วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ปาหี่ มาบตาพุด – ม๊อบตีกันตาย ปตท. ต้องรับผิดชอบ

ปาหี่ มาบตาพุด ม๊อบตีกันตาย ปตท. ต้องรับผิดชอบ

ปตท ในขณะนี้ เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้กับสองฝ่าย ทั้งผู้รักสิ่งแวดล้อม และผู้ที่รักโรงงาน ล้วนได้เงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ โครงการสารพัดที่แจกชาวบ้าน เงินทุนที่เอาไปอุดหนุนเครือข่ายสิ่งแวดล้อมต่างๆ สุดท้ายเป็นกิจกรรมตีสองหน้า ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก พวกรักสิ่งแวดล้อม ที่กำลังจะหมกเม็ด 11 เสี่ยง เพราะถ้าบวกอีก 7 ทุกอย่างจบ กับพวกที่รักโรงงานสุดขั้วที่อยู่ในมาบตาพุด แม่บ้าน พ่อบ้าน ที่เคยได้การอุดหนุน ต่างคนก้อต่างอยากได้ บันได ขั้นที่แต่ละฝ่ายต้องการ

ถึงตอนนี้ ปตท คงวางหมากให้ รัฐบาล สงบศึกให้ โดยให้ภาครัฐ คุยกับคนรักสิ่งแวดล้อม อ้างว่า ที่ คกก. 4 ฝ่าย สรุปมาให้นั้นน่าจะถูกต้องแล้ว แกล้งดึงขาฉุดยื้อยุดเบาๆ จัดเวทีให้ภาคสิ่งแวดล้อมคุย เพื่อกระโดดไปตาขึ้นบันได ทุกอย่างมันจะจบตรงนั้น ตรงที่บอกว่า วินวินโซลูชั่น เรื่องเซ่อๆง่ายๆ ที่คนไม่ใส่ใจ คิดว่า อ๋อทุกอย่างมันจบมันถูกต้องแล้ว เพื่อเศรษฐกิจ แต่มันไม่ใช่หรอก ลิงรื้อแห กันไปสักพักนึง HIA เมืองไทย มันจะไม่ต่างอะไรกับ EIA ที่คิดว่าทำแล้วดีแล้ว แต่มันกลับไม่ใช่ มันกลายเป็นเกมบนกระดานงูตกบันได ที่ทุกฝ่ายอยากเดินไปตาที่ขึ้นกระได ข้ามไปให้ถึงเป้าได้เร็วๆไวๆ ก้อแบบนั้น

เรื่องคอขาดบาดตาย เลยหาผู้คนสนใจยาก หมกเม็ดความเสี่ยงภัยให้ประชาชน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แต่อย่าลืมนะ เจ็บตายกันมากๆ วันไหน บันได ที่ก้าวกันขึ้นไป มันจะหักแล้วตกลงมาหัวทิ่ม แบบนั้นแหระ!!

มีบางคนบอกว่า ใครทำกรรมอะไรไว้ก้อจะได้แบบนั้น

คนภาคอุตสาหกรรมกรรมบอกว่า ทำเพื่อสร้างสรรจรรโลงโลก เพราะผลิตสิ่งต่างๆ เพื่อให้คนใช้ อำนวยสะดวก

คนภาคสิ่งแวดล้อมบอก ต้องรักโลก ต้องดูแล ต้องมีป่า มีเขา มีสิ่งเดิมๆ

ก้อดี ที่ทุกฝ่าย ต่างบอกว่า มันเป็นทฤษฎีเกม ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด ก้อทำกันไปเถอะ อย่าลืมว่า เวลาตกบันไดจากขั้นสูงๆ นั้น มันเจ็บแค่ไหน แบบนั้นด้วยก้อแล้วกัน

สั้นๆง่ายๆ สายตาไม่ดี พิมพ์นานๆตาปวดหลังเจ็บ


ทรัพยากรน้ำ และการปันส่วนน้ำในภาคตะวันออก
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น - [ 18 ก.ค. 48, 23:35 น. ]

ข่าวคราวเรื่องปัญหาน้ำในภาคตะวันออก ที่เป็นข่าวใหญ่โตว่า จะเกิดปัญหาใหญ่ ขนาดสูญเสียรายได้ในการส่งออก ประมาณ 3.6 แสนล้าน โรงงานจะต้องปิด ซ่อมบำรุงก่อนกำหนด เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในขบวนการผลิตและชะล้าง รวมทั้งการไม่มีน้ำจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าหลายโรงด้วย กรณีนี้น่าเป็นกรณีศึกษาสำหรับปีถัดๆไปในการบริหารทรัพยากรน้ำและคงเป็นการดีที่หลายๆฝ่ายจะต้องเริ่มหันมามองการถึงการแบ่งปันทรัพยากร (มิได้เอาแต่แย่งกันกินกันใช้เหมือนปกติชาวบ้าน ใครจำเป็นต้องใช้มากก้อดูดจนเกลี้ยงสาย ทำให้หลายบ้านเดือดร้อน) การจัดแผนงานการซ่อมบำรุงประจำปีควรจัดช่วงที่เหมาะสมกับการแบ่งปันทรัพยากร ในปีนี้มีข้อเสียตรงที่มีการปกปิดข้อมูล และการแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ ในเดือนเม.ย.48โดยผู้ว่าการนิคมฯเอง ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมต่างๆ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกด้วย (นสพ. ไทยรัฐ 14 เม.ย. 48) ทางอีสวอเตอร์ออกมาให้ข่าวตอกย้ำในอีก 5 วันถัดมาว่า จะไม่มีปัญหาเพราะมีการจัดการแล้ว อีกทั้งจะมีโครงการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงอีกด้วย (นสพ. ข่าวสด 19 เม.ย. 48) ซึ่งร่วมกันออกมาให้ข่าว หลังจากที่ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด ระยอง เขียนจดหมายถึงผู้จัดการโรงไฟฟ้าให้แก้ปัญหาเรื่องการใช้น้ำประปาและน้ำดิบ วันที่ 13 มี.ค.48 และสำเนาให้ทุกฝ่ายที่ควรรับผิดชอบรู้ โดยสำเนาให้กับนายกรัฐมนตรี ผ่านเวบไซด์ระฆังดอทคอม ส่งทั้งทางเมล์และทางไปรษณีย์ ให้กับ รมต.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้ว่าการนิคมแห่งประเทศไทย, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (เป็นผู้ว่าซีอีโอด้วยหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน แต่ว่าจะเป็นซีอีโอได้จริงหรือไม่ในพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่มีกฎหมายเฉพาะ) ดูเหมือนว่า จะมีหน่วยงานของนายกรัฐมนตรี ตอบโดยสำนักนายกฯ ซึ่งติดตามปัญหาเรื่องนี้ ตอบมาวันที่ 19 เม.ย.48 และให้คำตอบที่ไม่ตรงคำถามแต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่มีการเข้ามาสนใจปัญหา แต่การที่ตอบคำถามไม่ตรงประเด็นเลยยังคงเป็นเรื่องข้อสงสัยต่อไปอีกกับปัญหาที่จะเกิดในอนาคตอีก 25-30 ปี ข้างหน้า


ที่ประชุมชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด

13 มีนาคม 48

เรียน ผู้จัดการโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP ที่นับถือ
เรื่อง การใช้น้ำดิบและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาของชุมชน

สำเนาเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
รมต. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ตามที่ได้ทราบข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แ ก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP นั้น พบว่า ในระยะเวลาดำเนินการ ทางโรงไฟฟ้าจะใช้น้ำประปาสูงถึง 4,500 ลบ.ม ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการใช้น้ำของชุมชน ประมาณ 6,000-7,000 ครัวเรือน ต่อวัน

ทั้งนี้ขณะนี้ทางการประปาระยองได้โอนย้ายให้ เขตมาบตาพุดทั้งหมด ไปใช้น้ำจากประปาบ้านฉาง และประกอบกับน้ำประปาที่ใช้มีจำนวนไม่เพียงพอ มีการหยุดไหลตลอดทั้งปี (ไม่ใช่เกิดปัญหาเฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น) จึงใคร่ขอความกรุณา ให้ทางโรงไฟ้าพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น ในช่วงการดำเนินการของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตลอดระยะ สัมปทาน 25 ปี (ทั้งนี้เป็นแหล่งน้ำดิบเดียวกัน) ทั้งนี้ปัญหามลพิษในอากาศยังไม่รู้ว่าจะควบคุมได้ดีอย่างไร

ข้อเสนอแนะ
1. ให้ทางโรงไฟฟ้าจัดทำอ่างเก็บน้ำดิบ-น้ำฝน ใน พท.ส่วนขยาย หรือบริเวณใกล้เคียง
2. ให้โรงไฟฟ้าจัดทำระบบรีไซเคิ้ลน้ำ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เฉพาะบางกิจกรรมขบวนการผลิตและกิจกรรมที่ลานกองถ่านหินได้ โดยตระหนักถึง ผลกระทบถึงมลภาวะทางทะเลด้วย ในกรณีการชะล้างไม่สมบูรณ์

จึงเรียนมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ ก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ และสร้างผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้ช่วยชี้แจงมาตรการที่จะแ ก้ไข ให้ชุมชนทราบต่อไปด้วย


ขอแสดงความนับถือ

ชาวบ้านชุมชน ต.มาบตาพุด


ตามที่ท่านได้ส่งเรื่องผ่านทางระฆังห่วงใย...จากใจนายกรัฐมนตรี (www.rakang.thaigov.go.th) เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้น้ำประปาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP จ.ระยอง ความแจ้งอยู่แล้วนั้นบัดนี้

สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการดำเนินการจากสำนักงานประปาบ้านฉาง
ดังนี้ ตามบันทึกที่ รย0016.3/ว.3802 ลว.23 มี.ค.2548

เรื่อง ปัญหาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรหัสเรื่อง 480357146
ลงวันที่ 15 มี.ค.2548 เรื่อง การร้องเรียนทางเว็บไซด์ "ระฆังห่วงใย...จากใจนายกรัฐมนตรี" นั้น สำนักงานประปาบ้านฉาง ปัจจุบันใช้น้ำจากบริษัท จัดการพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกจำกัด(มหาชน) และทางบริษัท ฯ ได้รับการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกรายและหนองปลาไหล ซึ่งเป็นของกรมชลประทานมาผลิตน้ำประปาจำหน่ายให้กับผู้ใช้น้ำประปา ในเขต อ.บ้านฉาง และต.มาบตาพุด ซึ่งเพิ่งได้รับโอนมาจาก สำนักงานประปาระยอง

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2548 ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานประปาบ้านฉาง มีจำนวนผู้ใช้น้ำทั้งเขต อ.บ้านฉาง และ ต.มาบตาพุด อยู่ประมาณ =12,800 ราย ใช้น้ำอยู่ประมาณวันละ 18,000 - 20,000 ลบม.ซึ่งเพียงพอที่ สำนักงานประปาบ้านฉาง จะจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้น้ำโดยไม่รวมกับของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP. และหากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ไม่เกินระยะ 2-3 เดือนนี้ คือหากปัญหาภัยแล้งไม่เกิดยาวนานจนเลยเดือน มิ.ย.2548ก็คงไม่กระทบกับการจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งมาผลิตเป็นน้ำประปาจ่ายให้กับผู้ใช้น้ำประปาอย่างแน่นอน

จึงเรียนมาเพื่อทราบ (รหัสเรื่อง480357146)


ผู้ประสานงาน นางสุภาภรณ์ กลิ่นขจร
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

19/4/2548

ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
โทรศัพท์ 0-2280-7171 สายด่วน 1376
โทรสาร 0-2283-1285


จากเรื่องราวด้านบนพบว่าทุกฝ่ายออกมาประกาศว่าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ไม่มีคำตอบจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รมต. ทรัพยากร หรือจะตกข่าวตรงนี้เพราะประกาศไม่กว้างขวางหรือขาดการจัดการสื่อ อันนี้ไม่ชัดเจน


ข้อมูลวันนี้สถานการณ์น้ำจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย-หนองปลาไหล

มีใครพอจะทราบบ้างรึเปล่าว่าตอนนี้ ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆในแถบเมืองระยองอยู่ในระดับต่ำมาก?

ปัจจุบันพวกเรากำลังอยู่ในวิกฤตภัยแล้งระดับ 4-5 จากภาวะฝนทิ้งช่วงถึงเดือนสิงหาคม 2548 หรืออาจจะทำให้นิคมมาบตาพุดต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน กนอ.จะขอให้มีการลดใช้น้ำ 10% และจะประกาศภาวะวิกฤตระดับ 5 ประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2548
มีการประมาณการกันจากปริมาณน้ำที่มีและปริมาณน้ำที่ใช้กัน ได้ผลว่าระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักของระยอง หรืออ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลจะลดลงจนถึง dead volume ประมาณกลางเดือน กค.

ปัจจุบันทุกโรงงานในนิคมมาบตาพุดต้องลดปริมาณการใช้น้ำ 10 % ถ้าปริมาณน้ำยังคงลดลง ต้นเดือนจะเข้าวิกฤติระดับ 5 และถ้าโรงงานปิโตรเคมีในนิคมจำเป็นต้องหยุดการผลิต 2-3 เดือน ตัวเลขประมาณการการสูญเสียรายได้โดยตรงเนื่องจากการหยุดการผลิตสูงถึงหลักพันล้านบาท จำเป็นต้องนำเข้าวัตุดิบจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าในหลักพันล้านบาทเช่นกัน ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการสูญเสียรายได้ทางอ้อม เช่นจากกลุ่มผู้รับเหมา ฯลฯ เป็นต้น

แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นข้อมูล
- Level 1 (Total Volume 100 Million Cu.m.): Send Data every month
- Level 2 (Total Volume 75 Million Cu.m.): Send Data every week
- Level 3 (Total Volume 50 Million Cu.m.): Send Data every day
- Level 4 (Total Volume 40 Million Cu.m.): Reduce Water Supply to All Customer 10%
- Level 5 (Total Volume 30 Million Cu.m.): Reduce Water Supply to Factory Outside IEAT20%-30%

ขณะนี้ดูเหมือนทุกฝ่ายที่ตอบคำถามไว้กำลังกลับลำ หันออกมาประโคมข่าวดังๆ ว่าจะสูญเสียรายได้ถึง 3.6 แสนล้าน กนอ.จะมีมาตรการให้ลดการใช้น้ำ มีการประชุมเพราะให้ปิดซ่อมบำรุงก่อนกำหนดสำหรับโรงงานที่ไม่ได้ผลิตเพื่อบริการต่อกลุ่มโรงงานอื่นที่ไม่มีปัญหาน้ำแต่ยังต้องเปิดดำเนินการอยู่ เพราะถึงอย่างไรโรงไฟฟ้า 3-4โรงในนิคมต่างๆจำเป็นคงยังต้องเปิดดำเนินการต่อไป และยังจะมีการอนุญาติพิเศษสำหรับการดูดน้ำบาดาลขึ้นใช้อีกในอนาคต(ตรงนี้อันตรายมากเลย ควรไตร่ตรองถึงผลเสียในอนาคต รวมถึงการควบคุมไม่ได้ดี แม้ว่าจะมีการแอบลักลอบทำอยู่ในหลายๆที่ในขณะนี้ ทั้งนี้ถ้ากรณีนี้เป็นการสมยอมจากภาครัฐด้วย อาจจะส่งผลเสียใหญ่หลวง ดินทรุด ดินถล่ม อันนี้ต้องระวังมาก) การจัดให้แต่ละโรงงานจัดทำระบบรีไซเคิลน้ำ อันนี้ควรต้องทำอย่างรีบด่วนมาก เพราะมีประโยชน์ในเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีระบบ และคุ้มค่า ไม่ได้สักแต่ว่ามีเงินซื้อมีเงินใช้จะใช้อะไรแบบฟุ่มเฟือยอย่างไรก้อได้ เพราะโรงงานสร้างปัญหาก่อมลพิษในสภาวะแวดล้อมแล้ว ยังมาเบียดบังน้ำที่จะต้องมีผู้ใช้อื่นด้วย ทั้งภาคการบริโภคของประชาชนและการใช้น้ำภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคหลักในการสร้างอ่างเก็บน้ำ จากนโยบายเดิม ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้งหมด ควรอยู่ในภาคเกษตรกรรม-ชลประทาน แต่การโอนย้ายให้อีสวอเตอร์เป็นเจ้าภาพในจัดการน้ำโดยภาคเอกชน ตรงนี้มันแปลกมานาน แต่ในเมื่อภาคเกษตรกรรมได้เงินน้อยจากภาคการส่งออก ไม่แปลกอะไรที่จะโอนทรัพยากรในส่วนนี้มาให้ภาคอุตสาหกรรมจัดการแทน และสุดท้ายต้นทุนน้ำอาจพุ่งสูงถึง ลบ.ม ละ 20บาทหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความฟุ่มเฟือยของภาคอุตสาหกรรม แต่ในที่สุดประชาชนและภาคเกษตรกรรมเดือดร้อนไปด้วย (คงต้องรวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวด้วย) รัฐบาลบอกประชาชนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ทั้งที่ ในส่วนภาคประชาชนมีสัดส่วนการใช้พลังนานน้อยมากถ้าเทียบจากสัดส่วนของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ความเป็นจริงคือรัฐสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อโรงงานต่างหาก เลิกบิดเบือนความเป็นจริงในข้อนี้ กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างเสร็จจะมีการขยายโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกอย่างกว้างขวาง มีการขยายเฟสของโครงการท่าเรือมาบตาพุด มีการประกาศขยายเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะขึ้นเลาะชายฝั่งทะเลไปทางด้านซ้ายและขวาของโครงการท่าเรือมาบตาพุดเดิม และตรงนี้จะเป็นมือใครยาวสาวได้สาวเอาสำหรับการใช้พื้นที่ชายฝั่ง (ตรงนี้ลองสอบถามกรมเจ้าท่าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และตรงนี้จะเกิดอะไร โครงการอาจจะยาวไปถึงท่าเรือสัตหีบฯ เท็จจริงแค่ไหนคงต้องติดตามกันต่อไป ว่าเงินซื้อได้ทุกอย่าง)

ข่าวเรื่องการขาดแคลนน้ำ ประกาศออกมาในจังหวะเวลาที่รัฐบาลกำลังหาโครงการมาใช้เงิน 1.7 ล้านล้านบาทด้วย การออกมาให้ข่าวอย่างมีระบบนี้มีนัยว่าจะต้องมีโครงการในการพัฒนา-จัดการทรัพยากรน้ำร่วมด้วย แต่การออกมาให้ข่าวลักษณะนี้ทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย แต่แนวโน้มที่ไม่ดีกลับมีผลดีกับสิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อม มากที่สุด เพราะ…การมาของโรงงานจะน้อยลงเพราะบริเวณภาคตะวันออกของไทยไม่มีน้ำใช้ นักลงทุนคงไม่อยากมาเสี่ยง อีกทั้งต้นทุนของน้ำสูง นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในจีนดีกว่าต้นทุนค่าแรง-ทรัพยากรถูกกว่า แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าบ้างแต่ขณะนี้จีนหันมาสร้างโรงไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อเตรียมให้ภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆที่จะเข้าไปลงทุน (ทำลายบรรยากาศการลงทุนไปแล้วย่อยยับ ตรงนี้เล่นอะไรอยู่)


ผลดีต่อภาคประชาชนคือ การมาของโรงงานจะน้อยลง มลพิษน้อยลง แต่ตรงนี้จะเป็นความต้องการของชาวระยองหรือไม่ตรงนี้ไม่ชัดเจน เพราะคนระยองไม่ได้สนใจเรื่องการมาของโรงงาน แต่ถ้าไม่มีโรงงานมาสร้างคนระยองอาจขาดรายได้จำนวนมหาศาลด้วยก้อได้ เอาเป็นว่ามีผลดีต่อสภาพอากาศที่นับวันจะเลวร้าย เพราะแม้กระทั่ง คณะผู้บริหารโรงไฟฟ้าใหม่ ยังต้องไปหาที่พักที่ห่างไกล เพราะไม่อยากเจอมลพิษ กำลังเลือกทำเลว่าจะเป็นสัตหีบหรือบ้านฉาง แต่บ้านฉางสุดท้ายแล้วจะไม่ต่างอะไรกับมาบตาพุด ใน 3-5 ปีข้างหน้า ทำไมไม่อยู่เผชิญปัญหาแบบศูนย์ราชการที่ย้ายมาอยู่แถวมาบตาพุด(เพราะแถวนี้มีเม็ดเงินใหญ่หรือต้องการมาร่วมกำกับดูแล ตรงนี้ไม่ชัดเจน)

จากที่กล่าวมา พอสรุปได้ว่า โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ควรจะต้องเตรียมจัดหาแหล่งเก็บน้ำ-การผลิตน้ำใช้เอง รวมทั้งขบวนการรีไซเคิลในส่วนขบวนการชะล้าง ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้ามีสัดส่วนในการใช้ทรัพยากรน้ำลดลงได้ จากวันละ 4,500 คิวเหลือวันละ 2,000คิว และจะไม่ทำให้เกิดเดือดร้อนทุกภาคส่วนในอนาคต งานส่วนตรงนี้ยังไม่รู้ว่า หน่วยงานไหนจะสั่งการให้โรงไฟฟ้าดำเนินการได้ เพราะเป็นพันธกิจของรัฐที่ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้นักลงทุน (ไฟฟ้า-น้ำ-ถนน-ท่าเรือและการลดภาษี) แต่ทางโรงไฟฟ้าเองควรตระหนักถึงวิกฤตในอนาคต รวมทั้งในส่วนผู้ลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาซื้อโรงไฟฟ้าหลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย มูลค่าส่วนต่างกำไรจะลดลงเพราะปัญหาน้ำกำลังเป็น Dead Lock ในส่วนของขบวนการผลิต

หวังอย่างยิ่งว่าแต่ละส่วนที่รับผิดชอบจะหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาให้กับอนาคต กับทุกภาคส่วนด้วย



ข้อมูลจาก มาตรการป้องกัน แก้ไข และมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารแนบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCP


ภาพถ่ายทางอากาศโรงไฟฟ้าถ่านหิน บีแอลซีพี ซึ่งมีพื้นที่ส่วนขยาย ซึ่งสามารถทำแหล่งน้ำสำรองและระบบรีไซเคิลน้ำได


ข้อมูลจากการสัมนากลุ่มย่อย
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ระยอง

18 มิ.ย. 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น