โปสเตอร์ โรงแยกก๊าซเสี่ยงสร้างภัยหายนะ
อันตรายร้ายแรง กับรูปตัวอย่างภัย ที่ซาน ฮัวนิโก ที่ชาวบ้านตายสูญหายนับพัน
บาดเจ็บนับหมื่น บ้านเรือนร้านโรงถูกเผาวอดวาย ค่อนเมือง
ถูก พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522 ผิด พรบ.โรงงาน ปี 2535
เพราะไม่ใช่เรื่องสร้างทำได้มาตรฐานของโรงงานวัตถุอันตราย - สารไวไฟ
ความเสี่ยงภัยของคนมาบตาพุด
สภาวะส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย ไม่ใช่ผลกระทบหรือ
แบบก่อสร้างโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ที่ไร้มาตรฐาน-ข้อกำหนดงานดิน
แบบก่อสร้างโรงงานติดกับโรงแยกก๊าซใหม่ ที่ทำไม ต้องตอกเสาเข็มจำนวนมาก
ฟ้องแบบไหน ทำไมโรงงานติดกัน ดินแข็งน้อยกว่าถึง 6 เท่า
โรงงานระเบิด เกิดยากส์ แต่ทำไมเป็นข่าวเฉลี่ย มากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน
หลักฐานใหม่ไม่ได้ใหม่อะไร เมื่อหลักฐานเก่าไม่อ่านไม่ดู
สิ่งที่ยังไม่ได้อ่านยังไม่ได้ดู...ย่อมถือว่าใหม่ทั้งสิ้น
อยู่ติดตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน ที่มีโรงงานวัตถุอันตราย และสารไวไฟ
รายล้อมอยู่จำนวนมาก
พนง.เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ ปล่อยปละละเลย ให้มีการสร้างทำ โรงงานวัตถุอันตราย
เสี่ยงทรุดพัง อยู่ใกล้ตลาด อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน...ผิดมั้ย กม.
ใครบอกได้บ้างไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงงานมันปลอดภัยดีหรือ
- ไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยง เพราะล้มพัง สร้างปัญหาทั้งตำบล
–
๐
พรบ. โรงงาน ปี 2535 อาคารโรงงาน
ต้องสร้างทำให้ “มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม” ซึ่ง
กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ
มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆนั้น ต้องการความมั่นคงแข็งแรง
ของโครงสร้างต่างกัน ในการสร้างอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก
ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้
ให้ทรุดได้น้อยมาก 5-15 มิลลิเมตร (0.5-1.5 เซนติเมตร)
เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ ปตท. หรือเทียบเท่า มาตรฐานสากลทั่วไป
หรือเทียบกับความหนาของตลับยาหม่อง
เสมือนไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น...แล้วทำไม ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด อายุใช้งาน 30-40 ปี
จะทรุดพังปีไหน และถ้าในฤดูฝนนี้ล่ะ ทันการณ์ ทันเวลาหรือไม่ แก้ปัญหา
ด้วยหลักวิชาหลักเหตุผล เกิดเหตุภัยร้ายแรง กระทบความมั่นคงของชาติ ๐
ฐานรากที่ไม่ยอมให้ทรุดได้เลยนั้น
มาจากเหตุผลที่ว่า “การคำนวณในส่วนของ ระบบท่อก๊าซเหลวที่โยงใยกันยั้วเยี้ยนั้น
ประกอบด้วยข้อต่อ จำนวนมาก ประกอบด้วยวาล์วต่างๆ วาล์วควบคุม วาล์วตรวจสอบ
วาล์วลดเพิ่มความดัน ความดันของก๊าซเหลวในท่อ อุณหภูมิที่แตกต่าง-เพิ่มลด
มีทั้งร้อนจัด ทั้งเย็นจัด แรงดึง แรงสั่น แรงการจากไหล
ศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลซึ่งนั่นหมายถึงความเสียหาย
ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ระเบิดได้
หรือแพร่กระจายสารพิษที่เป็นอันตรายเฉียบพลันได้” การทรุดของฐานยึดต่างๆ
ทำให้เกิดแรงเฉือนแรงบิดโมเมนต์มหาศาล ซึ่งแรงต่างๆ นี้ คำนวณไม่ได้
ไม่มีขนาดที่ชัดเจน ดังนั้น มาตรฐานในการสร้างทำ
โรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงาน
จึงถูกกำหนดให้การทรุดตัวที่ยอมจะเกิดขึ้นน้อยมาก
เสมือนหนึ่งว่าไม่ยอมให้ทรุดได้เลย ซึ่งตรงนี้ เป็นเหตุผลว่า ทำไม
พรบ.โรงงาน จึงไม่ได้บอกว่า “การสร้างทำอาคาร
ให้อิง พรบ.ควบคุมอาคาร ปี 2522” เพราะต้องสร้างทำให้เหมาะสม
กับความต้องการตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้ ใน
พรบ.ควบคุมอาคาร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ระบุให้ใช้ทั่วไป
การทรุดเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ -
ระหว่างที่ทำการติดตั้งเครื่องจักร
ในโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. มีการทรุด และรื้อซ่อมใหม่ มากกว่า 10 จุด
และก่อนที่จะมีการทดสอบระบบ มีการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า
มีการทรุดตัวต่างกันเกินค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้ คือ 5มิลลิเมตรไปแล้ว
ในหลายจุด จากรายงานการทดสอบ เพียง 20 ฐานราก
จากทั้งหมดมากกว่า 2,000 ฐานราก
เมื่อ เดือนมกราคม 2553
เมื่อไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด และมีข้อกำหนดความทรุดตัวต่างกันน้อยมาก
0.5-1.5 ซม.เท่านั้น ที่จะไม่กระทบกับท่อและข้อต่อต่างๆ
อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดก๊าซแตกรั่วได้
โอกาสเกิดการรั่วไหลรุนแรงจึงมีโอกาสสูงมาก
เพราะการไม่ตอกเสาเข็มทั้งโรงแยกก๊าซที่ 6
และโรงแยกก๊าซอีเทน ดังนั้นที่ทำการศึกษาประเมินบ่งชี้ความเสี่ยง
การศึกษา
HAZOP ที่ไม่ได้อ้างอิงการทรุดของฐานรากต่างๆ
เอาไว้ด้วย
วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ย่อมอยู่ในความไม่แข็งแรง ทั้งระบบ
เมื่อมีการเสี่ยงทรุดของฐานราก
2-3 พันตัว
ไม่ใช่เรื่องสภาวะแวดล้อมกลไกภายนอก หรือจากเหตุไม่คาดฝัน จากพายุร้อยปี
แผ่นดินไหวอะไรนั่น แล้วทำไมต้องปล่อยให้มีความเสี่ยงมหาศาล กับ พนง.ปตท.
เอง กับประชาชนชาวบ้าน ประเทศชาติ ...กรมโรงงาน และผู้เกี่ยวข้อง ต้องให้ ปตท.
ประเมินความเสี่ยงของทุกโรงงานใหม่ทั้งหมด
และทำการซ่อมสร้างใ้ห้เป็นไปตาม "มาตรฐานสากล"
ของ ท่อ-ข้อต่อ-วาล์ว และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ
อันตรายและความรุนแรง จาก ตารางรัศมีการได้รับผลกระทบ กับแผนที่ จะพบว่า
ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง ผลกระทบต่อคน ซึ่งคน 100%
ตายภายใน 1 นาที
ที่ระยะ 600 ม. รัศมีเหตุรุนแรง ส่งผลกระทบต่อคน คน 100%
ตายภายใน 1 นาที
โอกาสในการระเบิด 6 ใน 1,000,000,000 ซึ่งยากมาก
แต่การสร้างทำโดยไม่มั่นคงแข็ง แรง ฝนตกหนัก พายุลมแรง
จะล้มพังสร้างภัยหรือไม่ โอกาสการเกิดมาจากสถิติในหนังสือนั้น
เชื่อถือได้แค่ไหนก้อในเมื่อเมืองไทย 2 เดือน 2 ครั้ง
วันที่ 5-5-55 โรงงาน บีเอสที มาบตาพุดระเบิด และ
วันที่ 4-7-55 โรงกลั่นบางจากระเบิด...และจะเมื่อไหร่ที่ไหนอีก
- โอกาสเกิดการรั่วไหลของโปรเพน
/ LPG เท่ากับ 6 ในล้าน
ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)
- โอกาสเกิดการรั่วไหลของกาซโซลีนธรรมชาติ เท่ากับ 2 ในแสน
ครั้ง/ปี (เชื่อได้หรือ ทำรั่วไหลกันประจำ)
* ระดับความรอน - ผลกระทบตออุปกรณ
ผลกระทบตอคน *
ในรัศมี 2 กิโลเมตร ครอบคลุม ชุมชน และโรงงานอื่นๆจำนวนมาก จะมีคน
1 %
ตายภายใน 1นาที ที่เหลือ 99 %
หมายถึง การตาย หรือบาดเจ็บ ไม่ใช่ถูกประเมินว่า จะตายแค่ 1 %
ที่เกิดขึ้นที่เม็กซิโก ตายหลายร้อยคน บาดเจ็บหลายหมื่น
บาดเจ็บสาหัสหลายพันคน บ้านเรือนถูกเผาวอดวาย
ตรงนั้นมีเพียง 1 ใน 7 ของคลังก๊าซ ปตท. เสี่ยง และตรงนี้คือ อันตรายที่ยังไม่รวมถึงอันตรายจากแรงอัดของระเบิด แค่กรณี LPG
BLEVE 1 ถัง ใน 12 ถัง ขนาดใหญ่
ที่อ้างว่า
มีฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา
แล้วมีมาตรฐานสูงจึงไม่เป็นความจริง
เกิดเหตุภัยแล้ว ประชาชนชาวบ้านตื่นกลัว แม้ไม่เจ็บตาย
คนอยู่รอบโรงงานเสี่ยงภัย ไม่ใช่ผู้มีผลกระทบหรือ ที่ทำไมคน กทม.
อยากให้รื้อโรงกลั่นบางจาก
อ้างมีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา
จึงมีมาตรฐานสูงระดับโลก
ทั้งที่แบบก่อสร้างทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร
แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน ให้ดินรับแรงได้ตรง กับการออกแบบ
ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด กม. แล้วถูก กม. แบบไหนที่โรงงานวัตถุอันตราย
สร้างทำกันแบบนี้
แบบก่อสร้าง - โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.
ซึ่งแบบของโรงแยกก๊าซที่
6
และโรงแยกก๊าซอีเทน
ลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้รับเหมาหลักเดียวกัน
เวลาการก่อสร้างช่วงเดียวกัน งานฐานรากต่างๆ มิ.ย.51-พ.ย.51 ระยะเวลา
5.5 เดือน
ฐานรากทั้งหมด เป็นฐานรากตื้นไม่มีเสาเข็ม
ในส่วนโครงสร้างรับระบบท่อเป็นฐานรากหล่อสำเร็จ
แต่โรงแยกก๊าซอีเทน ขออนุมัติโครงการก่อน จึงไม่ได้ถูกระงับ
(แบบที่ใช้ในการก่อสร้าง
ทั้งหมดจะไม่มีการลงนามอนุมัติ ต่างกับแบบก่อสร้างในระบบราชการ)
สังเกตุด้านขวาของแบบซึ่งระบุชนิดและความแข็งแรงของคอนกรีตและเหล็กเสริม
แต่ไม่มีการระบุความแข็งแรงหรือความหนาแน่นของดิน
เพราะชนิดและความแข็งแรงของวัสดุเป็นการกำนดจากการออกแบบฐานราก
(วัสดุเกี่ยวข้องกับงานฐานราก
- ความแข็งแรงของดินหรือเสาเข็ม, คอนกรีต
และเหล็กเสริม)
แบบฐานราก-ถังเก็บสารเคมีเหลว
แบบฐานราก-ถังเก็บก๊าซทรงกลม ขนาด
6,000
ม3
แบบฐานราก-หอต้ม/หอความดัน ความสูง
40-50 ม. (ลดหลั่น)
แบบฐานราก-โครงสร้างรับระบบท่อ ความสูง
21-24 ม.
แบบโครงสร้างรับท่อ
ค่ากำหนดมาตรฐานการทรุดตัวที่ยอมรับได้
ในการออกแบบก่อสร้างฐานรากคอนกรีตและพื้นคอนกรีต
โดยกำหนดค่าทรุดตัวที่ยอมรับได้น้อยมาก เพียง 5-15 มม. หรือ 0.5-1.5 ซม.
หรือหนาเท่าฝายาหม่องตราลิงถือลูกท้อ สำหรับการทรุดตัวทั้งหมด
และค่าทรุดตัวต่างกัน ถ้านึกไม่ออกว่า การทรุดตัวต่างกันเป็นแบบไหน
ให้นึกถึงถังซักผ้า ตอนที่ฐานถังวางเอียง ถังจะสั่นแรงมากมีเสียงดังมาก
จนบางครั้งเครื่องอาจหยุดทำงาน เพราะมอเตอร์ ร้อนจัด
- การทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดแรงบิดมหาศาล
กรณีที่มีระยะห่างน้อยและมีการทรุดตัวมาก ท่ออาจบิดตัวจนฉีก
หรือข้อต่อต่างๆ หลุดหลวม เยื้องศูนย์ ซึ่งการระงับเหตุทำได้ยากยิ่ง
กรณีที่รั่วบริเวณข้อต่อหรือวาล์วควบคุม
ในกรณีที่ท่อน้ำแตกรั่วไหลยังต้องใช้เวลานานในการซ่อม น้ำยังเจิ่งนองไปทั่ว
แต่ถ้าลองนึกถึงก๊าซไวไฟรั่ว หรือท่อส่งก๊าซอันตรายรั่วแบบควบคุมยาก
จึงเป็นที่มาว่า “มันจะเกิดเหตุไฟไหม้
และระเบิดอย่างไร”
แค่ทรุด ... ทำไมเสี่ยง! ไฟไหม้ระเบิดควบคุมไม่ได้ ดูภาพแล้วลองจินตนาถึงเหตุต่างๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ผนังร้าวปูนแตก ก๊าซแอลพีจีที่รั่วออกมา
มีอัตราการขยายตัว
250
เท่า และหนักกว่าอากาศ จะไหลลงสู่ที่ต่ำ
สามารถเกิดระเบิดที่จุดที่เกิดการรั่วไหล เพราะจะควบแน่น
ปิดบริเวณรูรั่วก่อนที่จะเกิดการระเบิดและติดไฟ ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มไฟ
จะขยายตัวจากกีาซอีก 250 เท่า
แล้วให้นึกภาพท่อต่างๆ ขนาดใหญ่ คลังก๊าซแอลพีจี ที่มากถึง 4 พันคันรถ
คนไทย จะอยู่กันไป แบบนี้หรือ
(ที่สื่อกันในสังคมออนไลน์
กับจิตสาธารณะแบบไทยๆ)
คนไทย เราจะอยู่กันแบบนี้หรือ
ประเทศไทยมีกฎหมายมากมายใช้ควบคุมกำกับ มีหน่วยงานเจ้าหน้าที่รัฐก้อมากมาย
มีสื่อมวลชนอ้างตัวอ้างตนกันว่าดีก็มีเยอะ มีศาลปกครอง ที่อ้างกันว่า
เป็นที่พึ่งพาของประชาชน ตาม รธน.ฯ
๐ หายนะซ้ำซากของประชาชน เกิดเพราะใคร อะไร รูปเชิงประจักษ์นี้
บอกอะไร เราๆท่านๆ จะปล่อยให้บ้านเมืองไทย อยู่กันไปแบบนี้หรือ สึนามิ
คราก่อน ล้มตายหลายพัน ก็เพราะไม่สนใจใส่ใจ มาวันนี้ จะรอ บทเรียนชอกช้ำ
ให้เกิดซ้ำๆ อีกหรือ...ที่ไม่ใช่แค่ ชาวบ้านมาบตาพุด บาดเจ็บล้มตาย
ประเทศชาติส่อแววหายนะเลยนะครับ ถ้าระงับไม่ได้ เอาไม่อยู่ ลองใช้ คำว่า “ถ้า...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น” WHAT-IF วิธีง่ายๆใช้ประเมินบ่งชี้อันตราย
กับ คลังก๊าซแอลพีจี 4 พันคันรถ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.
ที่ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด โรงกลั่น-โรงไฟฟ้า-โรงงานสารเคมีอันตราย-วัตถุไวไฟ
มากมายที่รายล้อม ถ้าลุกลามไหม้ไฟ ระเบิดไปด้วยกัน อะไรมันจะเกิดขึ้น
กับประเทศไทยที่รักของเรา !?
พรบ. โรงงาน
ปี 2535 อาคารโรงงาน ต้องสร้างทำ “ให้มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม”
ซึ่ง กม.ไม่ได้ระบุว่า ต้องสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพราะ
มาตรฐานของอุตสาหกรรมต่างๆ
ต้องการความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างต่างกัน ในส่วนอาคารส่วนผลิต หรือส่วนเก็บกัก
ของอุตสากรรมพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ซึ่งกำหนดค่าทรุดตัวต่างกันที่ยอมรับได้
ให้ทรุดได้น้อยมากเพียง 5-15 มิลลิเมตร หรือ 0.5-1.5 เซนติเมตร
เท่านั้น
เป็นข้อกำหนดของ ปตท.ที่เขียนขึ้นเอง หรือเทียบเท่ามาตรฐานสากลทั่วไป
๐ เกิดเหตุแล้ว น้ำตาไม่ช่วยอะไร เทียนไฟ ดอกไม้ อะไรๆ ไม่ต้องเอามาทำท่าระลึกนึกถึง
วันนี้ที่ควรช่วยกันระงับเหตุ แต่ก้อไม่ทำอะไรอย่างไรกัน ช่างมรึง
ช่างแมร่ง ช่างมันกันไปหมด แล้วไหนล่ะ ที่บอกว่า “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ๐
กรณีการระเบิดแบบ
LPG BLEVE
ของ ถังเก็บลูกโลก
4,000 ม3
ระดับความร้อน 37.5 (kW/m 2 ) - รัศมี 0.6 กม.จากโรงแยกก๊าซที่ 6 ผลกระทบกับคน 100% ตาย ภายใน 1 นาที / 1% ตาย ภายใน 1 วินาที ประชาชนชาวบ้านมากแค่ไหน ในรัศมี 1 กม. ของ โรงแยกก๊าซ ใหม่ ที่ 6 ที่ ตุลาการศาลปกครอง อ้างว่า เสี่ยงตาย 100% แบบนี้ ไม่มีผลกระทบ กับโรงงานเสี่ยงทรุดพัง ที่มีคลังก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล ที่อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน-และโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก ฯ
ระดับความร้อน 37.5 (kW/m 2 ) - รัศมี 0.6 กม.จากโรงแยกก๊าซที่ 6 ผลกระทบกับคน 100% ตาย ภายใน 1 นาที / 1% ตาย ภายใน 1 วินาที ประชาชนชาวบ้านมากแค่ไหน ในรัศมี 1 กม. ของ โรงแยกก๊าซ ใหม่ ที่ 6 ที่ ตุลาการศาลปกครอง อ้างว่า เสี่ยงตาย 100% แบบนี้ ไม่มีผลกระทบ กับโรงงานเสี่ยงทรุดพัง ที่มีคลังก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล ที่อยู่ตรงกลางระหว่างชุมชน-และโรงงานอื่นๆ จำนวนมาก ฯ
๐ ศาลปกครองที่พึ่งของประชาชน โดยตรงตามรัฐธรรมนูญ
ไม่ดูข้อ กม.โดยถี่ถ้วน แต่จะเป็นแค่ นายประกัน ให้ ปตท.
หน่วยงานรัฐปล่อยปละละเลย มักง่ายไม่รอบคอบปล่อยให้สร้างทำ
โรงงานวัตถุอันตราย ไม่ตอกเสาเข็ม หลายโรงงาน ในมาบตาพุด
"มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และไว้วางใจได้" แค่ไหน กม. พรบ.โรงงาน
พรบ.วัตถุอันตราย ปี
2535 มีอยู่ แต่ทำไม่รู้ไม่สนใจ ศาลปกครอง
ทำตัวให้ประชาชนพึ่งไม่ได้ กลับทิ้งภัยให้ประชาชนอีก แบบนี้
"ละเว้นการทำหน้าที่โดยสุจริต" หรือไม่!? –
เมื่อขบวนการศาลเลือกใช้ช่องโหว่ของ กม. แล้วทิ้งภัยให้ประชาชนชาวบ้าน ๐
๐ วันที่ ศาลปกครอง รู้สึกสั่นคลอน และมีความเสี่ยง
อ้างว่ามีกลุ่มคนจะจ้องรื้อล้ม พวกท่านเรียกร้องให้สื่อ ให้ประชาชนช่วย
เพื่อช่วยกันรักษาพวกท่าน องค์กรท่านไว้ อ้างว่า
เพื่อเป็นที่พึ่งพาของประชาชน ดำรงความเป็นธรรม ชอบธรรม
สร้างความปลอดภัยผาสุกให้สังคม แต่ครั้นเมื่อประชาชนเสี่ยงเจ็บตายตื่นกลัว
ท่านกลับบอกว่า “ประชาชน
ไม่มีสิทธิ จะกลัวเจ็บกลัวตาย” ทั้งที่เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงแล้ว
ก็ไม่มีหน่วยงานไหนดูแลประชาชนได้ แม้กระทั่งขบวนการศาลปกครอง
ก็ไม่เคยเอ่ยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น
และยังซ้ำเติมด้วยการทิ้งประชาชนให้เสี่ยงเจ็บตายได้อีก ๐
*
ประชาชนชาวบ้าน ไม่มีที่พึ่งแล้ว จริงๆ หรือ? *
เหตุโรงงาน บีเอสที
มาบตาพุดระเบิด เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 55
๐
เกิดเหตุภัยแล้วระงับไม่ได้เอาไม่อยู่ ถ้าไม่มีฝนช่วย
ซ้ำร้ายยังปล่อยทิ้งให้ชาวบ้านให้ตาย
ไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการแจ้งเตือน แจ้งภัย แจ้งให้อพยพ
ทุกฝ่ายอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่มีใครกล้าสั่ง
ถ้าประชาชนเจ็บตายจำนวนมาก ก้อคงแค่โยนกันไปมา
เมื่อสร้างทำกัน
“ไม่มั่นคงแข็งแรงและไม่เหมาะสม
ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด
ทรุดพัง ก๊าซรั่วไฟไหม้ระเบิด ลุกลาม สร้างภัยหายนะ”
เป็นเพียงการคาดการณ์ จินตนาการเกินจริง หรือ
คนมาบตาพุดไม่มีสิทธิ์กลัวเจ็บกลัวตาย หรือ ๐
**
โอกาสของการเกิดเหตุน้อยมาก มีเพียง 1.2 ในร้อยล้าน
ครั้งต่อปี ปีนี้คนไทยได้เห็น 2 ครั้ง **
เหตุโรงกลั่นบางจากระเบิด
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 55
*
ผู้ว่า กทม. ใช้ พรบ.ป้องกัน-บรรเทาสาธารณะภัย
สั่งรื้อป้ายเสี่ยงที่อนุมัติถูก กม. ... ซึ่งโรงงานเสี่ยงภัย
ใช้ กม.ฉบับเดียวกัน สั่งไล่รื้อได้ เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
ถ้าโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.ระเบิด*
*
ปตท.
อ้างว่ามีต่างชาติมาสร้างทำ จ้างฝรั่งเป็นวิศวกรที่ปรึกษา
จึงมีมาตรฐานสูง ระดับโลก ทั้งที่แบบก่อสร้าง ทั้งหมด ไม่มีข้อมูลกำหนด
ว่าดินต้องบดอัดให้แข็งแรงแค่ไหนอย่างไร แล้วจะสร้างทำได้แบบไหน
ให้ดินรับแรงได้ ตรงกับการออกแบบ ศาลปกครอง อ้างว่า ไม่ผิด แล้วถูกแบบไหน
โรงงานวัตถุอันตรายสร้างทำกันแบบนี้ *
โครงการ โรงแยกก๊าซที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท.
บ.SAMSUNG
เป็นผู้รับเหมาหลัก บ.FOSTER
WHEELER
เป็นวิศวกรที่ปรึกษา
บ.อิตาเลี่ยนไทย ผู้รับเหมาย่อยงานฐานราก -
กลุ่มผู้ร้องเรียน
เป็นวิศวกรโยธา ที่ก่อสร้างฐานรากเสี่ยง
กับสำนึกที่จะลบภัยที่จะเกิดแก่สาธารณะ
๐ มองยาก เข้าใจยากแบบไหน หอความดันสูง หอแยกก๊าซ กลั่นก๊าซ
ฐานรากไม่ตอกเสาเข็ม
มั่นคงแข็งแรงเหมาะสม และน่าไว้วางใจหรือ ๐
๐
ป้ายโฆษณาล้มทับคนตาย เป็นเหตุร้ายแรงที่สุดในเรื่องป้ายเสี่ยง
กรณีโรงแยกก๊าซใหม่เสี่ยง นั้น...
เหตุร้ายแรงที่สุดคือ
“คลังก๊าซระเบิด”
เพราะสร้างทำไม่มั่นคงปลอดภัย เชื่อแค่ไหน เกิดเหตุภัยแล้วจะเอาอยู่
๐
*
เกิดภัยร้ายไม่ใช่แค่ปัญหาป้ายโฆษณาเสี่ยงล้มพัง
แต่จะสร้างหายนะภัยให้หลายชุมชน และประเทศชาติด้วย
*
ประธานเจโทร (กรุงเทพ) เคยหวัง …
ว่า
นายอภิสิทธิ์ สมัยที่เป็น นายกรัฐมนตรี
จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม
แต่นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ดำเนินการอะไรเลย ทั้งที่ได้รับ
หนังสือร้องเรียนเรื่องนี้ 2 ครั้งกับมือ
แต่ไปให้สัมภาษณ์ว่า...จะเร่งรัดจัดทำ
“สัญญาณเตือนภัย”
ข้อมูลอ้างอิง เชิงประจักษ์ ที่ทำไม ต้องตรวจสอบเสริมสร้าง
โรงงานจำนวนมาก ของ ปตท. ในมาบตาพุด ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด
มีรายละเอียด ใน
http://khonmaptaphut.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
แม้ ปตท. ส่งแม่บ้านมาสกัด แต่นายอภิสิทธิ์ ได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว
เมื่อ 16 ม.ค.2553
แม้จะรับหนังสืออีกครั้ง เมื่อ 20 พ.ย. 2553 แต่ก็ยังคงเฉย
ไม่สั่งการอย่างใด เร่งรัดสัญญาณเตือนภัยซ้ำอีก
21.50 น. วันที่ 11 มิ.ย. 54 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปยังสนามกีฬาจังหวัดระยอง
เพื่อขึ้นปราศรัยใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก
โดยมีประชาชน ประมาณ 3,000 คน มารอฟังการปราศรัย ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์
ได้ย้ำถึงนโยบายเพื่อประชาชนของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ
แนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตินิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของรัฐบาลที่ผ่านมาที่สามารถหาความสมดุลให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
โดยนายอภิสิทธิ์
กล่าวว่า
“ความปรองดองที่ต้องการอยู่ในทุกวันนี้
ต้องมาดูจากการแก้ปัญหาของมาบตาพุดเป็นตัวอย่าง” -(เกิดภัยแล้ว
สัญญาญเตือนภัยไม่ดัง)
*อดีตนายก อภิสิทธิ์ แจงว่า
“แก้ปัญหามาบตาพุดเบ็ดเสร็จสำเร็จ”
... แต่ปล่อยให้ชาวบ้านเสี่ยงตายกันไป
*
แบบนี้มั้ย ทำไมบอกว่า "นายกอภิสิทธิ์เลือดเย็น"
ทั้งที่ มีอำนาจที่จะสั่งให้มีการตรวจสอบซ่อมสร้าง ตาม พรบ. ป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ปี 2550 และ พรบ.ความมั่นคงภายใน ปี 2551
ที่ให้อำนาจเต็มไว้ฯ
จดหมายตอบจาก
เจโทร(กรุงเทพ) เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง
Letter
to JETRO (BANGKOK) and His Reply
ประธานเจโทร กรุงเทพ ใช้เวลาเพียง
2 วัน
ในการเร่งรัดตอบจดหมาย ที่ทางกลุ่มส่งไปให้รับรู้ และช่วยหาทางแก้ไข
ทำไมคนญี่ปุ่นให้ความสนใจ แต่ทำไมคนไทย
พากันเย็นชาเฉยชานิ่งเฉยกันหมด ... ฯ
ประธานคณะกรรมการบริหาร เจโทร (กรุงเทพ) องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
Munenori Yamada
President,
JETRO Bangkok
President,
JETRO Bangkok
บางส่วนของจดหมายตอบกลับ
… “We
assure you that we are committed to indicated rules and regulations, and
we do not compromise any safety standards.
In your
email, you have delivered your concern to PM Abhisit and other
ministers. We, Japanese and Japanese business community who enjoy
staying in our great Thailand,
strongly
hope that Thai government will make proper actions on this issue. “ ....
“ในอีเมลของคุณ
คุณได้ส่งให้ นายกอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีหลายท่าน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องต่างๆ
ไปแล้วนั้น
เราชุมชนธุรกิจญี่ปุ่นและญี่ปุ่นที่ได้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างดีและมีความสุข
เราหวังอย่างสูงยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะการดำเนินการกับปัญหานี้
อย่างเหมาะสมต่อไป”
แต่
… นายอภิสิทธิ์ กลับไม่ทำอะไรเลย
!!!???
น้ำท่วมดอนเมือง กับ
หลายนิคมล่มจมน้ำ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิด
เกิดเหตุแล้ว
เสียหายแล้ว มาจากอะไร
เพราะเหตุภัยธรรมชาติทั้งหมดหรือ
คราก่อน...ถ้าเหตุภัยระงับไม่ได้ ลุกลามเอาไม่อยู่
ประชาชน
ชาวบ้าน จะเจ็บตายมากเท่าไหร่
ที่ถูกปล่อยทิ้งให้ตาย การรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ชาวบ้านอพยพหนีตาย
เมื่อดูทีวี
ที่ผู้ว่าระยอง สั่งอพยพ / ก๊าซรั่ว เพราะซีลวาล์วแตกรั่ว
มันไฟไหม้-ระเบิดเองได้
ชุมชนมากมายรายล้อมอยู่ กับโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.สร้างเสี่ยง
อยู่ติดตลาดอยู่ตรงกลางระหว่างชุมชนจำนวนมาก และโรงงานอันตรายอื่นๆ
จำนวนมาก
จะทิ้งภัยเสี่ยงให้ประเทศชาติประชาชนหรือ หรือคิดเพียงว่า
“มันจะไม่เกิด” หรือคิดว่า “จะเอาอยู่”
พรบ.ป้องกัน-บรรเทา สาธารณภัย
–
พรบ.ความมั่นคงภายใน นำมาใช้เพื่อปกป้องประชาชนได้
ข้อมูลเพิ่มจำนวนมากดูได้จากเวบไซด์
ประวัติกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด
“เสี่ยงภัยแค่ไหน เมื่อเทียบกับ
การสร้างทำของโรงงานใกล้เคียง”
ศรัลย์
ธนากรภักดี - 081-3574725
ผู้ประสานงาน
กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด