ตามที่มีข่าวเสนอก่อนหน้านี้ ว่ากรณีการฟ้องศาลปกครอง กับการที่ ปตท. ไม่ตอกเสาเข็มฐานราก โรงแยกก๊าซใหม่ และโรงงานอันตราย ของ ปตท. จำนวนมากในมาบตาพุด ซึ่งผ่านมาหลายเดือนแล้วนั้น จากการที่ ชาวบ้านในมาบตาพุด โทรสอบถามไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ถึงการเข้าตรวจสอบ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. และโรงงานสารเคมีอันตรายอื่นๆ จำนวนมากนั้น
ทางวิศวกรรมสถานฯ อ้างว่าไม่มีหน้าที่โดยตรงในการเข้าตรวจสอบ แต่รับรู้ถึงความเสี่ยงมาก แม้ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่การควบคุมเฉพาะ ที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว แต่ปัญหาการทรุดตัวของฐานรากที่ไม่มีเสาเข็ม อาจทำให้ ท่อหรือข้อต่อ ก๊าซไวไฟ หรือสารเคมี แตกรั่วได้ ซึ่งข้อกำหนดที่ยอมรับได้กับค่าทรุดตัวต่างกันที่น้อยมากนั้น ประมาณ 1-2 เซนติเมตรนั้น เป็นมาตรฐานทั่วไป ซึ่งควบคุมยาก กับฐานรากตื้น ที่มีความเสี่ยงในการทรุดตัว แต่การจะเข้าไปตรวจสอบ โรงงานต่างๆ ของ ปตท. ได้นั้น จะต้องมีคำสั่งจากศาล หรือมีการร้องขอจากหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ และเกี่ยวข้องเท่านั้น จึงจะเข้าไปทำการตรวจสอบได้
การฟ้องศาลปกครองยังอยู่ในขบวนการรอคำสั่งจาก ศาลปกครองสูงสุด ต่อหนังสืออุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครองระยอง ที่ไม่รับคำฟ้อง อ้างว่า การคาดการณ์เกินจริง และวิศวกรโยธาที่ฟ้อง มีอยู่ในฐานะที่จะประเมินการทรุดตัวของฐานรากได้ เพราะไม่ใช่ผู้ออกแบบ ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และกรณีโรงงาน หรือคลังก๊าซระเบิด เป็นการคาดการณ์เท่านั้น ... หนังสืออุทธรณ์ คำสั่ง ยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 24 กันยายน 2553 ตรงกับวันครบรอบ 20 ปี เหตุรถก๊าซระเบิด ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กลางกรุงเทพมหานคร ที่สร้างความเศร้าสลดไปทั้งประเทศเป็นเวลายาวนาน เพราะซากรถที่ถูกเผาไหม้ ถูกทิ้งเกลื่อนกราดข้างถนนริมทางรถไฟ ในบริเวณใกล้เคียง
ภาพเหตุการณ์ รถก๊าซแอลพีจี ระเบิดในถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อ 24 กันยายน 2533