วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลความเสี่ยงที่ เจโทร ต้องรู้ ว่าปัญหามาบตาพุด ไม่ใช่แค่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลความเสี่ยงที่ เจโทร ต้องรู้ ว่าปัญหามาบตาพุด ไม่ใช่แค่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม

ช่วยนำเสนอต่อผู้บริหารเจโทรในประเทศไทยด้วยครับ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมขอความกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย / ชาวมาบตาพุด ไม่ได้ต่อต้านโรงงาน แต่การมาแล้ว เพิ่มความเสี่ยง แบบข้อมูลด้านล่าง ไม่ต้อนรับ เพราะมีความเสี่ยงเดิม จากปัญหาโรงงานเก่า และความผิดพลาดต่างๆในการดำเนินการ ถ้ามาสร้างแบบเสี่ยงๆ ไม่ตอกเสาเข็ม โรงงานไม่แข็งแรง เร่งเสร็จเร็วเพื่อเร่งผลิต ไปประเทศไหน ใครเค้าก้อไม่ต้อนรับ

ขอบคุณครับ
คนมาบตาพุด

ดูเพิ่มเติมได้ที่

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ)
ชั้น 16 อาคารนันทวัน
161 ถนนราชดำริ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์ (Tel): (662) 253-6441-5, 253-6447, 253-2021-3
โทรสาร (Fax): (662) 253-2020
อีเมล์(E-mail Address):
bgk-pr@jetro.go.jp

ศูนย์ส่งเสริมธุรกิจในประเทศไทยของเจโทร
ห้องสมุดธุรกิจของเจโทร กรุงเทพฯ

ชั้น 1 อาคารนันทวัน
161 ถนนราชดำริ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
โทรศัพท์ (Tel): (662) 651-8680, 254-5914-5
โทรสาร (Fax): (662) 651-8684
อีเมล์(E-mail Address):
bgk-bsct@jetro.go.jp


เรื่องที่ นายก อภิสิทธิ์ รู้แล้วมานานกว่า 6 เดือน

- คลิ๊กขวาที่รูปเปิดในหน้าต่างใหม่เพื่อขยายใหญ่ -


รูปนี้ เคยแจ้งให้ นายกอภิสิทธ์ รับรู้ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 2553
แจ้งให้ อดีต นายก อานันท์ ปันยารชุน มาตั้งแต่ 2 เมษายน 2553
(ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
แจ้งให้ คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
แจ้งให้ นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552
แจ้งไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้ง ไปยัง นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ศาลปกครอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553
ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง
แล้วภาพนี้ ควรจะแจ้งใครต่อ ...
ทั้งที่จริงๆ แล้ว ควรแจ้ง ชาวมาบตาพุด ไปตั้งนานแล้ว
กลัวแต่ว่า จะนอนผวาทุกครั้งที่มีเสียงรถหวอ เสียงดังตูมตาม
ท่ามกลางฝนตกหนักๆ แบบคืนนี้ 8 มิถุนายน 2553
หรือคนอยู่ที่อื่นๆ ของประเทศนี้ คิดกันอย่างไร!!!!
หรือ สุดแล้วแต่เวรแต่กรรม ... ของคนมาบตาพุด

ในช่วงเวลา 4-5 ปี มีปัญหาการเมืองเรื่องอดีตนายกทักษิณ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด หมกเม็ดก่อสร้างโดยปราศจากความมั่นคงแข็งแรง เพราะโรงงานจะเสร็จช้าไปอีก 6-8 เดือน จึงละเลยที่ไม่ตอกเสาเข็ม หอต้มหอกลั่นหอความดัน สูงมากกว่าตึก 10 ชั้น ทั้งๆที่ควรจะทำให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะโรงงานเกิดระเบิดได้ การระเบิดอาจลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมีที่มีจำนวนมาก ประมาณว่ามีรถก๊าซจอดรวมกันอยู่ 4,500 คัน ถ้ามีรถคันหนึ่งคว่ำ อยู่ใกล้ๆ กัน มันจะน่าสยดสยองขนาดไหน คนในที่อื่นๆ คงไม่รู้สึกเหมือนคนแถวมาบตาพุด เพราะมันอยู่ห่างจากตลาดแค่ 1-2 กิโลเมตร เท่านั้นเอง
โรงงานมีปัญหา-กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ
ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝน การที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จะทำให้ดินชุ่มไปด้วยน้ำและลดการรับแรง รับน้ำหนักต่างๆ ประกอบกับการมีพายุลมแรง อาจจะทำให้เกิดการล้มพังของโครงสร้างที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มได้ เช่นดังต้นไม้ใหญ่แม้มีรากหยั่งลึกเสมือนเสาเข็มที่ยึดโยงแล้วนั้น ยังล้มยกทั้งรากทั้งดินขึ้นมาเพราะเจอพายุฝนลมแรง ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลขวัญแขวนในส่วนผู้ที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องนี้แล้วจำนวนมาก ช่วงมีฝนตกหนักและมีพายุลมแรง

- เรื่องราวนี้ ส่งกับมือ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 ม.ค. 53 ส่งทางอีเมล์ ถึง รมต. 2 ท่าน และท่านเลขา ปณิธาน พักเรื่องม๊อบทักษิณ จบเรื่องรัฐบาลตกแตก รอฝนตกลงมา อีก 1-2 เดือน คงมีเรื่องใหญ่ๆ ให้ตามเยียวยาอีกแน่ๆ ที่มาบตาพุด (รู้ว่าไฟจะไหม้จะมีการเผา รู้ล่วงหน้าเป็นเดือน แล้วทำไม มันจึงวอดวายทั้งกลางกรุงและศาลากลางต่างจังหวัด)

ภาพอธิบายซ้ำ ว่าดินรับน้ำหนักได้ 30 ตัน/ม2 คืออะไร

คลิ๊กขวาที่รูป-เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่

โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!

โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!

โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!


โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
มันเคยทรุดพัง เคยระเบิด แม้ว่าจะลงทุนสูงเพียงใด
เข้าใจครับ ... คนไทย พื้นที่อื่นๆ ต้องการให้คนมาบตาพุด อยู่ในความเสี่ยง เพียงเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ วันนี้ ทุกส่วนทุกฝ่ายมองปัญหามาบตาพุด คือการระงับโครงการ โรงงานเดินหน้าไม่ได้ ต้องทำให้ถูกต้อง ตาม กม. หรือถ้ายกโรงงานเสี่ยงทั้งหมด ไปอยู่ ใน กทม. ผู้คนกรุงเทพฯ จะคิดเห็นกันอย่างไร
คงต้องตีอกชกหัวรับกันไม่ได้ อย่าเห็นแก่ตัวสิครับ
คนมาบตาพุดก้อคนไทย
หรือคนที่มีความรู้ความคิดของประเทศนี้เห็นแก่ตัวกันไปหมดแล้ว!!!

ตรงนี้ไง ... ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร คิดกันได้เอง


น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53
โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด ในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม
เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!!
ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมาอาจไฟไหม้ระเบิด
มีคลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง

โรงแยกก๊าซ ปตท. กับความเสี่ยงของคนมาบตาพุด

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!


ภาพความเสี่ยง และสัญญาณของความน่าหวาดกลัว

ปตท. อ้างว่า มีการทดสอบดิน 5 จุด ได้ผลการรับน้ำหนักประลัยของดิน มากกว่า 90 ตัน/ม2 คือถ้ากดน้ำหนักลงไป ถึง 90 ตัน ดินจะทรุดตัว 1 นิ้ว โดยเอาค่านี้มาใช้ออกแบบฐานรากทั้งหมด ค่ารับน้ำหนักดินสูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีเสาเข็ม เพราะถ้าต้องตอกหรือเจาะเสาเข็ม โครงการจะต้องล่าช้าไปอีก 6-8 เดือนเป็นอย่างน้อย การทำงานจะยุ่งยากขึ้น แผนการผลิต ตั้งเป้าไว้ใน เดือน พฤษภาคม 2553 อาจจะกลายเป็นต้นปี 2554 แม้จะก่อสร้างกันแบบไม่แข็งแรง ถูกระงับโครงการ หลายภาคส่วนยังพยายามดันทุรัง ที่จะให้เปิดใช้งาน เพราะอ้างว่ามีโรงงานจำนวนมากรอใช้วัตถุดิบ ก๊าซแอลพีจี จะต้องนำเข้า ประชาชนต้องชดเชยราคาก๊าซผ่านกองทุนน้ำมัน สารพัดที่สุดจะอ้างกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น