วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย


อ. อดิศร ฟุ้งขจร


---------------------------------------------------------------------------------



บทนำ

รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย (http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm)

จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับร้อยรอยเลื่อน มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร ในอดีตได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้ บ้างก็ทำให้ประชาชนรู้สึกสั่นสะเทือน บ้างก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีศูนย์กลางที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี วัดขนาดได้ 5.9 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวนี้ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและกรุงเทพมหานคร การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี” (http://earthquake.usgs.gov/image_glossary)

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า “ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง” เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546 การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส (Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003) จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิกทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1) แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง

จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อนได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย




รอยเลื่อนในประเทศไทย

จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้
  1. รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  2. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
  3. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  4. รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  5. รอยเลื่อนหนองเขียว พาดผ่านอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในแนว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  6. รอยเลื่อนเชียงดาว พาดผ่านอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  7. รอยเลื่อนเมืองแหง พาดผ่านอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  8. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
  9. รอยเลื่อนขุนยวม พาดผ่านอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  10. รอยเลื่อนแม่ลาน้อย พาดผ่านอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร
  11. รอยเลื่อนแม่ลาหลวง พาดผ่านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวาร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  12. รอยเลื่อนแม่สะเรียง พาดผ่านอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
  13. รอยเลื่อนพร้าว พาดผ่านอำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาว ประมาณ 23 กิโลเมตร
  14. รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  15. รอยเลื่อนวังเหนือ พาดผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  16. รอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหมในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  17. รอยเลื่อนดอยปุย พาดผ่านอำเภอแม่ริม และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  18. รอยเลื่อนแม่ไผ่ พาดผ่านอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  19. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  20. รอยเลื่อนจอมทอง พาดผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศเหนือ-ใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  21. รอยเลื่อนฮอด พาดผ่านอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกัน มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  22. รอยเลื่อนอมก๋อย พาดผ่านอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกันมีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  23. รอยเลื่อนเมืองปาน พาดผ่านอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร
  24. รอยเลื่อนแม่หยวก พาดผ่านอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  25. รอยเลื่อนแม่ทะ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร



  26. รอยเลื่อนกิ่วลม พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  27. รอยเลื่อนแม่วัง พาดผ่านอำเภอเกาะคา และอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนกิ่วลม มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  28. รอยเลื่อนแม่อ่าง พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่วัง มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  29. รอยเลื่อนท่าสี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่อ่าง มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  30. รอยเลื่อนงาว พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  31. รอยเลื่อนแม่ติป พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนล่าง กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  32. รอยเลื่อนดอยหลวง พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางตะวันออก มีความยาวประมาณ 41 กิโลเมตร
  33. รอยเลื่อนวังชิ้น พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
  34. รอยเลื่อนสามเงา พาดผ่านอำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตากในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
  35. รอยเลื่อนผาแดง พาดผ่านอำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  36. รอยเลื่อนลานสาง-วังเจ้า พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  37. รอยเลื่อนอุทัยธานี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมือง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 178 กิโลเมตร
  38. รอยเลื่อนแม่กลอง พาดผ่านอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 69 กิโลเมตร
  39. รอยเลื่อนแม่ปิง พาดผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 161 กิโลเมตร
  40. รอยเลื่อนกระเพรียวแดง พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  41. รอยเลื่อนเขาราวเทียน พาดผ่านอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคด และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 94 กิโลเมตร
  42. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  43. รอยเลื่อนแม่ยม พาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  44. รอยเลื่อนแพร่ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  45. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  46. รอยเลื่อนน้ำปาด พาดผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร
  47. รอยเลื่อนเขาดำ พาดผ่านอำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนน้ำปาด มีความยาวประมาณ 126 กิโลเมตร
  48. รอยเลื่อนน้ำภาค พาดผ่านอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  49. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
  50. รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร



  51. รอยเลื่อนหนองบัวลำภู พาดผ่านอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลางและอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  52. รอยเลื่อนภูเรือ พาดผ่านอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  53. รอยเลื่อนวังสะพุง พาดผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  54. รอยเลื่อนภูเขียว พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภักดีชุมพรและอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 72 กิโลเมตร
  55. รอยเลื่อนผาหลวง พาดผ่านอำเภอภูหลวง และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  56. รอยเลื่อนแก่งคร้อ พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอคอนสวรรค์ อำเภอแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  57. รอยเลื่อนหนองบัวแดง พาดผ่านอำเภอบ้านเขว้า อำเภอเมือง และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  58. รอยเลื่อนซับไม้แดง พาดผ่านอำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน และอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  59. รอยเลื่อนโคราช พาดผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเมือง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนิน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 193 กิโลเมตร
  60. รอยเลื่อนสตึก พาดผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  61. รอยเลื่อนลำพญากลาง พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  62. รอยเลื่อนท่าจีน พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมือง อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 186 กิโลเมตร
  63. รอยเลื่อนวิเศษชัยชาญ พาดผ่านอำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  64. รอยเลื่อนป่าโมก พาดผ่านอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร
  65. รอยเลื่อนผักไห่ พาดผ่านอำเภอบางบาล อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  66. รอยเลื่อนเจ้าพระยา พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมือง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  67. รอยเลื่อนมวกเหล็ก พาดผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 17 กิโลเมตร
  68. รอยเลื่อนลำตะคอง พาดผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  69. รอยเลื่อนหินลับ พาดผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  70. รอยเลื่อนคลองไผ่ พาดผ่านอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร
  71. รอยเลื่อนเขาปีป-วังน้ำเย็น พาดผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านสร้าง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอศรีมหาโพธและอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 112 กิโลเมตร
  72. รอยเลื่อนองครักษ์ พาดผ่านอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอพนามสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อำเภอหนองแค อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี อำเภอภาชี อำเภอนครหลวง อำเภอท่าเรือ และ อำเภอบ้านแพรกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 177 กิโลเมตร
  73. รอยเลื่อนพระประแดง พาดผ่านอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  74. รอยเลื่อนบางพลี พาดผ่านเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอบางปะกง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  75. รอยเลื่อนแกลง พาดผ่านอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลงจังหวัดระยอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร



  76. รอยเลื่อนสอยดาว พาดผ่านอำเภอแก่งหางแมว และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  77. รอยเลื่อนจันทบุรี พาดผ่านอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 65 กิโลเมตร
  78. รอยเลื่อนปิล็อค พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรอยเลื่อนคดเคี้ยวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร
  79. รอยเลื่อนองค์ทัง พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  80. รอยเลื่อนบ่องาม พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  81. รอยเลื่อนไทรโยค พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
  82. รอยเลื่อนแควใหญ่ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร
  83. รอยเลื่อนแควน้อย พาดผ่านอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  84. รอยเลื่อนเจ้าเณร พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบนมีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
  85. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  86. รอยเลื่อนจอมบึง พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
  87. รอยเลื่อนปากท่อ พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอจอมบึง อำเภอเมือง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 89 กิโลเมตร
  88. รอยเลื่อนกุยบุรี พาดผ่านอำเภอปราณบุรี และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบ-คีรีขันธ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  89. รอยเลื่อนประจวบ-ทับสะแก พาดผ่านอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านตะวันออกของอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร
  90. รอยเลื่อนบางสะพาน พาดผ่านอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  91. รอยเลื่อนกระบุรี พาดผ่านอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และเลยเข้าไปในทะเลอันดามัน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 187 กิโลเมตร
  92. รอยเลื่อนท่าแซะ พาดผ่านอำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  93. รอยเลื่อนปากจั่น พาดผ่านอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  94. รอยเลื่อนละอุ่น พาดผ่านอำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  95. รอยเลื่อนชุมพร พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร
  96. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และเลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร
  97. รอยเลื่อนราชกรูด พาดผ่านอำเภอละอุ่น อำเภอกระเปอร์ จังหวัระนองและอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  98. รอยเลื่อนพะโต๊ะ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร
  99. รอยเลื่อนสวี พาดผ่านอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  100. รอยเลื่อนกะเปอร์ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร



  101. รอยเลื่อนเขาเด่น พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  102. รอยเลื่อนคุระบุรี พาดผ่านอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
  103. รอยเลื่อนเขาย้อย พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  104. รอยเลื่อนตะกั่วป่า พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์-ธานี อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  105. รอยเลื่อนขนอม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานและทางด้านทิศใต้ของอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร
  106. รอยเลื่อนสิชล พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและทางด้านทิศใต้ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร
  107. รอยเลื่อนไชยา พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  108. รอยเลื่อนลำรู่ พาดผ่านอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  109. รอยเลื่อนคลองชล พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  110. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา และเลยลงไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร
  111. รอยเลื่อนอ่าวลึก พาดผ่านทะเลอันดามัน ทางด้านทิศใต้ของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 47 กิโลเมตร
  112. รอยเลื่อนเคียนซา-เกาะลันตา พาดผ่านอำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และเลยลงไปในอ่าวไทยทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตก มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  113. รอยเลื่อนนาสาร-คลองท่อม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกทางตอนบน และแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  114. รอยเลื่อนเขาหลวง พาดผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  115. รอยเลื่อนทุ่งสง พาดผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  116. รอยเลื่อนห้วยยอด พาดผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  117. รอยเลื่อนทุ่งหว้า พาดผ่านอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  118. รอยเลื่อนสตูล พาดผ่านอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 49 กิโลเมตร
  119. รอยเลื่อนสะบ้าย้อย พาดผ่านอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
  120. รอยเลื่อนยะลา พาดผ่านอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 59 กิโลเมตร
  121. รอยเลื่อนบางลาง พาดผ่านอำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร


ชุมชนรอบมาบตาพุดหวั่น รง.เก็บสารเคมีระเบิดหาก พนง.ทิ้งงาน

ชุมชนรอบมาบตาพุดหวั่น รง.เก็บสารเคมีระเบิดหาก พนง.ทิ้งงานหลังค้างจ่ายเงินเดือน

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชุมชนมาบตาพุด ผวาโรงงาน”เอเพ็คปิโตรเคมิคอล”ซึ่งผลิตพีวีซีผงโดยใช้สารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM) เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาจเกิดการระเบิด หลังโรงงานขาดสภาพคล่องจนค้างจ่ายเงินเดือนพนักงานกว่า 70 คน และค้างจ่ายค่าน้ำ-ไฟ จนต้องใช้เครื่องปั่นไฟรักษาอุณหภูมิในการเก็บสารเคมี ชี้หากพนักงานผละงานจนไม่มีผู้ดูแลเครื่องจักรอาจเกิดปัญหาไฟฟ้า หรือระเบิดได้ ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง สั่งตั้งคณะทำงานติดตามปัญหาพร้อมเอาผิดนายจ้าง สร้างความมั่นใจชุมชุนรอบโรงงาน
เมื่อเวลา 10.00น.วันนี้ (24 มิถุนายน) นายศักดิ์ชาย เชิดสุขอนันต์ ประธานคณะกรรมการชุมชนบ้านพลา นายจำลอง ผ่องสุวรณ ประธานคณะกรรมการชุมชนมาบยา และนายสุชาติ กอเซ็ม ประธานคณะกรรมการชุมชนอิสลาม เทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง ณ ศูนย์ราชการจังหวัดระยอง หลังบริษัทเอเพ็ค ปิโตรเคมิคอล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 14 ถนนมาบข่า-ปลวกแดง ผู้ผลิตพีวีซีผงโดยใช้สารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์( VCM) เป็นวัตถุดิบในการผลิต แต่ปัจจุบันขาดสภาพคล่องส่งผลให้พนักงานกว่า 70 คนไม่ได้รับเงินเดือนเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านบาท ขณะที่กระแสไฟฟ้าภายในโรงงานและน้ำประปา ถูกตัดเนื่องจากค้างจ่ายจนไม่มีแสงสว่างในเวลากลางคืนและต้องใช้เครื่องปั่นไฟฉุกเฉินเพื่อควบคุมอาคารเก็บสารเคมีซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจำนวน 700 ตัน ด้วยอุณหภูมิลบ 20 องศา ทำให้ชาวบ้านทั้ง 3 ชุมชนกว่า 3,000 คน ที่อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามและโดยรอบบริเวณโรงงาน ต่างพากันหวาดผวาว่าหากพนักงานทิ้งหน้าที่ในการดูแลควบคุมเครื่องจักร ก็อาจทำให้สารเคมีซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระเบิดขึ้นได้
โดยนายธวัชชัย (เทิดเผ่าไทย) ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาในทันที โดยให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยองซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลโรงงานโดยตรงเข้ามาดูแล พร้อมผู้แทนจากสำนักงานอัยการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ เทศบาลเมืองมาบตาพุด และประธานชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งในเบื้องต้นกำหนดให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ทำหนังสือถึงเจ้าของโรงงานให้ดำเนินการตัดหญ้าที่ขึ้นปกคลุมออกให้หมด เพื่อป้องกันไฟไหม้และอาจทำให้ถังเก็บสารเคมีเกิดการระเบิดขึ้นได้ เพราะสภาพโรงงานปัจจุบันหัวจ่ายดับเพลิงและอุปกรณ์วาว์ลเปิด-ปิดใช้การไม่ได้ พร้อมให้คณะทำงานจัดตั้งชุดเฝ้าระวังระบบควบคุมสารเคมี และเร่งดำเนินการหาข้อมูลเพื่อดำเนินคดีกับผู้บริหารโรงงานอย่างเฉียบขาด
ด้านนายศักดิ์ชาย เชิดสุขอนันต์ ประธานคณะกรรมการชุมชนบ้านพลา กล่าวว่าพนักงานโรงงานไม่ได้รับเงินเดือนและค่าสวัสดิการมานานถึง 2 เดือนแล้ว แต่ก็ยังคงผลัดเวรดูแลเครื่องจักร โดยหวั่นว่าหากพนักงานไม่เข้าทำงานวันใดเครื่องปั่นไฟที่ต้องทำงานตลอด24 ชม.และต้องใช้น้ำมันดีเซลวันละ 7,000 บาทก็อาจดับ จนเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นได้ เพราะสารพิษนับ 100 ตันอาจรั่วไหลจนเกิดระเบิด “ใครจะรับผิดชอบ เวลานี้ชุมชน 3 ชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 3,000 คนต่างหวาดผวา จึงฝากให้ผู้บริหารโรงงานรีบดำเนินการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ปล่อยทิ้งเช่นนี้และขอให้เห็นแก่ชีวิตมนุษย์ที่อยู่รอบโรงงานด้วย” นายศักดิ์ชาย กล่าว เช่นเดียวกับนายสุขาติ กอเซ็ม ประธานคณะกรรมการชุมชนอิสลาม เทศบาลเมืองมาบตาพุด กล่าวว่าสารเคมีจำนวน 7 ตัน ที่อยู่ในอาคารควบคุมความเย็นหากเครื่องปั่นไฟเกิดปัญหาไม่สามารถควบคุมความเย็นได้ก็อาจเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตคนในชุมชน และถึงวันนี้ยังไม่มีผู้รับผิดชอบออกมาดูแลไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ที่อนุญาตให้สร้างโรงงานได้ จึงขอร้องเรียนไปยังนายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน ด้านนายจักรภพ ถาภักดี รอง ผจก.ส่วนวิศวกรรมการผลิตโรงงาน เอเพ็คปิโตรเคมีคอล จำกัด กล่าวว่าตัวอาคารได้เก็บสารแคทเตอร์ลิคจำนวน 700 ถังๆละ 10 กก. โดย เป็นสารตัวเร่งปฏิกิริยาแต่เป็นสารที่สลายง่ายในอุณหภูมิที่สูงจึงต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิลบ 20 องศาและต้องควบคุมตัวอาคารให้มีความเย็นตลอดเวลา ซึ่งหากเกิดไฟฟ้าดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อถึงจุดๆหนึ่งสารดังกล่าวจะสลายตัวด้วยตัวเองพร้อมกับจะทำให้เกิดความร้อนและเกิดระเบิดขึ้นเองได้ แต่สารเคมีอันตรายอีกส่วนหนึ่งซึ่งก็คือสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์(วีซีเอ็ม) ที่บรรจุในถังรูปทรงกลม(ลูกโลก) เป็นสารก่อมะเร็งตับ และสารตัวนี้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในขบวนการผลิตผงพีวีซีและต้องใช้น้ำหล่อเย็นตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลอ้างอิง เชิงประจักษ์ ที่ทำไม ต้องตรวจสอบเสริมสร้าง โรงงานจำนวนมาก ของ ปตท. ในมาบตาพุด ที่ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด

ตัวอย่างเชิงประจักษ์ เรื่องความไม่แข็งแรง สร้างความเดือดร้อน สร้างผลกระทบรุนแรง กับผู้คนประชาชนชาวบ้าน ร้านตลาด เหตุก๊าซคลอรีนรั่ว จากถังคลอรีนล้มพัง เพราะฐานถังแข็งแรงไม่เพียงพอ

อุบัติภัยสารเคมี จากการล้มพังของถังคลอรีน มีผู้ป่วยสูงถึง 1,434 คน



ทั้งนี้ จากการประชุม คสช.เมื่อ 18 มิ.ย.53 คสช.รับทราบรายงานการศึกษาสถานการณ์การแก้ไขปัญหาเหตุการณ์อุบัติภัยสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์รั่วไหลออกจากถังกักเก็บของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัลล์(ประเทศไทย)จำกัด ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมเหมราชตะวันออก(มาบตาพุด) จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตสารเคมีหลายชนิด ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.53 ส่งผลให้มีผู้ต้องเข้ารับการรักษาใน รพ.มาบตาพุด ถึง 1,434 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต.

ข้อมูลเชิงประจักษ์ ว่า การชี้แจงของ ปตท. ว่า โครงการต่างๆ มีการทดสอบดินแล้ว ว่า แข็งแรงกว่า โรงงานติดกัน 3-7 เท่า จึงไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม และไม่ได้ออกแบบพิเศษ หรือมีเทคนิคก่อสร้างพิเศษอย่างไร กรณีน้ำท่วม โรงแยกก๊าซ ปตท. ก่อนที่ ปตท. จะชี้แจงชาวบ้าน ว่าทุกอย่างแข็งแรงดี เพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น น่าจะเป็น คำเตือน! ของฟ้าดิน แล้วว่า โรงงานที่อยู่บนพื้นที่ร่องรับน้ำขนาดใหญ่ ดินแข็งแรงกว่า โรงงานอื่นๆ จนไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม


สภาพหน้าโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด บ่ายแก่ๆ วันจันทร์ ฝนตกหนัก พายุลมแรง น้ำท่วม จนรถจมน้ำ


รายงานการทดสอบดิน ของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. และการเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆ




ตัวอย่างเชิงประจักษ์ ว่าคำชี้แจงแจ้งเท็จ-ปกปิดข้อมูล การสร้างมหันตภัยใหญ่หลวงของภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่เพิ่งเกิด และเกิดบ่อยๆ เช่นกรณี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และ แท่นเจาะน้ำมัน ปตท.สผ. รั่ว-ระเบิด ก้อเป็นแบบนั้น - ชัดเจนถึงความประมาทมักง่าย ไร้ความรับผิดชอบ โดยอ่านจากข้อตำหนิต่างๆ จาก ประเทศที่ได้รับผลกระทบ แม้กรณีนี้ คนไทย ไม่ได้การรับรู้ เพราะสื่อมวลชนไทย ปกปิดข่าวกันหมด

เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า บริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว หรือ TEPCO ได้ออกมายอมรับว่า ทางบริษัทได้แจ้งรายงานเท็จเกี่ยวกับการตรวจสอบและผลการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่า ไดอิจิ มาตลอด 40 ปี ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้าอย่างละเอียดเลย

เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลที่บ่งชี้ความไม่แข็งแรงของบ่อหลังเกิดเหตุแล้วก็ไม่ได้ส่งข้อมูลนั้นต่อให้กับผู้กำกับดูแล (Finding 97) พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัททำตัวแย่มาก
(การก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน และการปกปิดข้อมูลชี้แจงแจ้งเท็จ)

อินโดฯรีดปตท.สผ. 3.5หมื่นล้าน ชดใช้น้ำมั่นรั่ว – ไทยรัฐออนไลน์ 27 พ.ค.2554

อินโดนีเซียเล็งเรียกเงิน ราว 35,200 ล้านบาท ชดเชยความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันในเครือปตท.สผ.ของไทย เกิดไฟไหม้และระเบิด นอกชายฝั่งออสเตรเลียปีที่แล้ว จนน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลติมอร์ถึงน่านน้ำอินโด


เหตุการณ์นี้ เกิดห่างเพียง 2 วัน - หลังจาก ศาลปกครองระยอง ไม่รับไต่สวนตรวจสอบ กับการฟ้องกรณี ปตท. ไม่ตอกเสาเข็มฐานรากโรงแยกก๊าซใหม่ 2 แห่ง และโรงงาน ปตท. จำนวนมากในมาบตาพุด

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000127992

เหตุก๊าซระเบิด จากท่อแตกควบคุมยาก - เหตุระเบิดเมื่อค่ำวันพฤหัสบดี 9 กันยายน 2553 ทำให้เมืองซานบรูโน ซึ่งอยู่ใกล้เมืองซานฟรานซิสโกกลายเป็นทะเลเพลิง สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนที่บ้านเรือนเสียหายในพริบตา


ลูกไฟขนาดใหญ่พวยพุ่งขึ้นจากพื้นดินในจุดที่ท่อก๊าซแตก และแผ่ขยายไปเผาผลาญอาคารบ้านเรือนทั่วทุกทิศทาง ประชาชนหลายร้อยคนต่างวิ่งหนีเอาชีวิตรอด บางคนร้องห่มร้องไห้ ขณะที่บางคนยังพอมีสติเก็บภาพความโกลาหลไว้ในโทรศัพท์มือถือ

เหตุระเบิดทำให้มีผู้บาดเจ็บ 52 คน โดยมี 3 รายที่ถูกไฟไหม้ผิวหนังถึงระดับ 3 (ไหม้ถึงชั้นหนังแท้)

ทะเลเพลิงแผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่ราว 4 เฮกตาร์ เผาผลาญบ้านเรือนวอด 37 หลัง และอีก 7 หลังเสียหายอย่างหนัก ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้ทุกจุดแล้วในคืนวันศุกร์ (10)


ข้อมูลเชิงประจักษ์ ว่า จะหากลุ่มไหนส่วนใด ใส่ใจเรื่องความเสี่ยงของผู้คนประชาชนได้ยาก ที่ทำไม ขบวนการศาลปกครอง ภาครัฐ สื่อมวลชน ภาคประชาชน ภาคสิ่งแวดล้อม ละเลยเฉยชากันไปหมด

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย รอคำสั่งศาล ให้ตรวจสอบ กรณี ปตท. ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก โรงแยกก๊าซใหม่ และโรงงานอันตราย ของ ปตท. จำนวนมากในมาบตาพุด




กรรมการองค์การอิสระ ด้านสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ จะทำอะไร เพื่อประชาชน


"ผู้คนประชาชน จะหวังอะไรได้ จากผู้คนเหล่านี้ ขนาดตัวแทนประชาชน ยังไม่ขยับทำอะไร ให้เกิดผล ..." - กรรมการ จะชั่วคราวหรือถาวร คนไหนที่จะทำอะไรเพื่อผู้คนประชาชน หรือแค่คนที่กลุ่มทุนอุตสาหกรรม ค้ำจุน ไม่ต่างกับ สื่อมวลชนไทยสายสิ่งแวดล้อมหรือสมาคม-เครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นแต่การสร้างภาพ ให้มัวเมากับสีแสงกระดาษ สีเขียว ไม่ได้ทำอะไร ให้บังเกิดผล เป็นรูปธรรม แต่กลับสร้างความรู้สึกให้สังคมว่า การห่วงใยสิ่งแวดล้อม กำลังทำร้ายทำลาย สภาวะเศรษฐกิจ ของชาติ

ตัวแทนประชาชน ... ภาคประชาชน - บ่วงแหที่แก้ไม่หลุด

ของคนที่ได้รับผลกระทบเดือดร้อน


เมื่อหลายวันก่อน กรอบข่าว หน้า 5 ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ - สอดแทรกความเห็น ของความเป็นตัวแทนภาคประชาชน ที่อ้างถึงความสนใจใส่ใจปัญหาของมาบตาพุด อ้างว่าเป็น ตัวแทนของผู้คนประชาชน ที่มาบตาพุด โดยมีลักษณะข่าวแบบ " ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้" ไม่ได้ให้การเชื่อมั่นอย่างใดกับสื่อมวลชน และคนอาชีพสื่อ ที่มีบทบาทไม่ต่างกับนักการเมือง นายทุน ที่จ้องแต่จะแสวงหาผลประโยชน์ มีหลายๆ คน บอกว่า ยังดีที่มีสื่อน้ำดี อยู่ ทั้งที่จริงๆแล้ว ไม่มี ... ปัญหาการระงับโครงการในมาบตาพุด เป็นตัวอย่าง ของบ่วงแหที่แก้ไม่หลุด โดยอ้างว่า มีภาคประชาชนเข้าร่วม และการถือกำเนิดของ คกก. 4 ฝ่าย ก็มาจากข้อเรียกร้อง ของภาคประชาชนเอง
ภาคประชาชน ของ คกก.4 ฝ่าย กรรมการประกอบด้วย นายชูชัย ศุภวงศ์ นางเรณู เวชรัชต์พิมล นายสุทธิ อัชฌาศัย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ

เป็นสื่อเดียว ที่พยายามสร้างความถูกต้องให้สังคม แต่ถ้ายังมีความน่าเคลือบแคลงน่าสงสัยแล้วนั้น - ที่ว่าถูกต้องจะถูกแท้แน่จริงแบบที่พูดหรือไม่ เพราะปัญหาบ้านเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสมประโยชน์ ... ของบางคน ที่เอาธรรมเอาความดี ไปชักชวนคนดี มาเป็นเครื่องมือ เพื่อเข้าถึงประโยชน์ฯ

รู้เรื่อง ที่ประชาชนสาธารณะจำนวนมากจะอันตรายรุนแรง ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อาจกระทบรุนแรงกับประเทศชาติ ... แต่กลับไม่นำพาใส่ใจ อ้างหน้าตาเฉยว่าไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน ฯ - แบบนี้หรือคือ สื่อเอาธรรมนำหน้ากล้าเสนอความจริง ...

ยื่นหนังสือร้องเรียน เรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. เสี่ยงก่อหายนะภัย กับ นายกอภิสิทธิ์ อีกครั้ง 20 พ.ย. 53


แม้อ้างว่าได้รับการอนุมัติก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก่อสร้างไม่แข็งแรง-ไม่ตรงกับการออกแบบ ทั้งที่ทุกหน่วยงานภาครัฐรับรู้ แต่คงจะดันทุรังไม่ใส่ใจ โดยมีชีวิตของผู้คนประชาชนจำนวนมากเป็นเดิมพันเพราะโรงแยกก๊าซ ปตท. มีคลังก๊าซแอลพีจีขนาด 4,200 คันรถ ทรุดพังไฟไหม้ระเบิดลุกลามควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตผู้คนประชาชน และประเทศไทย

การเร่งรัดจัดหาเครื่องมือ-สัญญาณเตือนภัย-แนวกันชน แก้ปัญหาปลายเหตุ ระงับเหตุไม่ได้


จดหมายตอบจาก เจโทร(กรุงเทพ) เรื่องโรงแยกก๊าซ ปตท. เสี่ยง

Letter to JETRO (BANGKOK) and His Reply

ประธานเจโทร กรุงเทพ ใช้เวลาเพียง 2 วัน ในการเร่งรัดตอบจดหมาย ทำไมคนญี่ปุ่นให้ความสนใจ แต่ทำไมคนไทย พากันเฉยชานิ่งเฉยกันหมด ... ฯ

ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นำหอการค้าทั้งในและต่างประเทศออกมาประโคมข่าว เพื่อเร่งรัด ดันทุรังโครงการเสี่ยง ว่าถ้าล่าช้าจะมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจการเงิน จดหมายที่นำเสนอข้อมูลความเสี่ยงของหายนะภัย จากความมักง่ายของภาคอุตสาหกรรม นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ถึงเวลานี้ คงได้รับรู้กันหมดแล้ว ว่าคนมมาบตาพุด โรงงานต่างๆในมาบตาพุด จะได้รับผลกระทบอย่างไร ถึงเวลาแล้ว ที่การขอให้มีการตรวจสอบ-ติดตาม ออกมาจากปากของนักลงทุนต่างๆ หรือยังจะดันทุรังกันต่อก้อเป็นสิทธิ์ ที่จะทำ แต่จดหมายตอบกับ จากเจโทร ไม่มีความดันทุรัง ดังกล่าว

" หวังอย่างสูงยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะการดำเนินการกับปัญหานี้ อย่างเหมาะสมต่อไป "




จริงหรือ! ศาลปกครองไม่รับฟ้อง ทุกอย่างจะปลอดภัย ไม่เกิดหายนะภัยกับผู้คนประชาชน - นำเรื่องโรงแยกก๊าซใหม่ ไม่ตอกเสาเข็ม - เสี่ยงทรุดพัง ระเบิดลุกลาม เข้าร้องเรียน ประธานกรรมาธิการต่างๆ ของ วุฒิสภา ที่บ้านพิษณุโลก


หนังสือร้องเรียน ถึงคุณอานันท์ ปันยารชุน และประธานกรรมาธิการต่างๆ ของวุฒิสภา


วันที่ 3 มีนาคม 2554 เวลา 10.30 น. ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุลประธานศาลปกครองสูงสุด ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีศาลปกครอง

การเป็นตุลาการหรือการเป็นเจ้าหน้าที่ศาลจะต้องมีหลัก 4 ประการ คือ


1.ต้องมีความรู้ความสามารถ

2.ต้องซื่อสัตย์สุจริต

3.ต้องมีจุดยืนที่เป็นกลางและยึดหลักความถูกต้อง

4.ต้องมีความกล้าหาญในการพิจารณาคดี เพื่อให้คำตัดสินจะไม่เบี่ยงเบนความเป็นธรรม

คงต้องรอดูผลของการกระทำ


ในหลวง ทรงเน้นย้ำให้ศาลปกครอง ... ทุกคนปฏิบัติตามคำที่ได้ปฏิญาณไว้

http://maptaphut-news.blogspot.com/2010/12/blog-post_29.html


วันนี้ (20 ธ.ค) เวลา 18.03 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด และตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ตำแหน่งตุลาการศาลปกครองกลาง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในโอกาสนี้ นายสุชาติ เวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะศาลปกครอง โดยทรงเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามคำที่ได้ปฏิญาณไว้ ที่จะมีส่วนสำคัญนำพาให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง “... ท่านปฏิญาณว่าจะปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาศาลปกครองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ในความตั้งใจ และขอให้ท่านปฏิบัติตามปฏิญาณ ซึ่งอยู่ที่ท่านปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่อย่างดีในฐานะผู้พิพากษา และขอให้ท่านได้ทำตรงตามหน้าที่ผู้พิพากษานั้น และให้มีความเรียบร้อยในการคดีทั้งหลายที่จะมีขึ้นได้ ในอนาคต ขอให้ท่านได้เข้าใจว่า การปฏิญาณนั้น ไม่ใช่ของเล่น เป็นของจริง ถ้าท่านปฏิญาณท่านทำกฎหมาย และท่านจะได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติอย่างดี ขอให้ท่านได้สามารถปฏิบัติตามที่ได้ปฏิญาณอย่างนี้แล้ว ท่านจะมีความเจริญรุ่งเรืองด้วย ถ้าปฏิบัติตามที่ท่านพูด แล้วเป็นการปฏิบัติตามคำปฏิญาณนั้น เป็นเรื่องของความดี และท่านจะสามารถปฏิบัติสำเร็จเรียบร้อย คนเราถ้าปฏิบัติตามที่ตั้งใจก็จะเจริญรุ่งเรือง ถ้าท่านไม่สามารถปฏิบัติตามที่ปฏิญาณไว้ ท่านก็ต้องระวังตัว ฉะนั้น ขอให้ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ท่านได้ปฏิญาณ ท่านก็จะได้แสดงว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์ ความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของท่าน และความศักดิ์ ท่านได้ปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้ที่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน ให้มีความดี ความศักดิ์สิทธิ์ และทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองได้ ก็ขอให้ท่านปฏิบัติถูกต้องตามคำปฏิญาณและสามารถที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่ต้องพูดมากกว่านี้ ขอท่านมีความสำเร็จในหน้าที่ของท่าน ...”