วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เล่าเรื่อง ... คนมาบตาพุด

มาบตาพุด ... พื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซ ที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มากที่สุดในประเทศไทย แต่พอมีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ในปี 2552 และมีการให้ระงับ 65 โครงการ เพื่อให้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ปัญหามาบตาพุด กลับกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่โรงงานจำนวนมากถูกระงับ จนอ้างว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและการลงทุน

คนมาบตาพุด ทำเวรกกรรมอะไรไว้ เมื่อชาติปางก่อนต้องมาอยู่รวมร่วมกัน ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายไม่มีสิทธิพิเศษอะไรเหนือประชาชนประเทศนี้ ใช้ไฟฟ้า ใช้น้ำมัน ใช้น้ำประปา จ่ายเท่ากันหรือแพงกว่า โรงงานกับสิทธิ์ในการทำงาน ลูกหลานคนมาบตาพุด ไม่มีสิทธิพิเศษอะไร ที่จะเข้าทำงานในโรงงานที่มีอยู่จำนวนมาก โรงงานอ้างกันว่า ลูกหลานคนมาบตาพุด เกรดไม่ถึง(สมองทึบ) ผู้หญิงท้องแท้งลูก / เด็กคลอดก่อนกำหนด คลอดออกมาบ้างพิการ-ปัญญาอ่อน ดื้องอแง / ผู้คนมากมายเป็นมะเร็ง / หลายคนเป็นภูมิแพ้ ... แล้ววันนี้ยังอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงสูงสุด จากการไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงงาน ที่ดำเนินการโดย บริษัท ที่น่าเชื่อถือที่สุด ในประเทศนี้ ... ปตท. โดยไม่มีผู้คนในประเทศนี้สนใจใส่ใจ อ้างจะกระทบกับเศรษฐกิจ รวมทั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้ และขณะนี้ยังไม่รู้ว่า มีมากกว่า 3 โครงการ มีมากเท่าไหร่ ที่ก่อสร้างไม่แข็งแรงแบบ โรงแยกก๊าซ ปตท. โรงผลิตสารฟีนอล ที่ก๊าซรั่วบ่อยๆ และเมื่อ 7 มิถุนายน 2553 ก๊าซคลอรีนรั่ว ก้อมาจากการทรุดพังของฐานรับถังคลอรีน / 12 กรกฎาคม 2553 น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากนั่นอีก

การระงับหรือหยุดโรงงานในมาบตาพุด มีปัญหาเศรษฐกิจ แต่โรงงานไม่เคยดูแลมลพิษแถมมักง่าย ปล่อยปละละเลย ให้ก๊าซรั่ว แอบปล่อยมลพิษ แอบทิ้งขยะและคิดแต่ว่า เอาเงิน เอาสิ่งของต่างๆ ฟาดหัว ให้ ...แจกลูกบอลดับเพลิง แจกถังเก็บน้ำเผื่อยามเกิดไฟไหม้แจกเครื่องกรองน้ำ เพื่อกรองโลหะหนักในน้ำประปา !!!


ภาพความเสี่ยง และสัญญาณของความน่าหวาดกลัว

ปตท. อ้างว่า มีการทดสอบดิน 5 จุด ได้ผลการรับน้ำหนักประลัยของดิน มากกว่า 90 ตัน/ม2 คือถ้ากดน้ำหนักลงไป ถึง 90 ตัน ดินจะทรุดตัว 1 นิ้ว โดยเอาค่านี้มาใช้ออกแบบฐานรากทั้งหมด ค่ารับน้ำหนักดินสูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีเสาเข็ม เพราะถ้าต้องตอกหรือเจาะเสาเข็ม โครงการจะต้องล่าช้าไปอีก 6-8 เดือนเป็นอย่างน้อย การทำงานจะยุ่งยากขึ้น แผนการผลิต ตั้งเป้าไว้ใน เดือน พฤษภาคม 2553 อาจจะกลายเป็นต้นปี 2554 แม้จะก่อสร้างกันแบบไม่แข็งแรง ถูกระงับโครงการ หลายภาคส่วนยังพยายามดันทุรัง ที่จะให้เปิดใช้งาน เพราะอ้างว่ามีโรงงานจำนวนมากรอใช้วัตถุดิบ ก๊าซแอลพีจี จะต้องนำเข้า ประชาชนต้องชดเชยราคาก๊าซผ่านกองทุนน้ำมัน สารพัดที่สุดจะอ้างกัน

ภาพน้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด เมื่อวันจันทร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2553


สภาพหน้าโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด บ่ายแก่ๆ วันจันทร์
ฝนตกหนัก พายุลมแรงน้ำท่วม จนรถจมน้ำ
ภาพนี้อยากให้ นายกอภิสิทธิ์ กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ได้ดู ก่อนสรุปประกาศโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
ได้ดูได้คิดก่อนตัดสินใจ อีกครั้ง
โรงงานที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากเป็นพื้นที่น้ำท่วนขัง
น้ำฝนไหลหลาก ดินชุ่มน้ำนานๆมันอ่อนตัว
ที่ก่อสร้างไว้ไม่แข็งแรง มันก้อจะทรุดจะพังได้ง่าย
ตรงนี้ไง ... ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society/2010/06/09/entry-1
น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53
โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด ในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม
เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!!
ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมา
คลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
ถ้าเกิดระเบิดลุกลามไปยังชุมชน-โรงงานอื่นๆ นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร
อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น