วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความเห็นของวิศวกรหลายท่าน ที่รับรู้เรื่อง การไม่ตอกเสาเข็มของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.

ก่อนและระหว่าง การทำรายงานกรณีศึกษา จนมีการร้องเรียน และฟ้องศาลปกครอง

ถังเก็บก๊าซ LPG ที่เห็นสูงกว่า 30 เมตร หรือประมาณตึก 8 ชั้น ความจุ 6000 ม3

(การระเบิดของถังเก็บก๊าซความดันสูง เรียกว่า BLEVE Explosion)

ระดับสูงสุดของโครงสร้างรับท่อ 21-26 ม หรืออาคารคอนกรีต 5-7 ชั้น

  • ความเห็นวิศวกรโยธาอายุงาน 20 ปี เท่าที่ผ่านมาการไม่ใช้ เสาเข็ม มี 2 โครงการใหม่ คือที่ Phenol กับโรงแยกก๊าซ สุดท้ายก้อมีปัญหาการทรุด อนาคตเอาแน่อะไรไม่ได้ งานที่ TOYO PTT Cracker ออกแบบใหม่ให้มีเสาเข็ม ตรงนั้นคุยกันรู้เรื่อง ถึงอย่างไรเราทำตามแบบตามสเปค ในฐานะ SUBCONTRACTOR การออกแบบเราไม่มีส่วน มีแต่ความเห็นที่ไม่มีข้อมูล ว่าควรจะต้องมีเสาเข็ม ในหลายๆโครงสร้าง เรารับผิดชอบได้ตรงที่ทำให้ดีที่สุด ส่วนอะไรจะเกิดเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายน่าจะรับรู้อยู่แล้ว เพราะมันตั้งอยู่บนความไม่แข็งแรง
ลงทุนสูงมากทรุดพังไม่ได้จริงๆหรือ? ... ยิ่งลงทุนมากยิ่งจะสร้างปัญหามาก ถ้ามีปัญหา

  • ความเห็นวิศวกรสนาม อายุงาน 5 ปี งานมีความเร่งรัดมาก บางจุดควบคุมได้ แต่บางจุดถูกเร่งรัดมาก จึงต้องทำผ่านๆไป แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าทรุดแน่จะมากหรือน้อยเท่านั้นและภาวนาไม่ให้มีปัญหา
  • ความเห็นของวิศวกร อายุงาน 7 ปี งานทุกอย่างที่ทำทำตามแบบ ตรวจสอบตลอด แต่เราไม่รู้ว่า ของที่จะติดตั้งเป็นอย่างไร เราไม่มีสมมุติฐาน เป็นส่วนงานแมคคานิค แต่ถ้าเกิดการทรุด คงจะมีปัญหากับส่วนงานท่อที่เชื่อมต่อกันบ้าง แต่ที่ทำก้อคิดถึงผลกระทบอยู่ตลอด
  • ความเห็นวิศวกรอายุงานมากกว่า 20 ปี ดูที่กำลังทำอยู่มันจะทรุดมากตรงที่ขุดลึก เพราะการเร่งรัดให้ถมดิน ถ้าบดอัดถูกต้องจะต้องใช้เวลา
  • วิศวกรด้านงานออกแบบ การออกแบบฐานรากไม่มีเสาเข็มในพื้นที่ ถมใหม่ จะมีปัญหา Consolidation Settlement และ Differential Settlement ของดินถมเอง และ Design Criteria ของดินถม ควรจะพิจารณาใช้เสาเข็มสำหรับโครงสร้างที่มีความต้องการเสถียรภาพ
  • เพื่อนวิศวกรโยธาสายน้ำ ขนาดแฟร้งท่อสึกกร่อน น้ำยังรั่ว ถ้าโครงสร้างทรุด ท่อที่ต่อกับท่อ ท่อที่ต่อกับส่วนอื่นๆ มันอยู่ไม่ได้ การรั่วควบคุมยากถ้ารั่วที่แฟร้ง
มีการรื้อซ่อมใหม่จำนวนมาก ระหว่างการติดตั้งท่อและเครื่องจักร

  • การออกแบบสามารถทำได้ บนฐานรากที่ไม่มีเข็ม แต่การทำงานต้องควบคุมให้ได้ตาม CRITERIA ของการออกแบบ เพราะดินไม่ใช่ Homogeneous Material การทดสอบดินต้องทำโดยเคร่งครัด แต่การทำงานที่เร่งรัด ยากที่จะควบคุม แต่งานของ ปตท. เท่าที่รู้น่าจะมี QA/QC อยู่แล้ว แต่ไม่เห็นด้วยถ้าโรงงานสารเคมีไม่มีเสาเข็ม ถ้าเป็นอาคารสำนักงานของ ปตท. เอง ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะการทรุดพัง ไม่ส่งผลอะไร นอกจากแตกร้าว
  • งานที่ DOW Chemical บางส่วนก็ไม่ได้ใช้เสาเข็มขึ้นอยู่กับ น้ำหนักที่ตกลงบนฐานราก แต่กรณี Pipe Rack มีเข็มนะ จากภาพที่เห็นไม่น่าเชื่อว่า คนออกแบบ จะกล้าออกแบบเสี่ยงขนาดนี้ เพราะระบบมีการสั่น
  • งานท่อ งานเครื่องจักร การหนีของ Alignment มีข้อกำหนดที่ยอมรับได้อยู่ แต่ รับที่ 0.5 มม. ถ้าเป็นเครื่องจักรพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Process โดยปกติ จะไม่ให้เกิดการทรุดเลย ถ้าทรุดของงาน Civil ถือเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะต้อง SHUTDOWN
ฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญของโรงงานก๊าซไวไฟที่ระเบิดได้ ทำกันง่ายๆแบบนี้

  • ถ้าโรงแยกก๊าซทั้งโรง ตอกเข็มเฉพาะ Stack มีข้อมูลควรแจ้งให้คนที่รับผิดชอบ เข้ามาตรวจสอบแล้ว เพราะถ้ามีการรั่ว จะเป็นเรื่องใหญ่ กระทบ โรงงานอื่นๆ กันไปหมด ทำแบบนี้กันได้อย่างไร ไม่น่าเชื่อ
  • ควรตรวจสอบดีไซน์ก่อน คนที่กระทบน่าจะเป็นผู้รับเหมา แบบซัมซุง อิตาเลี่ยน ปตท. ไม่น่าจะต้องรับผิดชอบอะไร
  • ถ้ารู้ว่า จะมีความเสียหายเกิดขึ้น ควรแจ้งทุกฝ่ายให้รับรู้ แต่แจ้งแล้ว จะโดนฟ้องกลับ หรือเปล่าว่าทำให้เค้าเสียหาย ต้องคิดให้รอบครอบ
  • ถ้าเป็น อาคารสำนักงาน ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม ไม่น่าจะมีปัญหา นี่โรงแยกก๊าซ ไม่มีเสาเข็ม ไม่น่าเชื่อว่าได้ข้อมูลมาถูกต้อง เพราะงาน ปตท. เป็นงานอินเตอร์
และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า...ความเห็นทั้งหมด เกิดขึ้นก่อน ที่วิศวกรโยธาหลายท่าน จะรู้ว่า ปตท. ใช้ค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดินสูงถึง 30 ตัน/ม2 และคาดว่าโครงสร้างหลายตัว ใช้ค่ารับน้ำหนักประลัย ที่ 90 ตัน/ม2 ในการออกแบบฐานราก ซึ่งข้อมูลนี้ถูกยืนยันชัดเจนจากรายงานการสำรวจดิน ของโครงการโรงแยกก๊าซที่ 6 ของ ปตท. ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการยืนยันจาก วิศวกรของผู้รับเหมาหลัก ว่า ใช้ค่ารับน้ำหนักของดิน ที่ 90 ตัน/ม2 ในการออกแบบมาแล้ว หลายคนเตือนว่า ถ้าไม่แน่ใจ อย่าอ้างอิง ข้อมูลดังกล่าวเพราะเป็นค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดิน ที่สูงมาก ซึ่งในพื้นที่มาบตาพุด ใช้ค่าเฉลี่ยที่ 10 ตัน/ม2 ในการออกแบบฐานรากตื้นเท่านั้น และใช้ประมาณ 15-20 ตัน/ม2 ในบางพื้นที่ ที่ตอกเสาเข็มไม่ลงจริงๆ เท่านั้น

2 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าวิศวกรมีความรู้และมีจรรยาบรรในวิชาชีพ ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิด สภาฯคงต้องมาดูว่า จะทำอย่างไรให้ วิศวกรไทย มีความรู้จริง และมีจรรยาบรรจริงให้ได้

    ตอบลบ
  2. คนที่ก่อสร้าง ฐานราก กับ คนที่เอาของมาติดตั้งบนฐานราก เป็นผู้รับเหมาคนละบริษัทกัน งานทุกจุดเร่งรัดไปหมด ทุกอย่างต้องรีบจบรีบเสร็จ ทุกอย่างมารู้ความจริง หลังจากเสร็จแล้ว วิศวกรหลายคนไม่เชื่อว่า ปตท. ใช้ค่ารับน้ำหนักของดินสูงมากมาออกแบบ เพื่อไม่ต้องตอกเสาเข็ม เพราะถ้าตอกหรือเจาะเสาเข็ม โครงการจะล่าช้าไปอีก 6-8 เดือน ขนาดไม่มีเสาเข็มยังต้องทำงานกันตลอด 24 ชม - นี่ละครับ ชีวิตวิศวกรไทย เรื่องนี้ส่งให้ วิศวกรรมสถานและผู้เกี่ยวข้อง มา 3 หนแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงหรอกจรรยาบรรณ รอให้มันทรุดพังระเบิดก่อน ทุกภาคส่วนจะออกมาแก้ตัวกันชุลมุน

    ตอบลบ