จากคำชี้แจง ของ ปตท. ต่อชาวบ้านว่า เป็นกรณีความขัดแย้ง ระหว่างผู้ประสานงานกลุ่มฯ กับ บ.อิตาเลี่ยนไทย ที่เคยทำงาน แต่เอามาลง กับ ปตท. นั้น การไล่ออก ปลดออก ขอให้ออก ปัญหา คืออะไร ตามไปดูกัน ... กับการเป็นแกะดำ ว่าปัญหาการปล่อยให้ขาดทุน การทุจริตคอรัปชั่น ของ บริษัทมหาชน - ผู้ถือหุ้นรายย่อย ได้รับผลกระทบอย่างไร กับการเป็นเหยื่อของความอยากได้อยากมีอยากกำไร
เหตุผลหลักของการขาดทุนในโครงการต่างๆ
ของ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
15 September 2009
ครบรอบ 1 ปีเลห์แมน บราเธอร์ ล้มละลาย อดีตพนง.แฉบิ๊กบอสเมินคำเตือน
ครบรอบ 1 ปีในวันอังคาร(15 กันยายน 2008) การล้มครืนของ "เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท ที่จุดชนวนเริ่มต้นวิกฤตการเงินและลามมาเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของโลกในรอบ 60 ปี ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ บุคคลวงในซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือขายดีแฉเรื่องราวเบื้องลึกเหตุการณ์อันน่าตื่นตะลึงคราวนี้ ให้สัมภาษณ์เล่าสรุปถึงสิ่งที่เขาพบเห็นด้วยตนเองและสิ่งที่เขาได้รู้จากการสัมภาษณ์คนอื่นๆ ภายในบริษัท ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ ยังคงรู้สึกหนาวสะท้านไปถึงกระดูกสันหลัง ทุกครั้งที่เขาขับรถผ่านอาคารในวอลล์สตรีทซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเลห์แมน บราเธอร์ส ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นทำงานเทรดเดอร์ตราสารหนี้ผู้มีผลงานเยี่ยมระดับทำกำไรได้สูงที่สุดคนหนึ่ง "ที่แย่ที่สุดก็คือชะตากรรมของคนกว่า 20,000 คนที่ถูกกำหนดในอาคารหลังนั้น โดยเฉพาะจากบนชั้นที่ 31" แมคโดนัลด์ วัย 43 ปี ให้สัมภาษณ์เนื่องในวาระครบหนึ่งปีหลังจากที่กิจการวาณิชธนกิจอายุ 158 ปีแห่งนี้ ต้องยื่นขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลายของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2008 กลายเป็นกรณีล้มละลายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และทำให้พนักงานจำนวนประมาณ 25,000 คนต้องตกอยู่ในภาวะไร้อนาคต อีกทั้งยังกลายเป็นคลื่นยักษ์สึนามิทางการเงินที่ซัดกระหน่ำไปทั่วโลกซึ่งมีผลสะท้อนต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ เลห์แมนล้มครืนลงมาจากการต้องแบกหลักทรัพย์ที่อิงอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมเป็นมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ แต่แมคโดนัลด์มีความเห็นว่า ที่จริงเลห์แมนอาจไม่ถึงกับต้องล้มละลายก็ได้ ถ้าหากพวกบิ๊กบอสเอาใจใส่กับคำเตือนต่างๆ ที่ออกมามากมายในช่วงก่อนหน้านั้น เขาบอกว่าพวกผู้นำระดับสูงของเลห์แมน "พาพวกเราแล่นตะบึงไปข้างหน้าด้วยความเร็วถึง 261 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ... แล้วพุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งวิกฤตซับไพรม์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา"
Web Page Editing on 15 September 2009
เหตุผลหลักของการขาดทุนในโครงการต่างๆ
ของ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
คือ ... การมีวัฒนธรรมองค์กร...ที่เลวร้าย !!!
ทำไมถึงต้องใช้คำรุนแรงขนาดนี้ ... ในเมื่อ บริษัทฯ ไม่ใช่มูลนิธิการกุศลฯ จึงต้องประกอบการเพื่อแสวงหาผลกำไร-ขยับขยายองค์กร ซึ่งการที่คนเกือบทั้งองค์กรฯ ไม่สนใจผลประโยชน์บริษัทฯ ไม่สนใจว่ากำไร-ขาดทุน คืออะไร ผลประกอบการของบริษัทฯ จึงเป็นแบบที่เป็นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ที่โครงการที่รับมาดำเนินการขาดทุนสูงเกือบทั้งหมด ความเสียหายที่มาจากส่วนงานอื่น เช่น เจ้าของงาน หรือผู้ว่าจ้าง ถูกละเลยที่จะเรียกร้องค่าชดเชย โดยอ้างว่า เสียความสัมพันธ์และรับเงินงวดงานล่าช้า, วาระรับรู้ที่ซ่อนเร้นว่าทุกๆส่วนต่าง 10 สตางค์ ของราคาหุ้น มีผลต่อมูลค่าหุ้นที่เจ้าของบริษัทฯถือไว้ มากกว่า 120-150 ล้าน ในห้วงเวลาที่ผ่านมา และเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความรู้สึกไม่ใส่ใจของผู้บริหารฯ-สิ่งที่พนักงานหลายฝ่ายรับรู้ จนทำให้ ความรู้สึกที่จะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ หายไป กลายเป็นแค่การดำรงตน ให้อยู่กับระเบียบต่างๆ มาทำงานทุกวัน เช้ามา-เย็นกลับ ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน และสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล จนทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เลวร้าย มาจาก ... การไม่ใส่ใจของผู้บริหารฯ.-
o การสนับสนุนผู้บริหารฯโครงการที่ขาดทุนสูง ให้มีตำแหน่งการงานดีขึ้น
o การขอให้ออกหรือปลดออก กับผู้บริหารโครงการฯ ที่ทำผลกำไรและรักษาผลประโยชน์ บริษัทฯ โดยอ้างว่ามีการเรียกร้องโบนัสให้พนักงานในส่วนงานนั้น หรือขอขึ้นเงินเดือนตัวเอง - ลูกน้อง
o ขาดระบบประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ การให้รางวัลหรือปรับขึ้นเงินเดือน มาจากคนของใครเท่านั้น
o ปล่อยให้มีการทุจริตอย่างกว้างขวาง มีการปกป้อง-ปกปิดให้ โดยผู้บริหารฯ
o ไม่สนใจข้อมูลและรายงานแจ้งเตือนต่างๆ เพื่อบริหารการตัดสินใจ กลับปล่อยปละละเลย จนเกิดความเสียหายมาก .... “ผู้บริหารฯไม่สนใจเรื่องกำไร-ขาดทุน พนักงาน-ผลงาน ย่อมไร้คุณค่า หาตัวชี้วัดไม่ได้”
เรื่องเงินบริษัทฯ ที่ผู้บริหารไม่สนใจใส่ใจ กับข้อคิดความเห็นที่ว่าต้องควบคุม บริหารการจัดการ
ตรงนี้มั้ย จึงถูกไล่ออกเพราะเป็นแกะดำของบริษัท
www.itd-lost.co.cc
หรือ http://boonchoo.org/itdlost
http://boonchoo.org/itdlost/data/letter/MyPetition.rar
เวบไซด์ถูกเขียน และจบลงในเดือน กันยายน 2552 แล้วมันจะเกี่ยวอะไร กับการทิ้งความเสี่ยงให้ประชาชนชาวบ้าน ในมาบตาพุด ของ ปตท. ที่ก่อสร้างโรงงานสารเคมีอันตรายมากมายในมาบตาพุด โดยไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ที่อ้างเพียงว่า ดินในโรงงานของ ปตท. แข็งแรงกว่า ดินในโรงงานอื่นติดกัน 3-7 เท่า ตรรกะนี้ เชื่อได้หรือ ว่าเป็นเทคนิคการก่อสร้างพิเศษ (มักง่ายเป็นพิเศษมากกว่า!)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น