ชีวิตคนมาบตาพุด ในพื้นที่เศรษฐกิจของชาติ ที่สภาวะแวดล้อมเลวร้าย ภาคอุตสาหกรรมมักง่ายสร้างโรงงานเสี่ยง โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ทรุดพังอาจระเบิดลุกลามร้ายแรง จนเป็นหายนะภัยต่อชีวิตและสภาวะแวดล้อมโดยรวม ภาครัฐ สื่อมวลชน นักสิ่งแวดล้อม มองชีวิตคนมาบตาพุด ไม่ต่างอะไรกับมดกับปลวก เสแสร้งแกล้งใส่ใจสร้างตัวตน
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สังคมแห่งการเรียนรู้ - ความง่ายๆ ที่ไม่ใช่ความเรียบง่าย แต่กลับเป็นความมักง่ายของสังคม
วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553
ปาหี่ มาบตาพุด – ม๊อบตีกันตาย ปตท. ต้องรับผิดชอบ
ปาหี่ มาบตาพุด – ม๊อบตีกันตาย ปตท. ต้องรับผิดชอบ
ปตท ในขณะนี้ เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับสองฝ่าย ทั้งผู้รักสิ่งแวดล้อม และผู้ที่รักโรงงาน ล้วนได้เงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ โครงการสารพัดที่แจกชาวบ้าน เงินทุนที่เอาไปอุดหนุนเครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ สุดท้ายเป็นกิจกรรมตีสองหน้า ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก พวกรักสิ่งแวดล้อม ที่กำลังจะหมกเม็ด 11 เสี่ยง เพราะถ้าบวกอีก 7 ทุกอย่างจบ กับพวกที่รักโรงงานสุดขั้วที่อยู่ในมาบตาพุด แม่บ้าน พ่อบ้าน ที่เคยได้การอุดหนุน ต่างคนก้อต่างอยากได้ บันได ขั้นที่แต่ละฝ่ายต้องการ
ถึงตอนนี้ ปตท คงวางหมากให้ รัฐบาล สงบศึกให้ โดยให้ภาครัฐ คุยกับคนรักสิ่งแวดล้อม อ้างว่า ที่ คกก. 4 ฝ่าย สรุปมาให้นั้นน่าจะถูกต้องแล้ว แกล้งดึงขาฉุดยื้อยุดเบาๆ จัดเวทีให้ภาคสิ่งแวดล้อมคุย เพื่อกระโดดไปตาขึ้นบันได ทุกอย่างมันจะจบตรงนั้น ตรงที่บอกว่า วินวินโซลูชั่น เรื่องเซ่อๆง่ายๆ ที่คนไม่ใส่ใจ คิดว่า อ๋อทุกอย่างมันจบมันถูกต้องแล้ว เพื่อเศรษฐกิจ แต่มันไม่ใช่หรอก ลิงรื้อแห กันไปสักพักนึง HIA เมืองไทย มันจะไม่ต่างอะไรกับ EIA ที่คิดว่าทำแล้วดีแล้ว แต่มันกลับไม่ใช่ มันกลายเป็นเกมบนกระดานงูตกบันได ที่ทุกฝ่ายอยากเดินไปตาที่ขึ้นกระได ข้ามไปให้ถึงเป้าได้เร็วๆไวๆ ก้อแบบนั้น
เรื่องคอขาดบาดตาย เลยหาผู้คนสนใจยาก หมกเม็ดความเสี่ยงภัยให้ประชาชน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แต่อย่าลืมนะ เจ็บตายกันมากๆ วันไหน บันได ที่ก้าวกันขึ้นไป มันจะหักแล้วตกลงมาหัวทิ่ม แบบนั้นแหระ!!
มีบางคนบอกว่า ใครทำกรรมอะไรไว้ก้อจะได้แบบนั้น
คนภาคอุตสาหกรรมกรรมบอกว่า ทำเพื่อสร้างสรรจรรโลงโลก เพราะผลิตสิ่งต่างๆ เพื่อให้คนใช้ อำนวยสะดวก
คนภาคสิ่งแวดล้อมบอก ต้องรักโลก ต้องดูแล ต้องมีป่า มีเขา มีสิ่งเดิมๆ
ก้อดี ที่ทุกฝ่าย ต่างบอกว่า มันเป็นทฤษฎีเกม ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ก้อทำกันไปเถอะ อย่าลืมว่า เวลาตกบันไดจากขั้นสูงๆ นั้น มันเจ็บแค่ไหน แบบนั้นด้วยก้อแล้วกัน
สั้นๆง่ายๆ สายตาไม่ดี พิมพ์นานๆตาปวดหลังเจ็บ
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น - [ 18 ก.ค. 48, 23:35 น. ]
ข่าวคราวเรื่องปัญหาน้ำในภาคตะวันออก ที่เป็นข่าวใหญ่โตว่า จะเกิดปัญหาใหญ่ ขนาดสูญเสียรายได้ในการส่งออก ประมาณ 3.6 แสนล้าน โรงงานจะต้องปิด ซ่อมบำรุงก่อนกำหนด เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในขบวนการผลิตและชะล้าง รวมทั้งการไม่มีน้ำจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าหลายโรงด้วย กรณีนี้น่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับปีถัดๆไปในการบริหารทรัพยากรน้ำและคงเป็นการดีที่หลายๆฝ่ายจะต้องเริ่มหันมามองการถึงการแบ่งปันทรัพยากร (มิได้เอาแต่แย่งกันกินกันใช้เหมือนปกติชาวบ้าน ใครจำเป็นต้องใช้มากก้อดูดจนเกลี้ยงสาย ทำให้หลายบ้านเดือดร้อน) การจัดแผนงานการซ่อมบำรุงประจำปีควรจัดช่วงที่เหมาะสมกับการแบ่งปันทรัพยากร ในปีนี้มีข้อเสียตรงที่มีการปกปิดข้อมูล และการแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ ในเดือนเม.ย.48โดยผู้ว่าการนิคมฯเอง ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมต่างๆ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกด้วย (นสพ. ไทยรัฐ 14 เม.ย. 48) ทางอีสวอเตอร์ออกมาให้ข่าวตอกย้ำในอีก 5 วันถัดมาว่า จะไม่มีปัญหาเพราะมีการจัดการแล้ว อีกทั้งจะมีโครงการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงอีกด้วย (นสพ. ข่าวสด 19 เม.ย. 48) ซึ่งร่วมกันออกมาให้ข่าว หลังจากที่ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด ระยอง เขียนจดหมายถึงผู้จัดการโรงไฟฟ้าให้แก้ปัญหาเรื่องการใช้น้ำประปาและน้ำดิบ วันที่ 13 มี.ค.48 และสำเนาให้ทุกฝ่ายที่ควรรับผิดชอบรู้ โดยสำเนาให้กับนายกรัฐมนตรี ผ่านเวบไซด์ระฆังดอทคอม ส่งทั้งทางเมล์และทางไปรษณีย์ ให้กับ รมต.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้ว่าการนิคมแห่งประเทศไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (เป็นผู้ว่าซีอีโอด้วยหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่ว่าจะเป็นซีอีโอได้จริงหรือไม่ในพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายเฉพาะ) ดูเหมือนว่า จะมีหน่วยงานของนายกรัฐมนตรี ตอบโดยสำนักนายกฯ ซึ่งติดตามปัญหาเรื่องนี้ ตอบมาวันที่ 19 เม.ย.48 และให้คำตอบที่ไม่ตรงคำถามแต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่มีการเข้ามาสนใจปัญหา แต่การที่ตอบคำถามไม่ตรงประเด็นเลยยังคงเป็นเรื่องข้อสงสัยต่อไปอีกกับปัญหาที่จะเกิดในอนาคตอีก 25-30 ปี ข้างหน้า
ที่ประชุมชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด 13 มีนาคม 48 เรียน ผู้จัดการโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ที่นับถือ ตามที่ได้ทราบข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แ ก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP นั้น พบว่า ในระยะเวลาดำเนินการ ทางโรงไฟฟ้าจะใช้น้ำประปาสูงถึง 4,500 ลบ.ม ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการใช้น้ำของชุมชน ประมาณ 6,000-7,000 ครัวเรือน ต่อวัน ข้อเสนอแนะ จึงเรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ ก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ และสร้างผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้ช่วยชี้แจงมาตรการที่จะแ ก้ไข ให้ชุมชนทราบต่อไปด้วย
ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด |
ตามที่ท่านได้ส่งเรื่องผ่านทางระฆังห่วงใย...จากใจนายกรัฐมนตรี (www.rakang.thaigov.go.th) เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้น้ำประปาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP จ.ระยอง ความแจ้งอยู่แล้วนั้นบัดนี้ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2548 ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานประปาบ้านฉาง มีจำนวนผู้ใช้น้ำทั้งเขต อ.บ้านฉาง และ ต.มาบตาพุด อยู่ประมาณ =12,800 ราย ใช้น้ำอยู่ประมาณวันละ 18,000 - 20,000 ลบม.ซึ่งเพียงพอที่ สำนักงานประปาบ้านฉาง จะจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้น้ำโดยไม่รวมกับของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP. และหากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ไม่เกินระยะ 2-3 เดือนนี้ คือหากปัญหาภัยแล้งไม่เกิดยาวนานจนเลยเดือน มิ.ย.2548ก็คงไม่กระทบกับการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งมาผลิตเป็นน้ำประปาจ่ายให้กับผู้ใช้น้ำประปาอย่างแน่นอน จึงเรียนมาเพื่อทราบ (รหัสเรื่อง480357146)
ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล |
จากเรื่องราวด้านบนพบว่าทุกฝ่ายออกมาประกาศว่าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ไม่มีคำตอบจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รมต. ทรัพยากร หรือจะตกข่าวตรงนี้เพราะประกาศไม่กว้างขวางหรือขาดการจัดการสื่อ อันนี้ไม่ชัดเจน
ข้อมูลวันนี้สถานการณ์น้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย-หนองปลาไหล มีใครพอจะทราบบ้างรึเปล่าว่าตอนนี้ ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆในแถบเมืองระยองอยู่ในระดับต่ำมาก? ปัจจุบันพวกเรากำลังอยู่ในวิกฤตภัยแล้งระดับ 4-5 จากภาวะฝนทิ้งช่วงถึงเดือนสิงหาคม 2548 หรืออาจจะทำให้นิคมมาบตาพุดต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน กนอ.จะขอให้มีการลดใช้น้ำ 10% และจะประกาศภาวะวิกฤตระดับ 5 ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2548 ปัจจุบันทุกโรงงานในนิคมมาบตาพุดต้องลดปริมาณการใช้น้ำ 10 % ถ้าปริมาณน้ำยังคงลดลง ต้นเดือนจะเข้าวิกฤติระดับ 5 และถ้าโรงงานปิโตรเคมีในนิคมจำเป็นต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน ตัวเลขประมาณการการสูญเสียรายได้โดยตรงเนื่องจากการหยุดการผลิตสูงถึงหลักพันล้านบาท จำเป็นต้องนำเข้าวัตุดิบจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าในหลักพันล้านบาทเช่นกัน ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการสูญเสียรายได้ทางอ้อม เช่นจากกลุ่มผู้รับเหมา ฯลฯ เป็นต้น แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นข้อมูล |
ขณะนี้ดูเหมือนทุกฝ่ายที่ตอบคำถามไว้กำลังกลับลำ หันออกมาประโคมข่าวดังๆ ว่าจะสูญเสียรายได้ถึง 3.6 แสนล้าน กนอ.จะมีมาตรการให้ลดการใช้น้ำ มีการประชุมเพราะให้ปิดซ่อมบำรุงก่อนกำหนดสำหรับโรงงานที่ไม่ได้ผลิตเพื่อบริการต่อกลุ่มโรงงานอื่นที่ไม่มีปัญหาน้ำแต่ยังต้องเปิดดำเนินการอยู่ เพราะถึงอย่างไรโรงไฟฟ้า 3-4โรงในนิคมต่างๆจำเป็นคงยังต้องเปิดดำเนินการต่อไป และยังจะมีการอนุญาติพิเศษสำหรับการดูดน้ำบาดาลขึ้นใช้อีกในอนาคต(ตรงนี้อันตรายมากเลย ควรไตร่ตรองถึงผลเสียในอนาคต รวมถึงการควบคุมไม่ได้ดี แม้ว่าจะมีการแอบลักลอบทำอยู่ในหลายๆที่ในขณะนี้ ทั้งนี้ถ้ากรณีนี้เป็นการสมยอมจากภาครัฐด้วย อาจจะส่งผลเสียใหญ่หลวง ดินทรุด ดินถล่ม อันนี้ต้องระวังมาก) การจัดให้แต่ละโรงงานจัดทำระบบรีไซเคิลน้ำ อันนี้ควรต้องทำอย่างรีบด่วนมาก เพราะมีประโยชน์ในเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีระบบ และคุ้มค่า ไม่ได้สักแต่ว่ามีเงินซื้อมีเงินใช้จะใช้อะไรแบบฟุ่มเฟือยอย่างไรก้อได้ เพราะโรงงานสร้างปัญหาก่อมลพิษในสภาวะแวดล้อมแล้ว ยังมาเบียดบังน้ำที่จะต้องมีผู้ใช้อื่นด้วย ทั้งภาคการบริโภคของประชาชนและการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคหลักในการสร้างอ่างเก็บน้ำ จากนโยบายเดิม ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งหมด ควรอยู่ในภาคเกษตรกรรม-ชลประทาน แต่การโอนย้ายให้อีสวอเตอร์เป็นเจ้าภาพในจัดการน้ำโดยภาคเอกชน ตรงนี้มันแปลกมานาน แต่ในเมื่อภาคเกษตรกรรมได้เงินน้อยจากภาคการส่งออก ไม่แปลกอะไรที่จะโอนทรัพยากรในส่วนนี้มาให้ภาคอุตสาหกรรมจัดการแทน และสุดท้ายต้นทุนน้ำอาจพุ่งสูงถึง ลบ.ม ละ 20บาทหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความฟุ่มเฟือยของภาคอุตสาหกรรม แต่ในที่สุดประชาชนและภาคเกษตรกรรมเดือดร้อนไปด้วย (คงต้องรวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวด้วย) รัฐบาลบอกประชาชนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งที่ ในส่วนภาคประชาชนมีสัดส่วนการใช้พลังนานน้อยมากถ้าเทียบจากสัดส่วนของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ความเป็นจริงคือรัฐสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อโรงงานต่างหาก เลิกบิดเบือนความเป็นจริงในข้อนี้ กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างเสร็จจะมีการขยายโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกอย่างกว้างขวาง มีการขยายเฟสของโครงการท่าเรือมาบตาพุด มีการประกาศขยายเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะขึ้นเลาะชายฝั่งทะเลไปทางด้านซ้ายและขวาของโครงการท่าเรือมาบตาพุดเดิม และตรงนี้จะเป็นมือใครยาวสาวได้สาวเอาสำหรับการใช้พื้นที่ชายฝั่ง (ตรงนี้ลองสอบถามกรมเจ้าท่าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และตรงนี้จะเกิดอะไร โครงการอาจจะยาวไปถึงท่าเรือสัตหีบฯ เท็จจริงแค่ไหนคงต้องติดตามกันต่อไป ว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง)
ข่าวเรื่องการขาดแคลนน้ำ ประกาศออกมาในจังหวะเวลาที่รัฐบาลกำลังหาโครงการมาใช้เงิน 1.7 ล้านล้านบาทด้วย การออกมาให้ข่าวอย่างมีระบบนี้มีนัยว่าจะต้องมีโครงการในการพัฒนา-จัดการทรัพยากรน้ำร่วมด้วย แต่การออกมาให้ข่าวลักษณะนี้ทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย แต่แนวโน้มที่ไม่ดีกลับมีผลดีกับสิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อม มากที่สุด เพราะ…การมาของโรงงานจะน้อยลงเพราะบริเวณภาคตะวันออกของไทยไม่มีน้ำใช้ นักลงทุนคงไม่อยากมาเสี่ยง อีกทั้งต้นทุนของน้ำสูง นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในจีนดีกว่าต้นทุนค่าแรง-ทรัพยากรถูกกว่า แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าบ้างแต่ขณะนี้จีนหันมาสร้างโรงไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อเตรียมให้ภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเข้าไปลงทุน (ทำลายบรรยากาศการลงทุนไปแล้วย่อยยับ ตรงนี้เล่นอะไรอยู่)
ผลดีต่อภาคประชาชนคือ การมาของโรงงานจะน้อยลง มลพิษน้อยลง แต่ตรงนี้จะเป็นความต้องการของชาวระยองหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน เพราะคนระยองไม่ได้สนใจเรื่องการมาของโรงงาน แต่ถ้าไม่มีโรงงานมาสร้างคนระยองอาจขาดรายได้จำนวนมหาศาลด้วยก้อได้ เอาเป็นว่ามีผลดีต่อสภาพอากาศที่นับวันจะเลวร้าย เพราะแม้กระทั่ง คณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าใหม่ ยังต้องไปหาที่พักที่ห่างไกล เพราะไม่อยากเจอมลพิษ กำลังเลือกทำเลว่าจะเป็นสัตหีบหรือบ้านฉาง แต่บ้านฉางสุดท้ายแล้วจะไม่ต่างอะไรกับมาบตาพุด ใน 3-5 ปีข้างหน้า ทำไมไม่อยู่เผชิญปัญหาแบบศูนย์ราชการที่ย้ายมาอยู่แถวมาบตาพุด(เพราะแถวนี้มีเม็ดเงินใหญ่หรือต้องการมาร่วมกำกับดูแล ตรงนี้ไม่ชัดเจน)
จากที่กล่าวมา พอสรุปได้ว่า โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ควรจะต้องเตรียมจัดหาแหล่งเก็บน้ำ-การผลิตน้ำใช้เอง รวมทั้งขบวนการรีไซเคิลในส่วนขบวนการชะล้าง ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้ามีสัดส่วนในการใช้ทรัพยากรน้ำลดลงได้ จากวันละ 4,500 คิวเหลือวันละ 2,000คิว และจะไม่ทำให้เกิดเดือดร้อนทุกภาคส่วนในอนาคต งานส่วนตรงนี้ยังไม่รู้ว่า หน่วยงานไหนจะสั่งการให้โรงไฟฟ้าดำเนินการได้ เพราะเป็นพันธกิจของรัฐที่ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้นักลงทุน (ไฟฟ้า-น้ำ-ถนน-ท่าเรือและการลดภาษี) แต่ทางโรงไฟฟ้าเองควรตระหนักถึงวิกฤตในอนาคต รวมทั้งในส่วนผู้ลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาซื้อโรงไฟฟ้าหลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย มูลค่าส่วนต่างกำไรจะลดลงเพราะปัญหาน้ำกำลังเป็น Dead Lock ในส่วนของขบวนการผลิต
หวังอย่างยิ่งว่าแต่ละส่วนที่รับผิดชอบจะหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาให้กับอนาคต กับทุกภาคส่วนด้วย
ข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP
ภาพถ่ายทางอากาศโรงไฟฟ้าถ่านหิน บีแอลซีพี ซึ่งมีพื้นที่ส่วนขยาย ซึ่งสามารถทำแหล่งน้ำสำรองและระบบรีไซเคิลน้ำได้
ข้อมูลจากการสัมนากลุ่มย่อย
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง
18 มิ.ย. 2548
วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553
ภาพ คนเรียกร้อง กรณี มาบตาพุด ในอนาคต
วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
สังคม เลือดเย็น ที่เฉยชา ในประเทศ ที่รัฐบาลชอบบอกว่า เป็นนิติรัฐ
ผิดหรือครับ! ที่ ช่างซ่อมรถ จะบอกว่าลืมใส่ผ้าเบรคใหม่ให้รถทัวร์ ที่กำลังขับขึ้นภูเขา หรือคิดกันว่า จะสร้างความหวาดกลัวให้ผู้คน และทำลายความเชื่อมั่น – เพราะเจ้าของรถทัวร์-คนขายรถ เรียงหน้ากันออกมาบอกว่า มันปลอดภัยดี ถึงตรงนี้ คุณเชื่อใคร? เพราะบังเอิญ ช่างซ่อมรถ ก้ออยู่ บนรถทัวร์ เสี่ยงคันนั้นด้วย
ภาคประชาชน ที่บอกว่า ห่วงใยชีวิต-สุขภาพ ห่วงสภาวะแวดล้อม ขอให้ใจเย็นๆ รอ เจ้าของรถทัวร์ บริษัทรถทัวร์ คนขายรถทัวร์ ผู้ชำนาญการต่างๆ ออกมาชี้แจงก่อน ทั้งที่ชี้แจงมา 2-3 รอบแล้ว คราวนี้ จะเอาทีวีมาถ่าย ช่วยกันมายืนยัน ว่าปลอดภัยดี ทั้งๆที่ช่างซ่อมรถย้ำแล้วย้ำอีกว่า ไม่ได้ใส่ผ้าเบรคใหม่ให้
และทั้งๆที่ รถทัวร์คันนี้ จอดรอเช็คสภาพ มาอยู่ตั้งนาน ... แต่ไม่มีใคร คนไหนใส่ใจสนใจ ทั้งที่ร้องบอกแล้ว ตะโกนบอกแล้วซ้ำๆ ย้ำถึงเหตุที่จะเิกิด แต่ไม่คิดจะตรวจสอบ-แก้ไข
ถึงเวลานี้ รถกำลังจะออกเดินเครื่อง แต่ ... ผู้คน/สังคม กำลังรอ ให้รถเบรคแตก-ตกเขา-ตายยกคัน!กันก่อน ประหลาดดี! เลือดเย็น...จนน่าใจหาย น่าอนาถ น่าประหลาดใจ
ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่ง ชาวต่างชาติ และผู้คนจำนวนมาก รีบตะเกียกตะกายขึ้น กลัวไปไม่ทัน ภาครัฐ/เจ้าของรถ บอกนี่ไง ความเชื่อมั่น! ดันทุรังกันไปตายเอาดาบหน้า
ผู้ประสานงาน กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น เกี่ยวข้องอะไร กับ บริษัท อิตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน)
จากคำชี้แจง ของ ปตท. ต่อชาวบ้านว่า เป็นกรณีความขัดแย้ง ระหว่างผู้ประสานงานกลุ่มฯ กับ บ.อิตาเลี่ยนไทย ที่เคยทำงาน แต่เอามาลง กับ ปตท. นั้น การไล่ออก ปลดออก ขอให้ออก ปัญหา คืออะไร ตามไปดูกัน ... กับการเป็นแกะดำ ว่าปัญหาการปล่อยให้ขาดทุน การทุจริตคอรัปชั่น ของ บริษัทมหาชน - ผู้ถือหุ้นรายย่อย ได้รับผลกระทบอย่างไร กับการเป็นเหยื่อของความอยากได้อยากมีอยากกำไร
เหตุผลหลักของการขาดทุนในโครงการต่างๆ
ของ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
15 September 2009
ครบรอบ 1 ปีเลห์แมน บราเธอร์ ล้มละลาย อดีตพนง.แฉบิ๊กบอสเมินคำเตือน
ครบรอบ 1 ปีในวันอังคาร(15 กันยายน 2008) การล้มครืนของ "เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท ที่จุดชนวนเริ่มต้นวิกฤตการเงินและลามมาเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของโลกในรอบ 60 ปี ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ บุคคลวงในซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือขายดีแฉเรื่องราวเบื้องลึกเหตุการณ์อันน่าตื่นตะลึงคราวนี้ ให้สัมภาษณ์เล่าสรุปถึงสิ่งที่เขาพบเห็นด้วยตนเองและสิ่งที่เขาได้รู้จากการสัมภาษณ์คนอื่นๆ ภายในบริษัท ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ ยังคงรู้สึกหนาวสะท้านไปถึงกระดูกสันหลัง ทุกครั้งที่เขาขับรถผ่านอาคารในวอลล์สตรีทซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเลห์แมน บราเธอร์ส ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นทำงานเทรดเดอร์ตราสารหนี้ผู้มีผลงานเยี่ยมระดับทำกำไรได้สูงที่สุดคนหนึ่ง "ที่แย่ที่สุดก็คือชะตากรรมของคนกว่า 20,000 คนที่ถูกกำหนดในอาคารหลังนั้น โดยเฉพาะจากบนชั้นที่ 31" แมคโดนัลด์ วัย 43 ปี ให้สัมภาษณ์เนื่องในวาระครบหนึ่งปีหลังจากที่กิจการวาณิชธนกิจอายุ 158 ปีแห่งนี้ ต้องยื่นขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลายของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2008 กลายเป็นกรณีล้มละลายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และทำให้พนักงานจำนวนประมาณ 25,000 คนต้องตกอยู่ในภาวะไร้อนาคต อีกทั้งยังกลายเป็นคลื่นยักษ์สึนามิทางการเงินที่ซัดกระหน่ำไปทั่วโลกซึ่งมีผลสะท้อนต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ เลห์แมนล้มครืนลงมาจากการต้องแบกหลักทรัพย์ที่อิงอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมเป็นมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ แต่แมคโดนัลด์มีความเห็นว่า ที่จริงเลห์แมนอาจไม่ถึงกับต้องล้มละลายก็ได้ ถ้าหากพวกบิ๊กบอสเอาใจใส่กับคำเตือนต่างๆ ที่ออกมามากมายในช่วงก่อนหน้านั้น เขาบอกว่าพวกผู้นำระดับสูงของเลห์แมน "พาพวกเราแล่นตะบึงไปข้างหน้าด้วยความเร็วถึง 261 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ... แล้วพุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งวิกฤตซับไพรม์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา"
Web Page Editing on 15 September 2009
เหตุผลหลักของการขาดทุนในโครงการต่างๆ
ของ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
คือ ... การมีวัฒนธรรมองค์กร...ที่เลวร้าย !!!
ทำไมถึงต้องใช้คำรุนแรงขนาดนี้ ... ในเมื่อ บริษัทฯ ไม่ใช่มูลนิธิการกุศลฯ จึงต้องประกอบการเพื่อแสวงหาผลกำไร-ขยับขยายองค์กร ซึ่งการที่คนเกือบทั้งองค์กรฯ ไม่สนใจผลประโยชน์บริษัทฯ ไม่สนใจว่ากำไร-ขาดทุน คืออะไร ผลประกอบการของบริษัทฯ จึงเป็นแบบที่เป็นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่โครงการที่รับมาดำเนินการขาดทุนสูงเกือบทั้งหมด ความเสียหายที่มาจากส่วนงานอื่น เช่น เจ้าของงาน หรือผู้ว่าจ้าง ถูกละเลยที่จะเรียกร้องค่าชดเชย โดยอ้างว่า เสียความสัมพันธ์และรับเงินงวดงานล่าช้า, วาระรับรู้ที่ซ่อนเร้นว่าทุกๆส่วนต่าง 10 สตางค์ ของราคาหุ้น มีผลต่อมูลค่าหุ้นที่เจ้าของบริษัทฯถือไว้ มากกว่า 120-150 ล้าน ในห้วงเวลาที่ผ่านมา และเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความรู้สึกไม่ใส่ใจของผู้บริหารฯ-สิ่งที่พนักงานหลายฝ่ายรับรู้ จนทำให้ ความรู้สึกที่จะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ หายไป กลายเป็นแค่การดำรงตน ให้อยู่กับระเบียบต่างๆ มาทำงานทุกวัน เช้ามา-เย็นกลับ ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน และสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล จนทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เลวร้าย มาจาก ... การไม่ใส่ใจของผู้บริหารฯ.-
o การสนับสนุนผู้บริหารฯโครงการที่ขาดทุนสูง ให้มีตำแหน่งการงานดีขึ้น
o การขอให้ออกหรือปลดออก กับผู้บริหารโครงการฯ ที่ทำผลกำไรและรักษาผลประโยชน์ บริษัทฯ โดยอ้างว่ามีการเรียกร้องโบนัสให้พนักงานในส่วนงานนั้น หรือขอขึ้นเงินเดือนตัวเอง - ลูกน้อง
o ขาดระบบประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ การให้รางวัลหรือปรับขึ้นเงินเดือน มาจากคนของใครเท่านั้น
o ปล่อยให้มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง มีการปกป้อง-ปกปิดให้ โดยผู้บริหารฯ
o ไม่สนใจข้อมูลและรายงานแจ้งเตือนต่างๆ เพื่อบริหารการตัดสินใจ กลับปล่อยปละละเลย จนเกิดความเสียหายมาก .... “ผู้บริหารฯไม่สนใจเรื่องกำไร-ขาดทุน พนักงาน-ผลงาน ย่อมไร้คุณค่า หาตัวชี้วัดไม่ได้”
เรื่องเงินบริษัทฯ ที่ผู้บริหารไม่สนใจใส่ใจ กับข้อคิดความเห็นที่ว่าต้องควบคุม บริหารการจัดการ
ตรงนี้มั้ย จึงถูกไล่ออกเพราะเป็นแกะดำของบริษัท
www.itd-lost.co.cc
หรือ http://boonchoo.org/itdlost
http://boonchoo.org/itdlost/data/letter/MyPetition.rar
เวบไซด์ถูกเขียน และจบลงในเดือน กันยายน 2552 แล้วมันจะเกี่ยวอะไร กับการทิ้งความเสี่ยงให้ประชาชนชาวบ้าน ในมาบตาพุด ของ ปตท. ที่ก่อสร้างโรงงานสารเคมีอันตรายมากมายในมาบตาพุด โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ที่อ้างเพียงว่า ดินในโรงงานของ ปตท. แข็งแรงกว่า ดินในโรงงานอื่นติดกัน 3-7 เท่า ตรรกะนี้ เชื่อได้หรือ ว่าเป็นเทคนิคการก่อสร้างพิเศษ (มักง่ายเป็นพิเศษมากกว่า!)
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
ดร.สมิทธ เคยเตือนภัย สึนามิ / วันนี้มีวิศวกร ออกมาเตือน หายนะภัย จาก ภาคอุตสาหกรรมมักง่าย-ประมาท
คลื่นยักษ์ “สึนามิถล่มไทย” ดร.สมิทธ เคยเตือนไว้นานแล้ว ตั้งแต่ปี 2541 แต่ปรากฏว่าไม่มีใครเชื่อ
แถมยังถูกรุมประณามว่าทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวชายทะเล แล้วเหตุการณ์ที่ได้เตือนไว้ก็เกิดขึ้นจริง ๆ
“ภัยพิบัติจากธรรมชาติ” นั้น สมิทธบอกว่า มนุษย์ไม่มีอำนาจ ไม่มีความรู้ ไม่มีเทคโนโลยี
ที่จะไปควบคุมภัยธรรมชาติ - แต่ภัยธรรมชาติหลายอย่างมีเครื่องมือเตือนภัย!
“คนตายไปเยอะแล้ว มาเป็นฮีโร่ตอนหลัง มันไม่รู้สึกภาคภูมิใจจากความตายของคน
ไม่มีประโยชน์อะไร” ดร. สมิทธ กล่าวถึงด้วยสีหน้าปลงๆ
และหลายวัน หลายเดือน ที่ผ่านมา
มีกลุ่มวิศวกรออกมา! ร้องบอกร้องขอให้ช่วยคนมาบตาพุด
ช่วยปลดปล่อย-ให้ไม่ต้องเผชิญหน้ากับหายนะภัย
จาก ภาคอุตสาหกรรมมักง่าย-ประมาท
รัฐบาลกับหลายภาคส่วน - ได้รับข้อมูลแล้ว
เงียบเฉย เย็นชา ทำไม่รู้ไม่ชี้ ธุระไม่ใช่ กันทั้งหมด
คราก่อน ชาเฉย ตาย-สูญหาย 8000 แล้วครานี้ ... ที่กำลังรอ มหันตภัยภาคอุตสาหกรรม ล่ะ! คาดการณ์ กันแล้วหรือยัง
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
มาบตาพุด คงหลบไม่พ้น ที่จะเผชิญกับหายนะภัย ... แล้ววันนี้!!!
จากการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมดของ โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงทรุดพัง จนอาจการระเบิดลุกลามรุนแรง ของคลังก๊าซ แอลพีจีขนาดใหญ่
ได้มีความพยายาม สื่อไปยังหลายกลุ่มหลายส่วนของประเทศนี้แล้ว ทั้งภาครัฐบาล ขบวนการศาลปกครอง กรรมาธิการต่างๆ ทั้งสภาผู้แทน และวุฒิสภา สส.ระยอง สว.รสนา สื่อมวลชนไทยเกือบทั้งหมด องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมผู้ฟ้องคดีมาบตาพุด (เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และสมาคมต่อต้านโลกร้อน) หอการค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทเงินทุนที่เกี่ยวข้องการการลงทุน ทั้งหมดรับรู้เรื่องความเสี่ยงต่อมหันตภัย ของคนมาบตาพุดแล้ว ... ทุกฝ่ายเย็นชาเฉยชา ซึ่งถึงวันนี้ ไม่เห็นความกระตือรืนร้น จากฝ่ายใด นอกจากการตอบจดหมายของ เจโทร(กรุงเทพ) แม้จะมีนัยสำคัญที่บอกว่า เขามีความสำเหนียก เรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงต่อหายนะภัยในระดับที่ดี ปัญหาความเสี่ยงต่อหายนะภัย ที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ แต่มาจากความมักง่าย ของภาคอุตสาหกรรม ที่ทุกภาคส่วนของประเทศนี้ เฉยเมยที่จะใส่ใจ รวมทั้งส่วนของผู้นำองค์กรและชุมชนต่างๆในมาบตาพุดฯ
ถึงวันนี้ ... คนมาบตาพุด คงหลีกหนีความเสี่ยงของหายนะภัยที่อาจจะเกิดไม่ได้แล้ว ไม่ได้ทวงถามความรับผิดชอบหรือใส่ใจจากใคร – รอเกิดเหตุสลดเพราะการรั้งรอ ของผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารแล้ว บาปคงติดค้างอยู่ในใจ พวกท่านตลอดไป
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
มักง่าย ... แต่จะดันทุรังเสี่ยง ทรุดพังระเบิด ใครจะรับผิดชอบ
นาย
การดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทนนั้น ปตท. ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างตามหลักมาตรฐานทางวิศวกรรมที่กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัด ภายใต้การตรวจสอบควบคุมโดยบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาระดับโลกอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอน โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ชนิดและลักษณะของดินในพื้นที่ตั้งโครงการตามหลัก วิศวกรรมฐานรากและปฐพีกลศาสตร์ พบว่าดินส่วนใหญ่โดยทั่วไป เป็นดินคุณภาพดีโดยเป็นดินแน่นถึงแน่นมาก และดินแข็งถึงแข็งมาก
คุณล่ะ ... เชื่อหรือไม่ ตามที่ ปตท. แถลง
อย่างไรก็ดี ปตท. ยังได้ปรับปรุงคุณภาพดินและบดอัดเพิ่มเติม ตามหลักทางด้านวิศวกรรมฐานรากเพื่อความปลอดภัยสูงสุด และทำการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของดินตามขั้นตอนอีกขั้นหนึ่ง ส่วนการออกแบบฐานรากเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง ได้มีการตรวจสอบและลงนามรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีอำนาจตามกฎหมาย และทั้งสองโครงการได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง
ถมดิน เสร็จ มกราคม 2551 ก่อสร้างฐานราก มิถุนายน - พฤศจิกายน 2551 - คุณล่ะ กล้าซื้อหรือ ถ้าเป็นบ้านจัดสรร
นอกจากนั้น ปตท. ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการทรุดตัวของฐานรากอย่างเป็นระบบ โดยผลจากการตรวจสอบค่าระดับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มงานติดตั้งโครงสร้างฐานราก จนกระทั่งก่อสร้างแล้วเสร็จและยังคงทำการตรวจสอบอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น ปรากฏว่า ไม่พบการทรุดตัวที่ผิดปกติแต่อย่างใด
อยากให้ลองดู ข้อมูลต่อไปนี้ คุณจะเชื่อ แบบ ปตท. บอก หรือไม่
ทั้งนี้ ปตท. จะจัดการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน เรื่องความปลอดภัยในการดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 และโครงการโรงแยกก๊าซอีเทนของ ปตท. อีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ได้มีการชี้แจงกับชุมชน สื่อมวลชนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
บอร์ดสิ่งแวดล้อมประกาศ 11 ประเภทกิจกรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงแล้ว ขณะที่โรงแยกก๊าซที่ 6 ของปตท.ฉลุยตามคาด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติวันนี้เห็นชอบให้จัดทำประกาศ 11 ประเภทกิจการที่มีผลกระทบร้ายแรง จาก 18 ประเภทกิจการที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเสนอมา - อย่างไรก็ตาม โครงการโรงแยกก๊าซหน่วยที่6 ของบมจ.ปตท.(PTT)ไม่ได้อยู่ในข่ายโครงการที่มีผลกระทบร้ายแรงตามประกาศ
มักง่าย ... แต่จะดันทุรังเสี่ยง