกรรม ผู้จัดตั้งกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น
นายศรัลย์ ธนากรภักดี, จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่น 12
งานกิจกรรม
· ประธานชมรมศิลปะและการออกแบบ คณะวิศวฯ
· กลุ่มงานค่ายอาสา-อนุรักษ์-วรรณศิลป์ สโมสรนักศึกษา มช.
· กลุ่มรณรงค์คัดค้านการลดค่าเงินบาท (สมัย นายกเปรม)
· กลุ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานกิจกรรมหลังจากจบการศึกษา
· อภิปรายร่วม งานครบ 100 วัน คณะรัฐประหาร รสช.
· ประสานงานมวลชนเรียกร้องประชาธิปไตย 4-20 พฤษภาคม 2535
· จัดตั้ง กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น 5 พฤษภาคม 2544
· ร่วมงานสัมมนา ของเครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ประสบการณ์งานวิศวกรรมโยธาและงานบริหาร
· มีความชำนาญงานด้านคอมพิวเตอร์
· ออกแบบโปรแกรม Payroll / Cost Control
· งานออกแบบเวบไซด์ / สื่อสารสนเทศ - http://www.srun-blogs.co.cc
· งานประมูลงานทั่วไป / แผนงาน-รายรับ-รายจ่ายโครงการ
· งานจัดรูปแบบองค์กร และปรับปรุงงานบริหาร
· งานควบคุมโครงการ / งานเคลม -
· งานให้คำปรึกษา ปัญหาวิศวกรรม / บริหารวิธีการก่อสร้าง – www.project-control.co.cc
· การเพิ่มองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการบริหารโครงการ
คุณ กอร์ปศักดิ์ ตอบมาว่า พ้นความรับผิดชอบไปแล้ว แต่จะประสาน รมต. อุตสาหกรรม คนใหม่ให้
แบบนี้ครับ ... ความรับผิดชอบ!!!
สื่อประเทศไทย ... บอกเสียงเดียวกันหมด รอให้ไฟไหม้ระเบิดก่อน ตอนนี้ เป็นผีโม่แป้งให้ ปตท. อยู่ รอให้คนมาบตาพุด บาดเจ็บล้มตาย กันเยอะๆก่อน เพราะคนมาบตาพุดเอง ก้อไม่มีใครสนใจ โรงงานก๊าซจะรั่ว โรงงานจะระเบิด / ปตท. แถลงข่าวแล้วว่าออกแบบอย่างดี มีบริษัท เกาหลี มาก่อสร้าง บริษัทฝรั่ง มาควบคุมงาน แล้ว บริษัทใหญ่ อย่างอิตาเลี่ยนไทย มาทำฐานรากให้
รอเหตุสลด - แล้วรอฟังผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้ ออกมาให้ข่าว / งบเยียวยา เทียนไว้อาลัย คงมาแถวมาบตาพุด ตรืม แล้วจะมีประโยชน์อย่างไรครับ ท่านนายกอภิสิทธิ์ ที่รับรู้เรื่อง ทั้งทางอีเมล์ ทั้งเฟรชบุ๊ก หลายๆครั้ง คงยังดันทุรัง ให้คนมาบตาพุดเสี่ยงตายอยู่ เพื่อเศรษฐกิจชาติ ตลอด 25-30 ปี อายุการใช้งานโรงแยกก๊าซ ปตท. วันไหนก้อวันนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น