วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

All Investors Must Know, Maptaphut Rayong in Unsafe Condition

Rapid business growth and ever higher demands plus inept authorities may be the cause that PTT, a prominent energy company is neglecting safety in the construction of its facility. Commonsense tells that strong foundation is of utmost important for structural integrity. Nevertheless, PTT claims the supporting soil is strong enough that piling is exempted for its gas separation plant in Rayong. This delusion is bringing inevitable risks to all lives and environments in the vicinity.
Recent leakage of Chlorine gas from another plant at this same industrial development that injured hundreds of people was not from defaulted tank, but the collapse of the tank’s supporting foundation. Several factories with unsafe structures in the same vicinity may also become a domino effect of chain explosions, with their extensive storage of dangerous chemicals and immense amount of flammable gases. Investors should also recognize these risks that can affect economic situation of this entire area.


This warning is from civil engineers who were directly involved in construction of the new PTT’s gas separation plant. The possibility of foundation settlements may cause widespread explosions of immense amount of flammable LPG gases stored at this plant. Damages from explosion are expected to reach most or all industrial estates in the Maptaphut vicinity.

Since December last year 2009, a group of civil engineers who constructed the PTT Plants in Maptaphut and provided of the Settlement of Shallow Foundation Case Study for 3 PTT Construction Plant Projects in Maptaphut, there are consisting of PTT-Phenol Plant and 2 PTT- Gas Separation Plant (GSP-6 & ESP). This case Study had submitted to Mr.Prasert Boonsumpun on 19 December 2009, Mr. Abhisit PM on 16 January 2010 and 2 times for Administration Court on 22 February 2010 and submitted as a accusation on 27 May 2010. Andalso they sent it to the Engineering Institute of Thailand on 9 April 2010. It is no sound from all concerned authorities.

Explanation for PTT's Soil Bearing : In the construction phase, no Site or QA/QC Engineers have been known about the soil bearing capacity in design phase which they were higher than other factory 3 times. 90 ton/m2 of Soil Bearing was the base of Ultimated Design for all extra foundation, pipe rack 21-24 m. high, pressurize tower 40 m. high (equivalent to ten story building). The 90 ton/m2 was refered to random soil test report but all construction engineers had been never known. The diff. settlement of any structure was specified 10 to 15 mm only.

จากความเร่งรัดด้านธุรกิจ การเจริญเติบโตของบริษัทพลังงานไทย และความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ภาคอุตสาหกรรมหลงลืม ความปลอดภัยในการก่อสร้าง และความสำคัญหลักด้านความมั่นคงและตั้งอยู่ได้ของโครงสร้างคือความมั่นคงแข็งแรงของฐานราก โดยเสาเข็มเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ฐานรากมั่นคง การที่ภาคอุตสาหกรรมอ้างว่าดินมีความแข็งแรงมากจนไม่ต้องพึ่งพาเสาเข็มนั้น กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยกับทุกชีวิตและสภาวะแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นกับโรงงานที่ปล่อยให้เกิดก๊าซคลอรีนรั่วไหล มันไม่ใช่รั่วไหล แต่มันเกิดจากการทรุดพังของฐานถังเก็บคลอรีน จนมีผู้เจ็บป่วยหลายร้อยคน มีหลายภาคส่วนของประเทศนี้ กำลังทำเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งมาจากปัญหาทั่วไปของขบวนการในการดำเนินการของโรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องภาวะทั่วไปของการปล่อยของเสียที่ปนเปื้อน หลายส่วนอาจละเลยด้านความแข็งแรงของโรงงานไป ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเรานึกถึงภาพตึกพังถล่มได้ ต้องย้อนกลับมามองถ้าโรงงานถล่ม เพราะไม่แข็งแรงล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเป็นโรงงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย หรือก๊าซไวไฟ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แต่ละโรงงานย่อมมีคลังสารเคมีอันตรายและก๊าซไวไฟจำนวนมหาศาล ...

เรื่องสถานะความไม่ปลอดภัย เป็นเรื่องที่ประชาชน หรือชุมชนจะต้องรับรู้เท่านั้นหรือ ความจริงแล้วโรงงานต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงติดต่อกัน หรืออยู่ในรัศมีความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุจำเป็นที่จะต้องรับรู้ด้วย เพราะโรงงานแต่ละแห่งย่อมมีสถานะในการเกิดเหตุซ้ำ เช่นการระเบิดจนลุกลามต่อเนื่องกัน แบบโดมิโน ...

ผู้มาลงทุน กลุ่มทุน นักลงทุน ต้องรับรู้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเป็นที่ต้องรับรู้ เพราะนอกจากความเสี่ยงในสถานที่เกิดเหตุแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อสภาวะเศรษฐกิจ ถ้าในบริเวณนั้นๆ มีอิทธิพลต่อสภาวะของการลงทุนหรือเศรษฐกิจ เพราะถ้าเกิดเหตุแล้วจะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาด้วย ...

และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มันไม่ใช่แค่เรื่อง EIA หรือ HIA หรือ ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เท่านั้น ขอให้จำลองเหตุการณ์ และ ใช้คำว่า ถ้า ... แล้วผลที่ตามมาคือ ... มาถึงตรงนี้แล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะทำอะไร หรือจะดันทุรังเสี่ยง ทั้งๆที่ความเสี่ยงสูงมากนี้ เป็นการเตือนจากวิศวกรโยธา ที่ทำงานฐานรากให้ โรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท. ที่ท้วงติงถึงความไม่ปลอดภัย อาจทรุดพัง จนเกิดเหตุระเบิดลุกลามรุนแรง เพราะมีคลังก๊าซแอลพีจี จำนวนมหาศาล รัศมีทำลายล้างครอบคลุม นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในมาบตาพุดทั้งหมด

อ้างถึง การปกปิดข้อมูลความแข็งแรงของดิน ที่ใช้ในการออกแบบฐานราก แบบรับน้ำหนักประลัยสูงถึง 90 ตัน/ม2 (หมายถึง ถ้าสร้างถังเก็บน้ำ จะสร้างได้สูงถึง 90 เมตร หรือเทียบเท่าตึกสูง 25 ชั้น โดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม แล้วดินจะทรุดตัวลง ประมาณ 1 นิ้ว) ไม่มีวิศวกรสนามที่ก่อสร้างฐานรากต่างๆ ในโรงแยกก๊าซ ใหม่ ของ ปตท. รู้ข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนที่จะต้อง ควบคุมการก่อสร้างให้ได้ถูกต้องกับ สมมุติฐานในการออกแบบ ตรงนี้ที่บอกว่า ทำไมจึง มีความเสี่ยงสูงมาก

ทำไมต้องมีรูปอธิบาย เพราะมันเคยเกิดขึ้นจริง และนับวันจะเกิดบ่อยครั้งขึ้น เพราะความมักง่าย และความไม่สนใจกับเหตุที่อาจจะเกิด จนเกิดความเสียหาย

เหตุไฟไหม้ในโรงงานอาจจะเกิดจากจุดเล็กๆ บางพื้นที่ก่อนที่จะลุกลาม

จากจุดเล็กๆ ที่เกิดเหตุ จนไฟไหม้ระเบิดเสียหายทั้งหมด
มันเกิดบ่อยครั้ง กับโรงงานสารเคมีและก๊าซ
ภาพแสดงถึงความเสียหายทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะบางส่วน

และถ้าการระเบิดลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมี

แท่นเจาะน้ำมัน ของ ปตท. ที่ไฟไหม้ระเบิดในทะเลติมอร์
ทั้งๆที่รู้ล่วงหน้านานถึง 2 เดือนกว่า

ภาพการระเบิดของโรงงานก๊าซในเม็กซิโก ที่เสียหายทั้งหมด
ชุมชนโดยรอบใหม้ไปกับไฟระเบิดก๊าซ เจ็บป่วยล้มตายหลายพันคน

แต่ปริมาณก๊าซแอลพีจี ในคลังก๊าซ ปตท. มากกว่าถึง 7 เท่า
และอยู่ในเขตเทศบาล ติดกับชุมชน ห่างตลาดมาบตาพุด เพียง 1.5 กิโลเมตร

ถ้าโรงแยกก๊าซ ปตท. ไม่อยู่ติดตลาด-ชุมชน-โรงงานอื่นๆอีกจำนวนมาก
เรื่องนี้ จะไม่มีใครใส่ใจเหมือนแท่นเจาะ ปตท. ที่ระเบิดกลางทะเล
แต่ตรงนี้ ... ที่มาบตาพุด มีคนเป็นแสน โรงงานหลายร้อยโรง ที่จะมีผลกระทบ
เรื่องนี้ ที่ทำให้ผู้คนหวาดผวา หวั่นวิตก ขัวญแขวน ทุกครั้งที่มีฝนตกพายุลมแรง
เรื่องส่งไปยังศาลปกครองให้เร่งรัดไต่สวน ล่วงมานานเกือบ 2 เดือนครึ่ง
ทุกอย่างยังคงเงียบหาย เช่น นายก รมต. รับรู้เรื่องนี้มานานกว่า 7 เดือน

Download : ACCUSATION - คำฟ้อง/คำขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน/คำชี้แจงเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

GAS EXPLOSION HANDBOOK / คู่มือการระเบิดของแก๊ส

GAS EXPLOSION HANDBOOK / คู่มือการระเบิดของแก๊ส

คู่มือการนี้การที่จะให้แนะนำสั้นเพื่อความปลอดภัยในการระเบิดของแก๊สตามความรู้ปัจจุบันของเราเรื่องและประสบการณ์ของเราในการนำความรู้ปัญหาจริงในอุตสาหกรรม เพราะความสั้นตั้งใจและความเรียบง่ายของข้อมูลที่คู่มือให้ในบางกรณีอาจจะง่ายอย่างมากและ / หรือไม่สมบูรณ์ สำหรับข้อมูลในเชิงลึกในเรื่องต่างๆที่ผู้อ่านเรียกได้อธิบายไว้ในวรรณกรรม อ้างอิง

คู่มือของผู้ใช้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกระบวนการออกแบบหรือวิศวกรโครงสร้าง แต่คู่มือยังจะมีประโยชน์สำหรับวิศวกรความปลอดภัย

เราหาข้อมูล เรื่องการระเบิดของก๊าซ หรือ ข้อมูล เกี่ยวกับเหตุอันตรายต่างๆ ไม่ได้ โดยง่าย เรื่องบางเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม มักจะโดนการแฮก มีการทิ้งไวรัส หรือ ระหัสเข้ายาก หรือ การเข้าถึงข้อมูล มีปัญหา แต่โชคดีที่มีภาคการแปลภาษา ในอินเตอร์เน็ต ที่เป็นส่วนอำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงข้อมูล และการไม่ต้องเปิดหาศัพท์บ่อย ซึ่งส่วนที่จะแนะนำ ต่อไปนี้ เป็นคู่มือเกี่ยวกับก๊าซระเบิด ความเข้าใจทำให้เราสามารถรู้เท่าทัน กับเหตุต่างๆ และการหลีกหนี จากเวบไซด์ ด้านล่าง คือ คู่มือภาษาอังกฤษ และคู่มือภาษาไทย แม้ภาษาไทย จะแปลผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่จะช่วยลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลลงมาก

http://www.gexcon.com/handbook/GEXHBcontents.htm - กดเพื่อเข้าเวบภาษาอังกฤษ / คลิ๊กขวาเปิดในหน้าต่างใหม่
http://translate.google.co.th/translate?hl=th&sl=en&tl=th&u=http://www.gexcon.com/handbook/GEXHBchap1.htm - กดเพื่อเข้าเวบแปลเป็นไทย
เราสามารถ กดเข้าไปในหัวข้อต่างๆ เป็นภาษาไทย / / คลิ๊กขวาเปิดในหน้าต่างใหม่

ดูทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ประกอบกันไปได้ ถ้าเปิดดู 2 แทบ - ลองดูนะครับ
ขอบคุณ - http://www.gexcon.com และ Google ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น

ความเห็นของวิศวกรหลายท่าน ที่รับรู้เรื่อง การไม่ตอกเสาเข็มของโรงแยกก๊าซใหม่ ของ ปตท.

ก่อนและระหว่าง การทำรายงานกรณีศึกษา จนมีการร้องเรียน และฟ้องศาลปกครอง

ถังเก็บก๊าซ LPG ที่เห็นสูงกว่า 30 เมตร หรือประมาณตึก 8 ชั้น ความจุ 6000 ม3

(การระเบิดของถังเก็บก๊าซความดันสูง เรียกว่า BLEVE Explosion)

ระดับสูงสุดของโครงสร้างรับท่อ 21-26 ม หรืออาคารคอนกรีต 5-7 ชั้น

  • ความเห็นวิศวกรโยธาอายุงาน 20 ปี เท่าที่ผ่านมาการไม่ใช้ เสาเข็ม มี 2 โครงการใหม่ คือที่ Phenol กับโรงแยกก๊าซ สุดท้ายก้อมีปัญหาการทรุด อนาคตเอาแน่อะไรไม่ได้ งานที่ TOYO PTT Cracker ออกแบบใหม่ให้มีเสาเข็ม ตรงนั้นคุยกันรู้เรื่อง ถึงอย่างไรเราทำตามแบบตามสเปค ในฐานะ SUBCONTRACTOR การออกแบบเราไม่มีส่วน มีแต่ความเห็นที่ไม่มีข้อมูล ว่าควรจะต้องมีเสาเข็ม ในหลายๆโครงสร้าง เรารับผิดชอบได้ตรงที่ทำให้ดีที่สุด ส่วนอะไรจะเกิดเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายน่าจะรับรู้อยู่แล้ว เพราะมันตั้งอยู่บนความไม่แข็งแรง
ลงทุนสูงมากทรุดพังไม่ได้จริงๆหรือ? ... ยิ่งลงทุนมากยิ่งจะสร้างปัญหามาก ถ้ามีปัญหา

  • ความเห็นวิศวกรสนาม อายุงาน 5 ปี งานมีความเร่งรัดมาก บางจุดควบคุมได้ แต่บางจุดถูกเร่งรัดมาก จึงต้องทำผ่านๆไป แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าทรุดแน่จะมากหรือน้อยเท่านั้นและภาวนาไม่ให้มีปัญหา
  • ความเห็นของวิศวกร อายุงาน 7 ปี งานทุกอย่างที่ทำทำตามแบบ ตรวจสอบตลอด แต่เราไม่รู้ว่า ของที่จะติดตั้งเป็นอย่างไร เราไม่มีสมมุติฐาน เป็นส่วนงานแมคคานิค แต่ถ้าเกิดการทรุด คงจะมีปัญหากับส่วนงานท่อที่เชื่อมต่อกันบ้าง แต่ที่ทำก้อคิดถึงผลกระทบอยู่ตลอด
  • ความเห็นวิศวกรอายุงานมากกว่า 20 ปี ดูที่กำลังทำอยู่มันจะทรุดมากตรงที่ขุดลึก เพราะการเร่งรัดให้ถมดิน ถ้าบดอัดถูกต้องจะต้องใช้เวลา
  • วิศวกรด้านงานออกแบบ การออกแบบฐานรากไม่มีเสาเข็มในพื้นที่ ถมใหม่ จะมีปัญหา Consolidation Settlement และ Differential Settlement ของดินถมเอง และ Design Criteria ของดินถม ควรจะพิจารณาใช้เสาเข็มสำหรับโครงสร้างที่มีความต้องการเสถียรภาพ
  • เพื่อนวิศวกรโยธาสายน้ำ ขนาดแฟร้งท่อสึกกร่อน น้ำยังรั่ว ถ้าโครงสร้างทรุด ท่อที่ต่อกับท่อ ท่อที่ต่อกับส่วนอื่นๆ มันอยู่ไม่ได้ การรั่วควบคุมยากถ้ารั่วที่แฟร้ง
มีการรื้อซ่อมใหม่จำนวนมาก ระหว่างการติดตั้งท่อและเครื่องจักร

  • การออกแบบสามารถทำได้ บนฐานรากที่ไม่มีเข็ม แต่การทำงานต้องควบคุมให้ได้ตาม CRITERIA ของการออกแบบ เพราะดินไม่ใช่ Homogeneous Material การทดสอบดินต้องทำโดยเคร่งครัด แต่การทำงานที่เร่งรัด ยากที่จะควบคุม แต่งานของ ปตท. เท่าที่รู้น่าจะมี QA/QC อยู่แล้ว แต่ไม่เห็นด้วยถ้าโรงงานสารเคมีไม่มีเสาเข็ม ถ้าเป็นอาคารสำนักงานของ ปตท. เอง ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะการทรุดพัง ไม่ส่งผลอะไร นอกจากแตกร้าว
  • งานที่ DOW Chemical บางส่วนก็ไม่ได้ใช้เสาเข็มขึ้นอยู่กับ น้ำหนักที่ตกลงบนฐานราก แต่กรณี Pipe Rack มีเข็มนะ จากภาพที่เห็นไม่น่าเชื่อว่า คนออกแบบ จะกล้าออกแบบเสี่ยงขนาดนี้ เพราะระบบมีการสั่น
  • งานท่อ งานเครื่องจักร การหนีของ Alignment มีข้อกำหนดที่ยอมรับได้อยู่ แต่ รับที่ 0.5 มม. ถ้าเป็นเครื่องจักรพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Process โดยปกติ จะไม่ให้เกิดการทรุดเลย ถ้าทรุดของงาน Civil ถือเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะต้อง SHUTDOWN
ฐานรากโครงสร้างพิเศษสำคัญของโรงงานก๊าซไวไฟที่ระเบิดได้ ทำกันง่ายๆแบบนี้

  • ถ้าโรงแยกก๊าซทั้งโรง ตอกเข็มเฉพาะ Stack มีข้อมูลควรแจ้งให้คนที่รับผิดชอบ เข้ามาตรวจสอบแล้ว เพราะถ้ามีการรั่ว จะเป็นเรื่องใหญ่ กระทบ โรงงานอื่นๆ กันไปหมด ทำแบบนี้กันได้อย่างไร ไม่น่าเชื่อ
  • ควรตรวจสอบดีไซน์ก่อน คนที่กระทบน่าจะเป็นผู้รับเหมา แบบซัมซุง อิตาเลี่ยน ปตท. ไม่น่าจะต้องรับผิดชอบอะไร
  • ถ้ารู้ว่า จะมีความเสียหายเกิดขึ้น ควรแจ้งทุกฝ่ายให้รับรู้ แต่แจ้งแล้ว จะโดนฟ้องกลับ หรือเปล่าว่าทำให้เค้าเสียหาย ต้องคิดให้รอบครอบ
  • ถ้าเป็น อาคารสำนักงาน ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม ไม่น่าจะมีปัญหา นี่โรงแยกก๊าซ ไม่มีเสาเข็ม ไม่น่าเชื่อว่าได้ข้อมูลมาถูกต้อง เพราะงาน ปตท. เป็นงานอินเตอร์
และเป็นเรื่องน่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า...ความเห็นทั้งหมด เกิดขึ้นก่อน ที่วิศวกรโยธาหลายท่าน จะรู้ว่า ปตท. ใช้ค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดินสูงถึง 30 ตัน/ม2 และคาดว่าโครงสร้างหลายตัว ใช้ค่ารับน้ำหนักประลัย ที่ 90 ตัน/ม2 ในการออกแบบฐานราก ซึ่งข้อมูลนี้ถูกยืนยันชัดเจนจากรายงานการสำรวจดิน ของโครงการโรงแยกก๊าซที่ 6 ของ ปตท. ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการยืนยันจาก วิศวกรของผู้รับเหมาหลัก ว่า ใช้ค่ารับน้ำหนักของดิน ที่ 90 ตัน/ม2 ในการออกแบบมาแล้ว หลายคนเตือนว่า ถ้าไม่แน่ใจ อย่าอ้างอิง ข้อมูลดังกล่าวเพราะเป็นค่ารับน้ำหนักปลอดภัยของดิน ที่สูงมาก ซึ่งในพื้นที่มาบตาพุด ใช้ค่าเฉลี่ยที่ 10 ตัน/ม2 ในการออกแบบฐานรากตื้นเท่านั้น และใช้ประมาณ 15-20 ตัน/ม2 ในบางพื้นที่ ที่ตอกเสาเข็มไม่ลงจริงๆ เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นักการเมืองอเมริกัน เพิ่งตระหนักเหตุระเบิดของภาคอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมัน


อ่านเองนะครับ

Saturday 24th July, 2010


Natural gas explosion kills two in US

Big News Network.com Saturday 24th July, 2010

A natural gas explosion at a well in Pittsburgh has left two dead and caused a ferocious blaze Friday that authorities have battled to extinguish.

A natural gas well exploded Friday in a remote area northeast of Pittsburgh, killing two people and causing a fire that raged for several hours.

The explosion occurred in a wooded area, which added to the difficulty experienced by firefighters trying to control the blaze.

The well is one of 350 owned and operated by Huntley & Huntley, which was unable to provide details of the blast.

However, local police in Pittsburgh, which is located in the US state of Pennsylvania, were able to confirm that the blast occurred as maintenance staff worked on oil tanks, which involved the use of welding torches.

A third worker was able to escape uninjured.

The blast comes as the US public experiences a heightened sensitivity to an apparent lack of safety oversight in the domestic oil and gas industry following the BP oil spill and plans for a controversial crude oil pipeline to be laid across vast tracks of sensitive natural areas in several states from Canada to the Gulf Coast by TransCanada.

Politicians have already begun highlighting the explosion as evidence of a need for more safety oversight in the industry.
นักการเมืองอเมริกัน ได้เริ่มเน้น เรื่องเหตุระเบิดแล้ว เป็นความจำเป็นในการดูแลความปลอดภัยมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ก๊าซและน้ำมัน

แล้วนักการเมืองไทย ล่ะ ห่วงเรื่องผลกระทบเศรษฐกิจ!!! แต่ถ้าระเบิด ตรงนี้ ที่นี่ ที่มาบตาพุด ย่อยยับเลยครับ ขอบอก จะเยียวยาอีกกี่สิบปี จะมาเป็นเหมือนเก่า หรือว่า ... ชอบเสี่ยง แบบที่ไฟไหม้ในกรุงเทพฯ และศาลากลางหลายจังหวัด รัฐบาลรู้ล่วงหน้า 2-3 เดือน ยังปล่อยให้วอดวาย และเหมือนกับที่ ปตท. รู้ว่าแท่นเจาะน้ำมัน ในทะเลติมอร์ จะไฟไหม้ระเบิดนาน 2 เดือนกว่า เวลาใกล้เคียงกันครับ มีเวลามากกว่า 60 วัน
บอกว่ายุ่งๆๆๆๆๆ แต่ เรื่องมาบตาพุด เป็นวาระที่เร่งด่วน ต้องรู้ว่าอะไรตรงไหนเป็นอย่างไร งั้นจะตัดสินใจได้ไง เรื่องเหล่านี้ แจ้งนายกอภิสิทธิ์ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 53 ถึงวันนี้ 6 เดือนกว่า บางส่วนบางฝ่าย เพิ่งรู้ แต่ยังทำทองไม่รู้ร้อน - สุดท้าย นายกหล่อสุด จะบอกว่า ประเมินสถานการณ์ผิด อีกแล้ว ผิดซ้ำๆซากๆ จนประเทศชาติเสียหาย ซ้ำๆซากๆ คนเชียร์ก้อเชียร์กันต่อไปก้อได้ครับ

ถ้า มีคนมาบตาพุด ต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากอีก ... แนะนำให้ไปแขวนคอตาย เลยครับ เพราะขาดความรับผิดชอบอย่างยิ่ง


แผ่นดินไหวใหญ่ รอบๆประเทศไทย วันเดียว นับ 10 ครั้ง

http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Quakes/quakes_big.php

http://www.gdacs.org

ช่วงเช้า ติดต่อกัน 5 ครั้ง จากช่อง 7
โดยเช้ามืดตั้งแต่ตี 5 กว่า ๆ ตามเวลาในประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ถึง 3 ครั้ง วัดความสั่นสะเทือนได้ 7.3 - 7.7 ริคเตอร์ ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์

9 โมงเช้า ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีกรอบ ครั้งนี้เลื่อนไปเกิดแถว ๆ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6 ริกเตอร์ และตอนเที่ยงกว่า ๆ ที่ฟิลิปปินส์ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ซ้ำตรงจุดเดิมอีก วัดได้ 6.3 ริคเตอร์

แรกทีเดียว มีคำเตือนให้ระวังคลื่นสึนามิ ทั้งในพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่เมื่อสังเกตการณ์ได้สักพัก แต่ละประเทศก็ออกมารายงานว่า ไม่พบสัญญาณการเกิดสึนามิ และยกเลิกการเตือนสึนามิ จากแผ่นดินไหวใหญ่ในวันนี้ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกประกาศรายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง และย้ำว่าแผ่นดินไหวใหญ่ทั้ง 5 ครั้งในช่วงเช้าวันนี้ไม่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม จังหวัดต่าง ๆ ริมทะเลในภาคใต้ ทั้งนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่างออกไปริมฝั่งทะเลอ่าวไทย พร้อมทั้งเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล และความผิดปกติของธรรมชาติ พร้อมกับแจ้งให้ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนริมฝั่งทะเล เตรียมพร้อมอพยพ หากเกิดสึนามิจริง

แต่ที่สุดเมื่อชาวบ้านรับทราบประกาศ ว่าจะไม่เกิดคลื่นสึนามิ จึงคลายความกังวล และกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ รวมถึงนักท่องเที่ยวตามชายหาดต่าง ๆ ด้วย

ธรรมชาติไว้ใจได้จริงๆ หรือ การทำโครงการโดยทิ้งความเสี่ยงให้กับ ประชาชน ชุมชน สภาวะแวดล้อม และโรงงานอื่นๆ โดยรอบ ธุรกิจเร่งรัด จนลืมดูว่า อะไรๆก้อเกิดขึ้นได้ จู่ๆ ถังคลอรีนทรุดพัง ก๊าซคลอรีนรั่ว ฝนตกหนักเข้าหน่อย น้ำก้อท่วมโรงแยกก๊าซ ที่อ้างว่าดินแข็งแรงที่สุดในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็มทั้งโครงการ แบบนั้นไง มันจะท่วมครั้งนี้ครั้งเดียวมั้ย ถ้าท่วมหลายครั้งล่ะ
น้ำท่วมได้แบบนี้ เห็นป้อมยามมั้ย สูงเท่าไหร่!!!
ที่ทำกัน ทำแบบนี้ โรงแยกก๊าซ ที่ 6 + โรงแยกก๊าซอีเทน
อ้างว่า สุ่มสำรวจดินแล้ว รับน้ำหนักได้เป็นร้อยตันต่อตารางเมตร
ใช้ค่าความปลอดภัย=3 นำค่ามาออกแบบ 30 ตัน/ม2
หมายถึง ถ้าสร้างถังน้ำ ขนาดใหญ่ สร้างได้สูงเกือบ 30 เมตร โดยไม่ทรุดพัง
30 เมตรสูงแค่ไหน ก้อราวๆ ตึก 8 ชั้น หรือตึกซีบอร์ด ตรง 3 แยก ไปมาบข่า นั่นแหละ
ตั้งไว้ 30 ปี มันจะไม่ทรุดแม้แต่ 1 ซม. อะไรประมาณนี้ล่ะ
ค่าที่ใช้ออกแบบ หอสูงที่เห็น นั่นแหระ
พื้นที่รองรับน้ำ น้ำท่วม น้ำหลากผ่านพื้นที่ ตามสภาพธรรมชาติ
ดินมันแข็งเทียบเท่าบนภูเขาเลยมั้ย ดินภูเขา เดี๊ยวนี้มันยังถล่มบ่อยๆ

คิดกันเองครับ !!! กระทบเศรษฐกิจ กับความเสี่ยงตายของคนมาบตาพุด
เพราะตรงนั้น มันดันมีคลังก๊าซแอลพีจี เทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
มากกว่า ที่เคยระเบิดในเม็กซิโก 7 เท่า
แล้วตรงมาบตาพุด ก้อดันมีโรงงานอันตรายเพียบไปหมด เฮ้อ!!!

รัฐบาลอภิสิทธิ์รู้ / คกก. 4 ฝ่ายก้อรู้ / ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ก้อรู้
แล้วโดยเฉพาะเลยตรงนี้ นักข่าวไทยทุกสำนักรู้ .... เงียบเหมือนเป่าลมใส่สากกะเบือ
อะไรๆ ก้อช่างเถอะ สส.สาธิต ระยอง ปชป. ก้อรู้

ขณะกำลังก่อสร้างเพิ่ม 3 ลูก
จริงๆ แล้ว ตาม กม.ปริมาณเก็บตุนสูงสุด 20,000 ตัน
ถ้าเต็มทุกถังคือ 33,600 ตัน / เกินไปแล้ว 13,600 ตัน
เอ้า...ทำไมทำผิด กม. ได้ล่ะ !!!
ไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด!!! ยังไม่ตอกได้เลย ใครจะทำไรล่ะ?!
ก้อ เป็น ปตท. ไง ต้นกล้า 1 ล้านต้น รักสิ่งแวดล้อมไง
เป็น ปตท. มันไม่ทรุด มันไม่พัง มันไม่ระเบิดหรอก
เอ้า แล้วที่แท่นเจาะน้ำมันหรือก๊าซ ที่เคยระเบิด ในทะเลติมอร์ นั่นล่ะ
รู้ล่วงหน้า 2 เดือนกว่า ยังปล่อยไฟไหม้ระเบิดเลย ...
(ข่าวเงียบหายภายใน 2-3 วัน งงเลยมั้ยพี่น้อง)
ตรงนี้ล่ะครับ ที่น่ากังวลที่สุด ของผมเองเลย แหละ!!!



วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

The new PTT gas separation plant with no piles all foundations, โรงแยกก๊าซ ที่ 6 ปตท. เสี่ยงทรุดพัง จากการไม่ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด

The new PTT gas separation plant with pressurize tower equivalent to ten storey building has been built in Maptaphut Rayong. To save money and time, the PTT's engineers claimed load bearing foundation is sufficient. If accident occurs, the explosion could cause heavy damages to within 2.5 kilometers radius (LPG Tank Farm about 4,200 Gas-Trucks), jeopardize nearby urban area. People are worried and had sent numerous petitions to authorities that are turning deaf ears.

ในช่วงเวลา 4-5 ปี มีปัญหาการเมืองเรื่องอดีตนายกทักษิณ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด หมกเม็ดก่อสร้างโดยปราศจากความมั่นคงแข็งแรง เพราะโรงงานจะเสร็จช้าไปอีก 6-8 เดือน จึงละเลยที่ไม่ตอกเสาเข็ม หอต้มหอกลั่นหอความดัน สูงมากกว่าตึก 10 ชั้น ทั้งๆที่ควรจะทำให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะโรงงานเกิดระเบิดได้ การระเบิดอาจลุกลามไปยังคลังก๊าซคลังสารเคมีที่มีจำนวนมาก ประมาณว่ามีรถก๊าซจอดรวมกันอยู่ 4,200 คัน ถ้ามีรถคันหนึ่งคว่ำ อยู่ใกล้ๆ กัน มันจะน่าสยดสยองขนาดไหน คนในที่อื่นๆ คงไม่รู้สึกเหมือนคนแถวมาบตาพุด เพราะมันอยู่ห่างจากตลาดแค่ 1-2 กิโลเมตร เท่านั้นเอง
โรงงานมีปัญหา-กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบ - โรงแยกก๊าซ ที่ 6 โรงแยกก๊าซอีเทน
ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝน การที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน จะทำให้ดินชุ่มไปด้วยน้ำและลดการรับแรง รับน้ำหนักต่างๆ ประกอบกับการมีพายุลมแรง อาจจะทำให้เกิดการล้มพังของโครงสร้างที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มได้ เช่นดังต้นไม้ใหญ่แม้มีรากหยั่งลึกเสมือนเสาเข็มที่ยึดโยงแล้วนั้น ยังล้มยกทั้งรากทั้งดินขึ้นมาเพราะเจอพายุฝนลมแรง ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลขวัญแขวนในส่วนผู้ที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องนี้แล้วจำนวนมาก ช่วงมีฝนตกหนักและมีพายุลมแรง

- เรื่องราวนี้ ส่งกับมือ นายกรัฐมนตรี เมื่อ 16 ม.ค. 53 ส่งทางอีเมล์ ถึง รมต. 2 ท่าน และท่านเลขา ปณิธาน พักเรื่องม๊อบทักษิณ จบเรื่องรัฐบาลตกแตก รอฝนตกลงมา อีก 1-2 เดือน คงมีเรื่องใหญ่ๆ ให้ตามเยียวยาอีกแน่ๆ ที่มาบตาพุด (รู้ว่าไฟจะไหม้จะมีการเผา รู้ล่วงหน้าเป็นเดือน แล้วทำไม มันจึงวอดวายทั้งกลางกรุงและศาลากลางต่างจังหวัด)


โรงแยกก๊าซ ที่ 6 และโรงแยกก๊าซอีเทน ของ ปตท.
(ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 6 เดือน - มิย. 51 - ธ.ค.52)
The new PTT gas separation plant, GSP6 and ESP Project
Construction in June 2008 - December 2009 (One and a half Years)


แจ้งให้ นายกอภิสิทธ์ รับรู้ มาตั้งแต่ 16 มกราคม 2553
แจ้งให้ อดีต นายก อานันท์ ปันยารชุน มาตั้งแต่ 2 เมษายน 2553
(ประธาน คณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด)
แจ้งให้ คณะอนุกรรมการรับฟัง ปัญหามาบตาพุด 26 มีนาคม 2553
แจ้งให้ นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท. เมื่อ 19 ธันวาคม 2552
แจ้งไปยัง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยอง เมื่อ 9 เมษายน 2553
แจ้ง ไปยัง นายสาธิต ปิตุเตชะ สส ระยอง เมื่อ 16 เมษายน 2553
แจ้งไปยัง ศาลปกครอง ให้เร่งรัดไต่สวน ฉุกเฉิน เมื่อ 27 พฤษภาคม 2553
ศาลปกครอง ยกคำร้องขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน มองไม่เห็นความเสี่ยง
แล้วภาพนี้ ควรจะแจ้งใครต่อ ...
หรือคนอยู่ที่อื่นๆ ของประเทศนี้ คิดกันอย่างไร!!!!
หรือ สุดแล้วแต่เวรแต่กรรม ... ของคนมาบตาพุด


Explanation for Soil Bearing Capacity 30 ton/m2,
It can build Water Tank 30 m high with no settlement only 1 cm.
in Factory Life Time 25-30 Years.

คลิ๊กขวาที่รูป-เปิดในหน้าต่างใหม่ เพื่อดูรูปขนาดใหญ่
right click at the picture for open big size in new window

***********

โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!
โครงสร้างพิเศษสำคัญทั้งหมดที่เห็น ... ไม่ได้ตอกเสาเข็ม !!!
All Special Structures Have No Piles Founations!!!

High Investment cannot to be firmed, they will not collapse and explode.

ภาพการก่อสร้างฐานรากของโรงแยกก๊าซที่ 6 ใช้เวลางานโยธา 4-5 เดือน
Precast Concrete Foundations were installed in Rainy Season in Jun.-Nov.2008

3 New High Pressure Spherical LPG Tanks Drawing.
However in Other Place, It was collapsed.

******
ภาพน้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด เมื่อวันจันทร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2553
PTT Gas Separation Plant Flooding on 12 July 2010

สภาพหน้าโรงแยกก๊าซ ปตท. มาบตาพุด บ่ายแก่ๆ วันจันทร์
ฝนตกหนัก พายุลมแรงน้ำท่วม จนรถจมน้ำ
ภาพนี้อยากให้ นายกอภิสิทธิ์ กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ได้ดู ก่อนสรุปประกาศโครงการไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
ได้ดูได้คิดก่อนตัดสินใจ อีกครั้ง
โรงงานที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากเป็นพื้นที่น้ำท่วนขัง
น้ำฝนไหลหลาก ดินชุ่มน้ำนานๆมันอ่อนตัว
ที่ก่อสร้างไว้ไม่แข็งแรง มันก้อจะทรุดจะพังได้ง่าย
Front of PTT Gas Separation Plant on Monday Evening 12 Jul. 53.
It was flooded by 3-4 hours with medium rain.
These pictures were sent to Thai Government, Abhisit(PM), Kobsak(minister), Korn(minister), Satith(minister), Satith Rayong's Assemblyman , the Environment Committee
for their decisions and comments making but no sound back.
It Show What Risk!!!
ตรงนี้ไง ... ที่บอกว่าเสี่ยง เสี่ยงอย่างไร
http://www.oknation.net/blog/airfresh-society/2010/06/09/entry-1
PTT Gas Separation Plant on Monday Evening 12 Jul. 53. (FLOOD)
The plant referred to highest soil bearing but it was flooded after rain.
High Pressurized Tower equivalent 10 story building and all special structure with no piles foundation.
LPG Gas Tank Farm by 12 High Pressure Spherical Tanks
(LPG Gas Volume as 4,200 Gas-Trucks)
น้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เพราะฝนตกหนัก 12 ก.ค. 53
โรงแยกก๊าซ ปตท. ที่อ้างว่าดินแข็งแรงมากที่สุด
ในมาบตาพุด จนไม่ต้องตอกเสาเข็ม
เป็นร่องน้ำ ฝนตกครึ่งวัน น้ำก้อท่วม พื้นที่น้ำท่วม ดินแข็งแรง จริงหรือ!!!
ฐานรากหอสูงเท่าตึก 10 ชั้น เสาเข็มไม่ตอก ทรุดพัง ขึ้นมา
คลังก๊าซ แอลพีจี ขนาดเทียบเท่ารถก๊าซ 4,200 คัน
ถ้าเกิดระเบิดลุกลามไปยังชุมชน-โรงงานอื่นๆ นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร
อนิจา! น่าสงสารคนมาบตาพุด กินอยู่หลับนอนท่ามกลางความเสี่ยง
The below VDO is the BLEVE Explosion in New Petchburi Road,
Last 20 years (24 September 1990)

จำลองเหตุ รถก๊าซระเบิด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ ปี 2533 ครบรอบ 20 ปี พอดี!!!

กรณีศึกษาเรื่อง การทรุดตัวของฐานรากตื้น (ไม่ตอกเสาเข็ม)

ใน 3 โครงการของ ปตท. มาบตาพุด ระยอง

The Settlement of Shallow Foundation in 3 PTT's Project

in Maptaphut Rayong Thailand.



งานก่อสร้างฐานราก และงานตอกเสาเข็มแข็งแรงมาก
ในการก่อสร้างโรงงานก๊าซ ในเกาหลีใต้
แต่ทำไม เวลามาก่อสร้างในประเทศไทยทำกันแบบง่ายๆ ไม่กลัวจะทรุดจะพัง
GAS PLANT CONSTRUCTION IN SOUTH KOREA
Foundation and Piling Works, It concerned to high and performed safety.
Korea Contractor in Main-Contractor for PTT Gas Separation Plant