วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เบี้ยเสี่ยงภัย สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยพิเศษ

นอกจากการประกาศให้พื้นที่มาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษ แล้ว รัฐบาลควรประกาศ ให้พื้นที่มาบตาพุด เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยพิเศษด้วย เพราะนอกจากจะเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งจากอาหาร-น้ำและอากาศ รวมทั้งโรคภัยต่างๆ จากมลพิษ การที่เด็กต้องคลอดก่อนกำหนด การที่ผู้หญิงท้องแท้งลูก การรับกลิ่นรุนแรงไม่พึงประสงค์ - ถึงเวลานี้ พบว่ามีอันตรายใหญ่หลวงกับชีวิต-ทรัพย์สินอีก ซึ่งถามว่า มันจะเกิดตอนไหน ไม่มีใครบอกได้หรอก แต่ถ้าถามเสี่ยงมากมั้ย ตอบได้เลยว่าเสี่ยงมาก กับการอยู่ใกล้ คลังก๊าซ ขนาดรถก๊าซ 4,200 คัน ที่โรงแยกก๊าซที่ประกบอยู่ ไม่ตอกเสาเข็ม เพราะแม้มันไม่พังครืนลงมา แค่ทรุดเล็กน้อย 2-3 นิ้ว ของโครงสร้างสำคัญ ก๊าซมันรั่วไหลแบบควบคุมไม่ได้ ปิดไม่ได้ ถ้ามันดันไปมีปัญหา ที่วาล์ว สำหรับเปิดปิดด้วย ในเมื่อความเสี่ยงเกิดขึ้นในทุกโครงสร้าง เพราะฐานรากไม่แข็งแรง แม้จะบอกว่าดินแข็งแรง แต่น้ำเพิ่งท่วม โรงแยกก๊าซที่อ้างว่าดินแข็งแรงที่สุด อ้างว่า บริษัทต่างชาติมาดูแลมาก่อสร้างให้ มันทดแทนอะไรไม่ได้ เวลาเกิดปัญหา ขนาดอเมริกา เจอปัญหาน้ำมันรั่วไหล ยังปิดกันไม่ได้ หลายเดือน สร้างความหายนะแก่สภาวะแวดล้อม-สิ่งมีชีวิตต่างๆ จำนวนมาก และสร้างความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยและตื่นกลัวไปทั่วโลก คนสมุยไม่เอาบ่อเจาะน้ำมันกลางทะเล คนออกมาประท้วงกันเป็นเรือนแสน แต่วันนี้ คนมาบตาพุด อยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ของโรงแยกก๊าซ และคลังก๊าซแอลพีจี จำนวนมหาศาล ถ้ามันทรุดพังระเบิด โรงงานต่างๆ ในมาบตาพุด จะต้องได้รับผลด้วย ถ้าระเบิดต่อเนื่องกัน ลำพัง การระเบิดของคลังก๊าซแอลพีจี มันหนักหนาสาหัสแล้ว แต่ถ้าก๊าซอันตรายต่างๆ ของโรงงานอื่นๆ ระเบิดรั่วไหลออกมาจำนวนมากล่ะ ตอนนี้เลยต้องบังคับ ให้ภาครัฐประกาศให้มาบตาพุด เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยพิเศษด้วย



ข้าราชการ-พนักงาน-คนงาน ต้องได้รับเบี้ยเสี่ยงภัย - ใครอยู่กันบ้างแถวนี้
สำนักงานเทศบาล - ศูนย์ราชการ - ศาลปกครอง - โรงเรียน 16-17 แห่ง แล้วมี 6-7 ธนาคาร
อันนี้ยังไม่รวมพนักงานบริษัท-โรงงานอีกจำนวนมาก
วัดวาอาราม ศาลเจ้า มัสยิด ชุมชน 31 ชุมชน หมู่บ้าน อย่างน้อย 50 หมู่บ้าน
แล้วชาวบ้านล่ะ ใครจะให้เบี้ยเสี่ยงภัย !!! คนอยู่กันในมาบตาพุด หลักแสนคน ไม่ใช่ 4-5 หมื่นตามสำเนาทะเบียนบ้าน

ข่าวเรื่องเบี้ยเสี่ยงภัย - ชายแดน - 3 จว.ภาคใต้ ตรงนั้นตายกันที่ละคน ที่ละไม่มาก แต่แบบมาบตาพุด ถ้าตายคงหลักพันหลักหมื่น

นายศุภชัย ภู่งาม ประธานศาลฎีกา กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศาลยุติธรรมทั่วประเทศด้วยระบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ว่า มีความห่วงใยผู้พิพากษาและข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายศุภชัย ภู่งาม ประธานศาลฎีกา กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศาลยุติธรรมทั่วประเทศด้วยระบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ว่า มีความห่วงใยผู้พิพากษาและข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากต้องทำงานภายใต้ความกดดัน คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม จึงอนุมัติเงินพิเศษเป็นเบี้ยเสี่ยงภัยให้แก่ข้าราชการคนละ 2,500 บาท และเงินงบประมาณให้ศาลจังหวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ศาลละ 1 ล้านบาท เพื่อจัดทำประกันชีวิตให้แก่ข้าราชการในวงเงินประกันคนละ 500,000 บาท พร้อมจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยเพิ่มอีก 41 คน และอนุมัติจัดซื้อรถกันกระสุน 7 คันไว้ใช้งานในพื้นที่ - เอกสารข่าวกรมประชาสัมพันธ์ : ประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2547

รมว.ศธ.กล่าวว่า เดิมได้เบี้ยเสี่ยงภัยคนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่ ครม.ได้อนุมัติงบกลางให้เพิ่มอีกคนละ ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน รวมเป็น ๒,๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน โดยที่ประชุม ครม.ได้ให้ความเห็นชอบสำหรับเจ้าหน้าที่สังกัด สพฐ. จำนวน ๒๑,๖๐๓ ราย เป็นเงิน ๓๘๘,๘๕๔,๐๐๐ บาท เจ้าหน้าที่สังกัด กศน. จำนวน ๙๒๐ ราย เป็นเงิน ๑๔,๒๙๒,๐๐๐ บาท และสังกัดอาชีวศึกษาจำนวน ๑๙๓ ราย เป็นเงิน ๕,๗๘๙,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๒๒,๗๑๖ ราย เป็นเงิน ๔๐๘,๙๓๕,๐๐๐ บาท โดยจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ๔ อำเภอ

"ชินภัทร"เล็งฟื้นเบี้ยเสี่ยงภัยครูควบคู่เบี้ยกันดาร

เพื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดของการให้เบี้ยเสี่ยงภัยและเบี้ยกันดาร เพื่อช่วยเหลือเพื่อนครูให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งความยากลำบากของครูจะแตกต่างกันออกไป โดยครูที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะเป็นความเสี่ยงภัยจากอันตราย แต่ครูที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเดินทางมาสอนลำบากก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ดังนั้นหาก สพฐ.ได้ดำเนินการจัดการเรื่องเหล่านี้และหารือกับสำนักงบประมาณอย่างเป็นระบบ ก็จะส่งผลให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ครูอย่างแน่นอน

เราไม่ได้เทงบประมาณให้ครูทุกคน แต่จะดูจากความเสี่ยงภัยและความยากลำบากในแต่ละพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการพิจารณาเรื่องการให้เบี้ยกันดารมาแล้ว แต่ภายหลังก็หยุดการทบทวนและงดเว้นไป ผมจะไปค้นหาข้อมูลรายละเอียดอีกครั้ง พร้อมทำฐานข้อมูลด้วยว่าพื้นที่ที่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ความยากลำบากและเสี่ยงภัยจะใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้างเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยเสี่ยงภัยนั้นครูได้รับคนละ 2,500 บาทต่อเดือน ส่วนเบี้ยกันดารนั้นครูได้รับไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท

นายพิษณุ ตุลสุข ผอ.สพร. กล่าวว่า เบี้ยกันดารตามระเบียบของกระทรวงการคลังกำหนดว่า จัดสรรให้ 10% ของเงินเดือนแต่ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท มีเงื่อนไขว่าข้าราชการครูจะต้องอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ถนนลูกรัง รถไฟไปไม่ถึง เดินทางโดยรถยนต์ไม่ได้ เช่นครูในพื้นที่แถบอ.อุ้งผาง อ.พบพระ ที่จ.แม่ฮ่องสอน

"โรงเรียนของ สพฐ. ในหลายพื้นที่น่าจะเข้าข่ายความทุรกันดาร เพราะครูต้องเดินทางตามเส้นทางภูเขาต้องแวะนอนในป่าก่อนเดินเท้าต่อไปยังโรงเรียน หรือบางโรงเรียนที่อยู่บนเกาะต้องเดินทางโดยเรือใช้เวลา 5-6 ชั่วโมงกว่าจะถึง ซึ่งก็เดินทางค่อนข้างยากลำบาก สพฐ.เองก็ไม่มีงบประมาณดูแล ต้องอาศัยการออกระเบียบของกระทรวงการคลังมาช่วยเหลือค่าใช้จ่ายตรงนี้ ทั้งนี้เสนอให้ เลขาธิการ กพฐ.พิจารณา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหารือเพื่อขอปรับแก้เงื่อนไขบางประการกับทางกระทรวงการคลังต่อไป" นายพิษณุ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น