กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น - [ 18 ก.ค. 48, 23:35 น. ]
ข่าวคราวเรื่องปัญหาน้ำในภาคตะวันออก ที่เป็นข่าวใหญ่โตว่า จะเกิดปัญหาใหญ่ ขนาดสูญเสียรายได้ในการส่งออก ประมาณ 3.6 แสนล้าน โรงงานจะต้องปิด ซ่อมบำรุงก่อนกำหนด เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในขบวนการผลิตและชะล้าง รวมทั้งการไม่มีน้ำจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าหลายโรงด้วย กรณีนี้น่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับปีถัดๆไปในการบริหารทรัพยากรน้ำและคงเป็นการดีที่หลายๆฝ่ายจะต้องเริ่มหันมามองการถึงการแบ่งปันทรัพยากร (มิได้เอาแต่แย่งกันกินกันใช้เหมือนปกติชาวบ้าน ใครจำเป็นต้องใช้มากก้อดูดจนเกลี้ยงสาย ทำให้หลายบ้านเดือดร้อน) การจัดแผนงานการซ่อมบำรุงประจำปีควรจัดช่วงที่เหมาะสมกับการแบ่งปันทรัพยากร ในปีนี้มีข้อเสียตรงที่มีการปกปิดข้อมูล และการแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ ในเดือนเม.ย.48โดยผู้ว่าการนิคมฯเอง ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมต่างๆ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกด้วย (นสพ. ไทยรัฐ 14 เม.ย. 48) ทางอีสวอเตอร์ออกมาให้ข่าวตอกย้ำในอีก 5 วันถัดมาว่า จะไม่มีปัญหาเพราะมีการจัดการแล้ว อีกทั้งจะมีโครงการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงอีกด้วย (นสพ. ข่าวสด 19 เม.ย. 48) ซึ่งร่วมกันออกมาให้ข่าว หลังจากที่ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด ระยอง เขียนจดหมายถึงผู้จัดการโรงไฟฟ้าให้แก้ปัญหาเรื่องการใช้น้ำประปาและน้ำดิบ วันที่ 13 มี.ค.48 และสำเนาให้ทุกฝ่ายที่ควรรับผิดชอบรู้ โดยสำเนาให้กับนายกรัฐมนตรี ผ่านเวบไซด์ระฆังดอทคอม ส่งทั้งทางเมล์และทางไปรษณีย์ ให้กับ รมต.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้ว่าการนิคมแห่งประเทศไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (เป็นผู้ว่าซีอีโอด้วยหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่ว่าจะเป็นซีอีโอได้จริงหรือไม่ในพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายเฉพาะ) ดูเหมือนว่า จะมีหน่วยงานของนายกรัฐมนตรี ตอบโดยสำนักนายกฯ ซึ่งติดตามปัญหาเรื่องนี้ ตอบมาวันที่ 19 เม.ย.48 และให้คำตอบที่ไม่ตรงคำถามแต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่มีการเข้ามาสนใจปัญหา แต่การที่ตอบคำถามไม่ตรงประเด็นเลยยังคงเป็นเรื่องข้อสงสัยต่อไปอีกกับปัญหาที่จะเกิดในอนาคตอีก 25-30 ปี ข้างหน้า
ที่ประชุมชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด 13 มีนาคม 48 เรียน ผู้จัดการโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ที่นับถือ ตามที่ได้ทราบข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แ ก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP นั้น พบว่า ในระยะเวลาดำเนินการ ทางโรงไฟฟ้าจะใช้น้ำประปาสูงถึง 4,500 ลบ.ม ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการใช้น้ำของชุมชน ประมาณ 6,000-7,000 ครัวเรือน ต่อวัน ข้อเสนอแนะ จึงเรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ ก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ และสร้างผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้ช่วยชี้แจงมาตรการที่จะแ ก้ไข ให้ชุมชนทราบต่อไปด้วย
ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด |
ตามที่ท่านได้ส่งเรื่องผ่านทางระฆังห่วงใย...จากใจนายกรัฐมนตรี (www.rakang.thaigov.go.th) เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้น้ำประปาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP จ.ระยอง ความแจ้งอยู่แล้วนั้นบัดนี้ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2548 ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานประปาบ้านฉาง มีจำนวนผู้ใช้น้ำทั้งเขต อ.บ้านฉาง และ ต.มาบตาพุด อยู่ประมาณ =12,800 ราย ใช้น้ำอยู่ประมาณวันละ 18,000 - 20,000 ลบม.ซึ่งเพียงพอที่ สำนักงานประปาบ้านฉาง จะจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้น้ำโดยไม่รวมกับของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP. และหากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ไม่เกินระยะ 2-3 เดือนนี้ คือหากปัญหาภัยแล้งไม่เกิดยาวนานจนเลยเดือน มิ.ย.2548ก็คงไม่กระทบกับการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งมาผลิตเป็นน้ำประปาจ่ายให้กับผู้ใช้น้ำประปาอย่างแน่นอน จึงเรียนมาเพื่อทราบ (รหัสเรื่อง480357146)
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล |
จากเรื่องราวด้านบนพบว่าทุกฝ่ายออกมาประกาศว่าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ไม่มีคำตอบจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รมต. ทรัพยากร หรือจะตกข่าวตรงนี้เพราะประกาศไม่กว้างขวางหรือขาดการจัดการสื่อ อันนี้ไม่ชัดเจน
ข้อมูลวันนี้สถานการณ์น้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย-หนองปลาไหล มีใครพอจะทราบบ้างรึเปล่าว่าตอนนี้ ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆในแถบเมืองระยองอยู่ในระดับต่ำมาก? ปัจจุบันพวกเรากำลังอยู่ในวิกฤตภัยแล้งระดับ 4-5 จากภาวะฝนทิ้งช่วงถึงเดือนสิงหาคม 2548 หรืออาจจะทำให้นิคมมาบตาพุดต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน กนอ.จะขอให้มีการลดใช้น้ำ 10% และจะประกาศภาวะวิกฤตระดับ 5 ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2548 ปัจจุบันทุกโรงงานในนิคมมาบตาพุดต้องลดปริมาณการใช้น้ำ 10 % ถ้าปริมาณน้ำยังคงลดลง ต้นเดือนจะเข้าวิกฤติระดับ 5 และถ้าโรงงานปิโตรเคมีในนิคมจำเป็นต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน ตัวเลขประมาณการการสูญเสียรายได้โดยตรงเนื่องจากการหยุดการผลิตสูงถึงหลักพันล้านบาท จำเป็นต้องนำเข้าวัตุดิบจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าในหลักพันล้านบาทเช่นกัน ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการสูญเสียรายได้ทางอ้อม เช่นจากกลุ่มผู้รับเหมา ฯลฯ เป็นต้น แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นข้อมูล |
ขณะนี้ดูเหมือนทุกฝ่ายที่ตอบคำถามไว้กำลังกลับลำ หันออกมาประโคมข่าวดังๆ ว่าจะสูญเสียรายได้ถึง 3.6 แสนล้าน กนอ.จะมีมาตรการให้ลดการใช้น้ำ มีการประชุมเพราะให้ปิดซ่อมบำรุงก่อนกำหนดสำหรับโรงงานที่ไม่ได้ผลิตเพื่อบริการต่อกลุ่มโรงงานอื่นที่ไม่มีปัญหาน้ำแต่ยังต้องเปิดดำเนินการอยู่ เพราะถึงอย่างไรโรงไฟฟ้า 3-4โรงในนิคมต่างๆจำเป็นคงยังต้องเปิดดำเนินการต่อไป และยังจะมีการอนุญาติพิเศษสำหรับการดูดน้ำบาดาลขึ้นใช้อีกในอนาคต(ตรงนี้อันตรายมากเลย ควรไตร่ตรองถึงผลเสียในอนาคต รวมถึงการควบคุมไม่ได้ดี แม้ว่าจะมีการแอบลักลอบทำอยู่ในหลายๆที่ในขณะนี้ ทั้งนี้ถ้ากรณีนี้เป็นการสมยอมจากภาครัฐด้วย อาจจะส่งผลเสียใหญ่หลวง ดินทรุด ดินถล่ม อันนี้ต้องระวังมาก) การจัดให้แต่ละโรงงานจัดทำระบบรีไซเคิลน้ำ อันนี้ควรต้องทำอย่างรีบด่วนมาก เพราะมีประโยชน์ในเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีระบบ และคุ้มค่า ไม่ได้สักแต่ว่ามีเงินซื้อมีเงินใช้จะใช้อะไรแบบฟุ่มเฟือยอย่างไรก้อได้ เพราะโรงงานสร้างปัญหาก่อมลพิษในสภาวะแวดล้อมแล้ว ยังมาเบียดบังน้ำที่จะต้องมีผู้ใช้อื่นด้วย ทั้งภาคการบริโภคของประชาชนและการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคหลักในการสร้างอ่างเก็บน้ำ จากนโยบายเดิม ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งหมด ควรอยู่ในภาคเกษตรกรรม-ชลประทาน แต่การโอนย้ายให้อีสวอเตอร์เป็นเจ้าภาพในจัดการน้ำโดยภาคเอกชน ตรงนี้มันแปลกมานาน แต่ในเมื่อภาคเกษตรกรรมได้เงินน้อยจากภาคการส่งออก ไม่แปลกอะไรที่จะโอนทรัพยากรในส่วนนี้มาให้ภาคอุตสาหกรรมจัดการแทน และสุดท้ายต้นทุนน้ำอาจพุ่งสูงถึง ลบ.ม ละ 20บาทหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความฟุ่มเฟือยของภาคอุตสาหกรรม แต่ในที่สุดประชาชนและภาคเกษตรกรรมเดือดร้อนไปด้วย (คงต้องรวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวด้วย) รัฐบาลบอกประชาชนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งที่ ในส่วนภาคประชาชนมีสัดส่วนการใช้พลังนานน้อยมากถ้าเทียบจากสัดส่วนของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ความเป็นจริงคือรัฐสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อโรงงานต่างหาก เลิกบิดเบือนความเป็นจริงในข้อนี้ กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างเสร็จจะมีการขยายโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกอย่างกว้างขวาง มีการขยายเฟสของโครงการท่าเรือมาบตาพุด มีการประกาศขยายเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะขึ้นเลาะชายฝั่งทะเลไปทางด้านซ้ายและขวาของโครงการท่าเรือมาบตาพุดเดิม และตรงนี้จะเป็นมือใครยาวสาวได้สาวเอาสำหรับการใช้พื้นที่ชายฝั่ง(ตรงนี้ลองสอบถามกรมเจ้าท่าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และตรงนี้จะเกิดอะไร โครงการอาจจะยาวไปถึงท่าเรือสัตหีบฯ เท็จจริงแค่ไหนคงต้องติดตามกันต่อไป ว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง)
ข่าวเรื่องการขาดแคลนน้ำ ประกาศออกมาในจังหวะเวลาที่รัฐบาลกำลังหาโครงการมาใช้เงิน 1.7 ล้านล้านบาทด้วย การออกมาให้ข่าวอย่างมีระบบนี้มีนัยว่าจะต้องมีโครงการในการพัฒนา-จัดการทรัพยากรน้ำร่วมด้วย แต่การออกมาให้ข่าวลักษณะนี้ทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย แต่แนวโน้มที่ไม่ดีกลับมีผลดีกับสิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อม มากที่สุด เพราะ…การมาของโรงงานจะน้อยลงเพราะบริเวณภาคตะวันออกของไทยไม่มีน้ำใช้ นักลงทุนคงไม่อยากมาเสี่ยง อีกทั้งต้นทุนของน้ำสูง นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในจีนดีกว่าต้นทุนค่าแรง-ทรัพยากรถูกกว่า แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าบ้างแต่ขณะนี้จีนหันมาสร้างโรงไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อเตรียมให้ภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเข้าไปลงทุน (ทำลายบรรยากาศการลงทุนไปแล้วย่อยยับ ตรงนี้เล่นอะไรอยู่)
ผลดีต่อภาคประชาชนคือ การมาของโรงงานจะน้อยลง มลพิษน้อยลง แต่ตรงนี้จะเป็นความต้องการของชาวระยองหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน เพราะคนระยองไม่ได้สนใจเรื่องการมาของโรงงาน แต่ถ้าไม่มีโรงงานมาสร้างคนระยองอาจขาดรายได้จำนวนมหาศาลด้วยก้อได้ เอาเป็นว่ามีผลดีต่อสภาพอากาศที่นับวันจะเลวร้าย เพราะแม้กระทั่ง คณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าใหม่ ยังต้องไปหาที่พักที่ห่างไกล เพราะไม่อยากเจอมลพิษ กำลังเลือกทำเลว่าจะเป็นสัตหีบหรือบ้านฉาง แต่บ้านฉางสุดท้ายแล้วจะไม่ต่างอะไรกับมาบตาพุด ใน 3-5 ปีข้างหน้า ทำไมไม่อยู่เผชิญปัญหาแบบศูนย์ราชการที่ย้ายมาอยู่แถวมาบตาพุด(เพราะแถวนี้มีเม็ดเงินใหญ่หรือต้องการมาร่วมกำกับดูแล ตรงนี้ไม่ชัดเจน)
จากที่กล่าวมา พอสรุปได้ว่า โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ควรจะต้องเตรียมจัดหาแหล่งเก็บน้ำ-การผลิตน้ำใช้เอง รวมทั้งขบวนการรีไซเคิลในส่วนขบวนการชะล้าง ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้ามีสัดส่วนในการใช้ทรัพยากรน้ำลดลงได้ จากวันละ 4,500 คิวเหลือวันละ 2,000คิว และจะไม่ทำให้เกิดเดือดร้อนทุกภาคส่วนในอนาคต งานส่วนตรงนี้ยังไม่รู้ว่า หน่วยงานไหนจะสั่งการให้โรงไฟฟ้าดำเนินการได้ เพราะเป็นพันธกิจของรัฐที่ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้นักลงทุน (ไฟฟ้า-น้ำ-ถนน-ท่าเรือและการลดภาษี) แต่ทางโรงไฟฟ้าเองควรตระหนักถึงวิกฤตในอนาคต รวมทั้งในส่วนผู้ลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาซื้อโรงไฟฟ้าหลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย มูลค่าส่วนต่างกำไรจะลดลงเพราะปัญหาน้ำกำลังเป็น Dead Lock ในส่วนของขบวนการผลิต
หวังอย่างยิ่งว่าแต่ละส่วนที่รับผิดชอบจะหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาให้กับอนาคต กับทุกภาคส่วนด้วย
ข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP
ภาพถ่ายทางอากาศโรงไฟฟ้าถ่านหิน บีแอลซีพี
ซึ่งมีพื้นที่ส่วนขยาย ซึ่งสามารถทำแหล่งน้ำสำรองและระบบรีไซเคิลน้ำได้้้
ข้อมูลจากการสัมนากลุ่มย่อย
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง
18 มิ.ย. 2548
สรุปสุดท้ายว่า โรงงานก้อแก้ปัญหาโดยการสร้างอ่างตรงพื้นที่ที่เคยแนะนำ
สุดท้ายชาวบ้านไม่เดือดร้อน โรงงานเองก้อได้ประโยชน์
ผู้ร้องเรียนไม่ต้องมีปัญหาการใช้น้ำ
ชอบครับ นิทานเรื่องนี้
ตอบลบในชีวิตจริง คงฆ่ายักษ์ยากมาก
แต่ถ้ายักษ์ยอมกลับใจ ตรวจสอบความจริงว่าโครงการนี้เสี่ยงจริงไหม
และป้องกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ทุกฝ่ายก็จะได้ประโยชน์
ทั้งโรงงานทั้งนิคมอุตฯมาบตาพุด / ประชาชนคนมาบตาพุด / ประเทศไทย
ก็จะเป็น Win / Win / Win ดีนะครับ
คงต้องรอดูความจริงใจ จากหลายส่วนหลายฝ่าย ที่วันนี้นิ่งเงียบกันหมด ภัยสาธารณะ ไม่ใช่ปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านต้องเจ็บตายก่อน จึงคิดจะแก้ไข เกิดปัญหารุนแรงควบคุมไม่ได้ หายนะกระทบประเทศชาติ ...
ลบ